พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ำประกัน และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้นั้นเนื่องมาจากลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกันผลงานและหนังสือค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. ต่อมาเจ้าหนี้ถูกบริษัท ก. ฟ้องเป็นคดีแพ่งและศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวรับผิดต่อบริษัท ก. ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่บริษัท ก. แล้วจึงมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนั้นการที่ลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ค้ำประกันผลงานและค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. โดยลูกหนี้ที่ 1 รับรองกับเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันว่าถ้าเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างใด ๆ ในการค้ำประกันนั้น ลูกหนี้ที่ 1 จะใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันทั้งสิ้น การรับรองเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกันแต่ถือได้ว่าเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีผลบังคับได้ในระหว่างเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าหนี้ต้องเสียหายโดยชำระหนี้แทนบุคคลที่ตนค้ำประกันไปตามคำพิพากษาของศาล เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ใช้เงินนั้นได้ตามสัญญา เมื่อต่อมาปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่ต้องห้ามที่จะขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังคงอยู่
จำเลยได้นำเงินไปวางที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ดและที่ศาลชั้นต้นเพื่อใช้ราคาทรัพย์จำนวน 52,500 บาท คืนแก่ผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมเป็นแต่เพียงการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ไม่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายและการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ทำให้คดีอาญาฉ้อโกงและหลอกลวงผู้อื่นระงับ
ตามหลักฐานบันทึกการรับเงินที่จำเลยได้ชดใช้ให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่ปรากฏว่าในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มีการลงชื่อโดยภริยาของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แม้จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 จึงไม่มีอำนาจยอมความแทนผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (5) บันทึกดังกล่าวไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ระงับไป คงมีผลเพียงให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปเฉพาะแต่ความผิดข้อหาฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่แล้วก็ไม่ทำให้ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ระงับตามไปด้วยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การรับชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากทั้งผู้เช่าและประกันภัยถือเป็นสิทธิไม่สุจริต
ตามสัญญาเช่าซื้อตกลงกันไว้ว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง โดยได้จากโจทก์ผู้เช่าและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็เพื่อโจทก์จะไม่ต้องเป็นภาระใช้ค่ารถให้แก่จำเลยจึงยอมเสียเบี้ยประกันภัย และจำเลยได้แสดงเจตนาขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จนบริษัทประกันภัยอนุมัติให้จ่ายเงินให้จำเลย การที่จำเลยรับเงินค่าเช่าซื้อที่เหลือจากโจทก์หลังจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานโดยให้มีผลนับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2542 ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็หามีข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลไม่ จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลพิพากษาให้รับกลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างออกจากงาน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการ ฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2991-2992/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้ไม่ใช่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดแต่ศาลแรงงานกลางก็ได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ตามข้อกล่าวหาที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางยังมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือให้งดเสีย จึงมีผลผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จึงต้องถือว่ากรณีปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานให้แก่โจทก์ ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 ข้อ 52 (1)
ส่วนที่จำเลยทั้งสิบห้าอุทธรณ์ว่า ลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จะต้องเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีความสัมพันธ์กันภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ไม่ใช่นายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และกรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตราดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) ถึง (5) ข้อใดข้อหนึ่ง แต่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ไม่ได้เลิกจ้างโดยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ เห็นว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติว่า "การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นกลับเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานที่พิจารณาคดีเลิกจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานทุกคดี รวมทั้งคดีที่นายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่คดีที่นายจ้างเป็นเอกชนหรือคู่กรณีเป็นนายจ้างลูกจ้างกันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบห้ารับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้เงินต่าง ๆ เป็นคดีที่ต้องพิจารณาในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางจึงนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และการที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง หรือเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 46 (1) ถึง (6) ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควร อันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สำหรับคดีสำนวนแรกซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่สั่งพักงานโจทก์ และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในคดีสำนวนหลังว่าโจทก์มีอายุพ้นเกณฑ์ที่จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่อาจให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมต่อไปได้ และศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดจำนวนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 ชดใช้แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานครอบคลุมถึงความเสียหายของโจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 สั่งพักงานจนถึงวันเลิกจ้างด้วยแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาว่าคำสั่งพักงานของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ มีเหตุที่จะเพิกถอนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางหรือไม่ เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจกท์ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ชอบที่จะให้จำหน่ายคดีสำนวนแรกเสีย
ส่วนที่จำเลยทั้งสิบห้าอุทธรณ์ว่า ลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จะต้องเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีความสัมพันธ์กันภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ไม่ใช่นายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และกรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตราดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) ถึง (5) ข้อใดข้อหนึ่ง แต่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ไม่ได้เลิกจ้างโดยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ เห็นว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติว่า "การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นกลับเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานที่พิจารณาคดีเลิกจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานทุกคดี รวมทั้งคดีที่นายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่คดีที่นายจ้างเป็นเอกชนหรือคู่กรณีเป็นนายจ้างลูกจ้างกันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบห้ารับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้เงินต่าง ๆ เป็นคดีที่ต้องพิจารณาในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางจึงนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และการที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง หรือเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 46 (1) ถึง (6) ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควร อันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สำหรับคดีสำนวนแรกซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่สั่งพักงานโจทก์ และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในคดีสำนวนหลังว่าโจทก์มีอายุพ้นเกณฑ์ที่จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่อาจให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมต่อไปได้ และศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดจำนวนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 ชดใช้แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานครอบคลุมถึงความเสียหายของโจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 สั่งพักงานจนถึงวันเลิกจ้างด้วยแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาว่าคำสั่งพักงานของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ มีเหตุที่จะเพิกถอนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางหรือไม่ เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจกท์ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ชอบที่จะให้จำหน่ายคดีสำนวนแรกเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างจำเลยและผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอชดใช้ค่าเสียหายระงับ
การที่ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในคดีเลิกจ้าง: สั่งให้รับกลับทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้มิได้มีคำขอ
บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายเกินราคาทรัพย์ ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี จำเลยไม่ต้องคืนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเกินกว่าราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาไปจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายอีก