คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉุกเฉิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน: ข้อจำกัด 72 ชั่วโมง และขอบเขตการจ่ายเงินทดแทนตามประกาศ สปส.
ลูกจ้างที่จำต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินซึ่งเข้ารับการบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ณ สถานพยาบาลอื่น ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ ข้อ 4แม้ลูกจ้างดังกล่าวจะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลถึง 21 วัน และจำเป็นต้องอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู 11 วัน ก็ตาม ลูกจ้างนั้นก็มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 4.1 คือจ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการภายใต้เงื่อนไขของข้อ 4.1.2 เท่านั้น และลูกจ้างนั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากสำนักงานประกันสังคมเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว
สำนักงานประกันสังคมไม่สั่งจ่ายเงินค่าห้องและค่าอาหารตามข้อ4.1.2 (4) ให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากเห็นว่าในช่วงระยะเวลาที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาอยู่ในห้องไอ.ซี.ยู ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหาร สำนักงานประกันสังคมสั่งจ่ายเฉพาะค่าบริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้างตามข้อ 4.1 จึงเป็นการถูกต้องแล้ว และมิใช่เป็นกรณีที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 มาตรา 63
การที่คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาสั่งจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมจากคำสั่งของสำนักงานประกันสังคม เป็นการจ่ายเพิ่มให้ตามรายการ 20 รายการ จากที่โจทก์ขอมา 21 รายการ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ อันเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉิน: ข้อจำกัดตามประกาศสำนักงานประกันสังคม และการปฏิบัติตามเงื่อนไข
โจทก์เกิดอาการชักและน้ำลายฟูมปากและหมดสติอันเป็นผลมาจากเส้นเลือดอุดตันในสมองจำเป็นต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉิน ซึ่งได้เข้ารับการบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ณ สถานพยาบาลอื่น ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ ฉบับลงวันที่30 มีนาคม 2538 ข้อ 4 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ตามอัตราที่กำหนดไว้ตามข้อ 4.1 เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่โจทก์เข้ารับการรักษาครั้งแรกโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการ ดังนั้นแม้ว่าโจทก์จะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชธานีถึง21 วัน และจำเป็นต้องอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู.11 วัน ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่รามอินทรา เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ดังกล่าว ทั้งในช่วงระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์โจทก์เข้ารับการรักษาอยู่ในห้องไอ.ซี.ยู. โจทก์ก็ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหารแต่อย่างใดสำนักงานประกันสังคมจึงไม่จำต้องจ่ายค่าห้องและค่าอาหารให้โจทก์ และกรณีมิใช่เป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 63 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นจับกุมโดยไม่มีหมาย และขัดขวางการปฏิบัติงานเจ้าพนักงาน กรณีฉุกเฉิน
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมายจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดนั้น ปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ปัญหาตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้น เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ จึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้ จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ แต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ.มาตรา 92 (2) ประกอบด้วยมาตรา 96 (2) การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไป จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 138 วรรคหนึ่ง
การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นในกรณีฉุกเฉินและอำนาจเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่
สารวัตรสืบสวนสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ทำการตรวจค้นได้ในเมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในที่รโหฐาน และถ้ากรณีมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมา ตรวจค้นในวันรุ่งขึ้นสิ่งของเหล่านั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน และพยานหลักฐานสำคัญจะสูญหาย กรณีมีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง ฉะนั้นการค้นของสารวัตรสืบสวนสอบสวนแม้จะไม่มีหมายค้นและตรวจค้นในเวลากลางคืนก็อาจจะทำการค้นได้ ของกลางจำนวนมากเป็นชิ้นส่วนรถที่ได้จากที่รโหฐาน ซึ่งได้มีการตรวจสอบกันแล้ว และให้จำเลยรับรองไว้ว่าของกลางต่าง ๆ นั้นค้นได้ที่ที่รโหฐานดังกล่าวซึ่งจำเลยก็ได้ลงชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตามบัญชีของกลาง ของกลางอันเป็นพยานวัตถุเหล่านี้จึงใช้ยันจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน ไม่ถือเป็นการประมาท หากไม่มีเวลาตัดสินใจ
ขณะที่ อ. ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์มาตามถนนตามปกติได้มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากซอยด้านซ้ายมือตัดหน้ารถยนต์ที่ อ.ขับโดยกระชั้นชิด อ.จึงหักหลบเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ที่โจทก์ขับสวนทางมา ดังนี้ถือไม่ได้ว่า อ.ขับรถด้วยความประมาท เพราะ อ.ไม่มีโอกาสที่ทันได้คิดหรือตัดสินใจว่าจะหักหลบไปทางซ้ายหรือทางขวา เหตุที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เพราะความประมาทของ อ.จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ อ.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบธรรมในภาวะฉุกเฉิน: การกระทำเกินสมควรแก่เหตุ
การที่ผู้ตายขึ้นเรือนจำเลยในกลางคืนยามวิกาล ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจเป็นอื่นไม่ได้. นอกจากว่าเป็นการขึ้นมาในลักษณะอาการของคนร้าย. จำเลยย่อมมีสิทธิกระทำการป้องกันภยันตรายได้ ตามพฤติการณ์ที่จำเลยต้องประสบภยันตรายขณะนั้น. ฉะนั้นแม้จำเลยจะฟันผู้ตายหลายที จำเลยย่อมไม่มีโอกาสจะยับยั้งชั่งใจกระทำน้อยกว่าที่ได้กระทำไปแล้ว. จึงจะถือเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุ. หรือเกินกว่าที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยจากการประสบเหตุฉุกเฉินขณะปฏิบัติหน้าที่: การใช้ความระมัดระวังตามสมควรและการเกิดเหตุบังเอิญ
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรนเพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควรกระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตามสมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จาก บุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมในที่รโหฐาน: กรณีฉุกเฉินและขอบเขตการป้องกันสิทธิ
การจับในที่รโหฐาน ในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายจับนั้นเมื่อพฤติการณ์ปรากฏว่าความผิดซึ่งหน้าซึ่งจำเลยผู้ถูกจับได้กระทำแล้วหลบหนีเข้าไปเป็นเพียงความผิดฐานลหุโทษตำรวจผู้จับรู้จักจำเลยและหลักแหล่งของจำเลยมาก่อนทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยจะหลบหนีต่อไปเช่นนี้ ก็ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 96(2) จ่าสิบตำรวจ สิบตำรวจโท และพลตำรวจจึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับ การเข้าไปจับโดยไม่มีอำนาจเช่นนี้จำเลยย่อมกระทำการป้องกันได้และเมื่อไม่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปราศรัยหาเสียงในที่สาธารณะ ไม่เข้าข่ายการชุมนุมมั่วสุมตาม พ.ร.บ.ฉุกเฉิน
ที่สาธารณซึ่งตามปกติมีประชาชนมาเที่ยวเตร่พักผ่อนและมีร้านขายอาหาร จำเลยถือโอกาสนั้นกล่าวคำปราศรัยให้ประชาชนฟังเพื่อหาคะแนนนิยมส่วนตัว โดยไม่มีการนัดหมายร่วมใจกันอย่างไรนั้นไม่เป็นการชุมนุมมั่วสุมอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2495 มาตรา8 และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ออกตามความในมาตรา 8ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยสมควรแก่เหตุ: การใช้มีดป้องกันการทำร้ายร่างกายฉุกเฉิน
จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการวิวาท เป็นแต่ผู้ยืนดูอยู่ข้างนอก ผู้ตายมาตีจำเลย 2-3 ที่แล้วยังจะตีซ้ำอีก จำเลยจำต้องป้องกันตัวและไม่มีโอกาสที่จะมัวเลือกหาอาวุธอื่นใดมาใช้ได้ทัน จึงต้องใช้อาวุธมีดที่มีอยู่แทงสวนไป ในการที่จำเลยแทงผู้ตายไปในขณะกำลังฉุกละหุกเช่นนี้ หามีเวลาจะเลือกว่าจะแทงให้ถูกตรงไหนไม่การที่แทงไปถูกท้องเป็นการบังเอิญ หาใช่จำเลยตั้งใจเอาชีวิตผู้ตายไม่ และจำเลยแทงผู้ตายเพียงทีเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวไม่เกินสมควรแก่เหตุจำเลยได้รับยกเว้นโทษ
of 2