คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชดใช้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสูญหาย: การรับชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากผู้เช่าและประกันภัย ถือเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 3 กำหนดว่า "ผู้เช่าสัญญาว่า (ก)...กรณีที่รถยนต์สูญหาย ผู้เช่ายอมชดใช้ค่ารถยนต์เป็นเงินเท่ากับค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือที่ผู้เช่าจะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อทันที โดยผู้เช่าจะไม่ยกเหตุที่เจ้าของมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยรายที่ผู้เช่าเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขของสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 3 (ซ) มาปฏิเสธความรับผิดที่จะต้องชำระราคาดังกล่าวข้างต้น...(ซ) จะประกันภัยรถยนต์โดยทันที...และให้สลักหลังระบุให้เจ้าของเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์เต็มจำนวน...และเงินทั้งหมดที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายและที่ได้จ่ายในกรณีที่รถยนต์ถูกลักหรือเสียหายอย่างสิ้นเชิงตามสัญญาประกันภัยใดๆ ดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทรับประกันภัยจ่ายให้แก่เจ้าของโดยตรงโดยสัญญานี้..." ซึ่งหากเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง โดยได้จากผู้เช่าและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยก็เพื่อโจทก์จะไม่ต้องเป็นภาระใช้ค่ารถให้แก่จำเลยจึงยอมเสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยได้แสดงเจตนาขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จนบริษัทประกันภัยอนุมัติจ่ายเงินให้จำเลย การที่จำเลยรับเงินค่าเช่าซื้อที่เหลือจากโจทก์ หลังจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรภาษีเท็จชำระภาษีอากรทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินและดอกเบี้ย
จำเลยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อ้างว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกซึ่งเป็นเท็จ ความจริงจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากร จึงออกบัตรภาษีให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ตามคำขอของจำเลย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ได้นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดและโจทก์ได้ใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีเป็นค่าภาษีอากรแทนแล้ว โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นการทำละเมิด ซึ่งจำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารดังกล่าวได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทายาทลูกจ้างได้ต่อเมื่อนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกแล้ว
นายจ้างจะเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ลูกจ้างก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ นายจ้างจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวคืนจากลูกจ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 426 นายบุญธรรมผู้ตายเป็นลูกจ้างโจทก์ขับรถส่งสินค้าโดยประมาท ทำให้ทรัพย์สินบุคคลภายนอกเสียหาย ศาลพิพากษาให้โจทก์และผู้ตายใช้ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของผู้ตายชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจัดการเงินค่าเสียหายที่จำเลยวางต่อศาลเพื่อบรรเทาโทษ และการชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหาย
การวางเงินของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อบรรเทาผลร้ายและจำเลยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบา ซึ่งศาลชั้นต้นได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลย ทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น การที่ครั้งแรก ผู้เสียหายยังไม่ยอมรับเงินเนื่องจากเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป มิใช่ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายหรือไม่ประสงค์รับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเสียทีเดียว จำเลยไปขอรับเงินคืนภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจเรียกผู้เสียหายมาสอบถาม เมื่อผู้เสียหายแถลงว่าประสงค์จะรับเงินจำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้
จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายต่อศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบา การวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดี ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา ศาลมีอำนาจสั่งได้ แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
การที่จำเลยวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไป ก็เพื่อเป็นการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำผิดของจำเลย และจำเลยยังประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบาด้วยซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลยแล้วทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับนั้นย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินออกไปหากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้นการที่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเงินในครั้งแรกก็เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นจำนวนน้อยเกินไปมิใช่ไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายหรือไม่ประสงค์จะรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลและเมื่อศาลได้สอบถามแล้วผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้คดีนี้จะเป็นคดีอาญาและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอเกี่ยวกับเงินค่าเสียหาย แต่จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยประสงค์จะให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบาการวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดีศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8891/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ราชการ: การมีสัญญาเป็นหนังสือเป็นสาระสำคัญ
ตามระเบียบการลาศึกษาต่อของโจทก์แสดงให้เห็นว่าต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือระบุเงื่อนไขในการรับราชการชดเชย เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้มีการทำสัญญาเป็นหนังสือระบุเงื่อนไขให้จำเลยที่ 1 รับราชการชดเชยเป็นสองเท่าไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับราชการชดเชยเป็นสองเท่าตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การแบ่งแยกที่ดินเพื่อชดใช้การรุกล้ำ
เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย และ บ.โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่า ตามที่เจ้าหน้าที่มาทำรังวัดตรวจสอบเนื้อที่รายโจทก์ จากการรังวัดปรากฏว่า อาณาเขตทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย ได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ประมาณ 6 เมตร ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยยินยอมแบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือจากถนนสาธารณะประมาณ 4 เมตร โดยวัดเฉียงตรงมายังชายทะเลโดยที่ดินของจำเลยยังคงเหลือระยะ 68 เมตร เท่าเดิม ในการตกลงครั้งนี้จำเลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำคำขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์ภายในเวลา 1 เดือน นับจากวันตกลงนี้ ข้อตกลงในส่วนโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินของจำเลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทการรุกล้ำที่ดิน โดยการแบ่งแยกที่ดินชดใช้
เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย และ บ. โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่า ตามที่เจ้าหน้าที่มาทำรังวัดตรวจสอบเนื้อที่รายโจทก์จากการรังวัดปรากฏว่า อาณาเขตทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย ได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ประมาณ 6 เมตร ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยยินยอมแบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือจากถนนสาธารณะประมาณ 4 เมตร โดยวัดเฉียงตรงมายังชายทะเลโดยที่ดินของจำเลยยังคงเหลือระยะ 68 เมตร เท่าเดิม ในการตกลงครั้งนี้จำเลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำคำขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์ภายในเวลา 1 เดือนนับจากวันตกลงนี้ ข้อตกลงในส่วนโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินของจำเลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมายและการเรียกทรัพย์สินชดใช้ – ขอบเขตอำนาจอัยการ
จำเลยมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง 82 เท่านั้น แต่จำเลยมิได้มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องด้วย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์ที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจรและความรับผิดทางแพ่ง: คืนทรัพย์ที่รับของโจรแล้ว ไม่อาจบังคับให้ชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรตามฟ้อง ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยจะต้องมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น ดังนี้ เมื่อผู้เสียหายได้รับของกลางที่จำเลยรับของโจรไว้คืนไปแล้ว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนตามคำขอของโจทก์ได้อีก
of 14