พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์จ้างแรงงาน: แม้มีเอกสารจ้างเหมา หากพฤติการณ์เป็นจ้างแรงงาน ศาลยึดพฤติการณ์จริง
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ขับรถยนต์ตามคำสั่งของบริษัทจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2สั่งให้จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จากที่ทำการของจำเลยที่ 1ไปส่งยังที่ทำการของจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปขายเดือนละประมาณ 10 คันคันละเที่ยว จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างให้เที่ยวละ 550 บาท ระหว่างปฏิบัติงานอยู่กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จะไปขับรถยนต์ที่อื่นไม่ได้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ทำการงานให้แก่จำเลยที่ 2 และอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นรายเที่ยว ก็เป็นเพียงวิธีการคำนวณสินจ้างและกำหนดการจ่ายเงิน เมื่องานที่ทำแล้วเสร็จเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างและได้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในความเสียหายที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาจ้างเหมา: ค่าเสียหายคือส่วนต่างราคาประมูลใหม่, อายุความ 10 ปี
สัญญาจ้างข้อ 2 ระบุว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางทำงาน ให้แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เป็นเหตุให้จำเลย ที่ 1ต้องประมูลว่าจ้างห้าง ห. ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคาแพงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1ได้รับโดยตรงจากการผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ตามข้อกำหนดสัญญาจ้าง โดย จะนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 จะนำเอาอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของการงานที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 601มาปรับกับกรณีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายจากการก่อสร้าง แม้เจ้าของที่ดินจะจ้างเหมา
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ติดกับอาคารของโจทก์ ได้จ้างเหมาให้บุคคลอื่นเป็นผู้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลย โดยจำเลยมิได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการก่อสร้างแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าอาคารโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะผลจากการก่อสร้าง ผู้รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโจทก์ในมูลละเมิดจึงมิใช่จำเลย ที่โจทก์มาฟ้องจำเลยจึงเป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคลผู้ทำละเมิด การที่จำเลยปลูกอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการและถูกเจ้าหน้าที่ลงโทษปรับไปแล้วนั้น เป็นเรื่องของความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างไปจากความรับผิดในมูลละเมิดอันมีต่อบุคคลภายนอกที่เนื่องมาจากการก่อสร้างอาคารดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง แต่มีบุคคลภายนอกเป็นผู้ว่าจ้างผู้อื่นทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาจ้างเหมา การชดใช้ค่าเสียหาย และเบี้ยปรับรายวัน ศาลฎีกาวินิจฉัยผูกพันจำเลยและหุ้นส่วนผู้จัดการ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยฐานผิดสัญญาและให้จ่ายเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 เป็นเงิน608,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น และผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเกี่ยวกับการทาสีบานประตูหน้าต่างภายในตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำการก่อสร้างเป็นเงินเพิ่มไปจากเดิมที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยทั้งสามต้องร่วมรับผิดชดใช้ให้โจทก์
โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเหตุที่ว่าจำเลยที่ 1 ทาสีไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญา ไม่ได้อาศัยเหตุที่ว่า จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายใน 300 วัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับรายวันหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำการก่อสร้างเป็นเงินเพิ่มไปจากเดิมที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยทั้งสามต้องร่วมรับผิดชดใช้ให้โจทก์
โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเหตุที่ว่าจำเลยที่ 1 ทาสีไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญา ไม่ได้อาศัยเหตุที่ว่า จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายใน 300 วัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับรายวันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างเหมาขนถ่ายสินค้า: ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้างและการคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ความที่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยนี้เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย เมื่อปรากฏขึ้นจากการที่คู่ความแถลงรับกันในขณะที่ศาลสอบถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยก็ตาม
จำเลยจ้างเหมาให้โจทก์ที่ 1 หาคนงานมาทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลเป็นลำ ๆ ไป โจทก์ที่ 2 ถึงที่11 เป็นคนงานของโจทก์ที่ 1 ในเดือนหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้งานขนถ่ายสินค้า 1 ถึง 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ต้องใช้เวลาขนถ่ายอย่างมาก 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ตามน้ำหนักของสินค้า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเงินก้อนไปจ่ายให้แก่โจทก์อื่น ๆ ดังนี้จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ที่1 ในลักษณะของการจ้างทำของ
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากที่ใดว่าโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยเกินกว่า 120 วันติดต่อกัน คงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลให้จำเลยเดือนละ 1 ลำ อย่างมาก 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ใช้เวลาอย่างมาก 7 วันเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 75
จำเลยจ้างเหมาให้โจทก์ที่ 1 หาคนงานมาทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลเป็นลำ ๆ ไป โจทก์ที่ 2 ถึงที่11 เป็นคนงานของโจทก์ที่ 1 ในเดือนหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้งานขนถ่ายสินค้า 1 ถึง 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ต้องใช้เวลาขนถ่ายอย่างมาก 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ตามน้ำหนักของสินค้า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเงินก้อนไปจ่ายให้แก่โจทก์อื่น ๆ ดังนี้จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ที่1 ในลักษณะของการจ้างทำของ
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากที่ใดว่าโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยเกินกว่า 120 วันติดต่อกัน คงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลให้จำเลยเดือนละ 1 ลำ อย่างมาก 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ใช้เวลาอย่างมาก 7 วันเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จ้างเหมาต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง ความรับผิดเกิดจากการตอกเสาเข็มกระทบต่อทรัพย์สินข้างเคียง
จำเลยทั้งสามกับ จ.จ้างเหมาให้ ฮ.สร้างตึกแถวให้คนละห้องโดยต่างคนต่างจ้างและแยกกันทำสัญญาคนละฉบับ ฮ.ตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างตึกแถวดังกล่าว ทำให้ตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ดินข้างเคียงสั่นสะเทือนและแตกร้าว เมื่อจำเลยเป็นผู้เลือกหาผู้รับจ้างและการก่อสร้างก็ต้องเป็นไปตามการงานที่จำเลยสั่งให้ทำตามข้อบังคับในสัญญา จ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จ.ด้วยศาลย่อมให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดเพียง 3 ใน 4 ของจำนวนค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินทดรองค่าจ้างทำของและการจ้างเหมา
โจทก์ว่าจ้างจำเลยทำไม้ โดยจำเลยผู้รับจ้างเป็นผู้ตัดฟันชักลาก ล่องนำไม้ไปส่งอู่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นการจ้างเหมา สัญญาจ้างนี้อยู่ในลักษณะจ้างทำของ
สิทธิเรียกร้องในการที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินทดรองค่าจ้างทำของที่จ่ายล่วงหน้าและเหลืออยู่ คืนจากจำเลยผู้รับจ้าง มีอายุความ 10 ปี
สิทธิเรียกร้องในการที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินทดรองค่าจ้างทำของที่จ่ายล่วงหน้าและเหลืออยู่ คืนจากจำเลยผู้รับจ้าง มีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางเท้า หากละเลยจนเกิดอันตรายต้องรับผิดชอบ แม้จะมีการจ้างเหมา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาล จำเลยที่ 2 รับจ้างจำเลยที่1 ทำท่อระบายน้ำและทางเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ละเว้นไม่ทำการป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ให้เรียบร้อย โดย.ไม่ปิดฝาบ่อและ.ไม่มีแสงสว่างให้เห็นทั้ง.ไม่มีเครื่องหมายหรือเครื่องปิดกั้นแสดงไว้ให้ทราบฉะนั้น การที่โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อพักท่อระบายน้ำของจำเลยที่ 1 จึง.ไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ายังอยู่ในระหว่างการจ้างซึ่งจำเลยที่2 ยัง.ไม่มอบงานไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่เพื่อการนี้โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ละเว้น.ไม่จัดการป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อต้องรับผิดต่อโจทก์ และจะอ้างข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ตกลงไว้กับจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบต่ออุปัทวเหตุหรือภยันตรายความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง เพื่อปัดให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะโจทก์เป็นคนนอกสัญญา.
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่.
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้. ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้.
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่.
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้. ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถบรรทุกต่อความเสียหายจากความประมาทของผู้ขับ เมื่อมีการจ้างเหมาเดินรถ
มีผู้ว่าจ้างรถบรรทุกไปเดินในทางส่วนตัวเพื่อรับคนโดยสารและบรรทุกของเช่นเดียวกันเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นเพราะความประมาทของผู้ขับ เจ้าของรถต้องรับผิดเพราะเป็นการกระทำในหน้าที่ลูกจ้างมิใช่ผู้ขับได้เปลี่ยนไปอยู่ในความควบคุมของผู้ว่าจ้างรถไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ นายกเทศมนตรีอนุมัติจ้างเหมาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้คำฟ้องโจทก์กล่าวบรรยายว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรขุนตาลได้สอบสวนแล้ว และได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นผู้สอบสวนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อเท็จจริงและการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นเพียงการกล่าวบรรยายฟ้องเพื่อให้ทราบว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยมีการสอบสวนแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120