พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผูกมัดชดใช้ทุนการศึกษา/ฝึกอบรม: โจทก์ไม่ได้ทำสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้
ในการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ นอกจากโจทก์และจำเลยจะต้องปฏิบัติต่อกันให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนต่างๆ อันเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องทุนแล้ว โจทก์และจำเลยยังมีสิทธิและหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมและดูงาน ณ ต่างประเทศฯ และที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย ซึ่งตามระเบียบข้อ 8 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้โจทก์ต้องทำหนังสือสัญญาผูกมัดและกำหนดให้จำเลยต้องกลับมาปฏิบัติงานชดใช้เวลาหรือเงินทุนและเงินต่างๆ แก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยได้รับทุนจากโจทก์ตามที่ทางราชการโจทก์กำหนดไว้ ฉะนั้น เมื่อปรากฎว่าจำเลยได้รับทุนตามฟ้องแล้ว โจทก์ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาผูกมัดจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าจำเลยยังรับราชการไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาในการลาไปฝึกอบรม ณ ต่างประเทศได้ อีกทั้งเมื่อจำเลยขออนุญาตลาออกจากราชการกับโจทก์ โจทก์ก็ได้อนุมัติโดยไม่ปรากฏข้อโต้แย้งใดๆ จากโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิใดๆ ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินทุนและเงินต่างๆ ตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8891/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา และการผิดสัญญาหลังไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
โจทก์ไม่ได้จัดให้จำเลยทำสัญญาผูกมัดและกำหนดเวลาทำงานชดเชยไว้ กรณีเท่ากับเป็นการไม่มีสัญญาหรือข้อผูกมัดที่จะผูกพันหรือบังคับให้จำเลยต้องรับผิดชอบตามสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นสองเท่าของเวลาที่ไปศึกษาปริญญาโท
ส่วนที่จำเลยได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 6 ปีเศษ จำเลยจะต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นเวลา 12 ปีเศษ เมื่อคำนวณระยะเวลาที่จำเลยเข้ารับราชการหลังจากกลับจากสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปีเศษ เมื่อรวมเวลากับที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษ รวมเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก 13 ปีเศษ เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยยังรับราชการชดใช้ทุนเกินไป 1 ปีเศษ ส่วนกรณีที่จำเลยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ป่าไม้ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติณ ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษนั้นจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะรับราชการเป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้ปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับราชการชดเชย เมื่อจำเลยกลับจากประเทศบังคลาเทศเข้ามารับราชการให้แก่โจทก์เป็นเวลา 11 เดือนแล้วลาออกจากราชการ จึงเหลือเวลาที่จะต้องปฏิบัติราชการชดเชยให้โจทก์อีก 23 เดือน 1 วัน ซึ่งถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามการคำนวณจำนวนวัน
ส่วนที่จำเลยได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 6 ปีเศษ จำเลยจะต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นเวลา 12 ปีเศษ เมื่อคำนวณระยะเวลาที่จำเลยเข้ารับราชการหลังจากกลับจากสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปีเศษ เมื่อรวมเวลากับที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษ รวมเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก 13 ปีเศษ เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยยังรับราชการชดใช้ทุนเกินไป 1 ปีเศษ ส่วนกรณีที่จำเลยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ป่าไม้ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติณ ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษนั้นจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะรับราชการเป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้ปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับราชการชดเชย เมื่อจำเลยกลับจากประเทศบังคลาเทศเข้ามารับราชการให้แก่โจทก์เป็นเวลา 11 เดือนแล้วลาออกจากราชการ จึงเหลือเวลาที่จะต้องปฏิบัติราชการชดเชยให้โจทก์อีก 23 เดือน 1 วัน ซึ่งถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามการคำนวณจำนวนวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนการศึกษา: การปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหลังสำเร็จการศึกษาถือเป็นการชดใช้ทุนได้หากเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศจากโจทก์ โดยได้ทำสัญญาว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการในกระทรวง ทบวง กรม ตามที่โจทก์กำหนด โดยต้องรับราชการต่อไปไม่น้อยกว่าสองเท่าของระยะเวลาที่ศึกษาต่อหากไม่ครบกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชดใช้ทุนที่โจทก์จ่ายไปแล้วพร้อมเบี้ยปรับ การที่จำเลยที่ 1ไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สืบเนื่องมาจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้ขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี แม้จะมีการสั่งให้จำเลยที่ 1 ออกจากราชการ แต่ก็มิใช่สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอลาออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจดังกล่าว ทั้งงานที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยรวมอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทางราชการที่ส่งจำเลยที่ 1 ไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ ระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติงาน ณ หน่วยงานดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติราชการสามารถนำมารวมนับระยะเวลาชดใช้ทุนตามสัญญาด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับราชการครบกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับจำนวนตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาการศึกษา, การชดใช้ทุน, อายุความเงินกู้: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการบังคับสัญญาและอายุความ
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการการเสนอคำฟ้องจึงต้องเสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แต่คดีนี้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างเขตอำนาจศาล โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้ตามมาตรา 5ส่วนที่สัญญาได้ระบุให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งนั้น ในขณะทำสัญญาอยู่ระหว่างการใช้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 เดิม ที่บัญญัติยอมให้คู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาลที่คู่ความระบุไว้ในสัญญาได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงชอบแล้ว ข้อกำหนดในสัญญาการรับทุนไปศึกษาและกลับมาทำงานสำหรับผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศข้อ 12 ที่ห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนสมรสตลอดระยะเวลาการศึกษาชั้นปริญญาเอก เมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดในสัญญาข้ออื่นเพียงแต่เป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในสัญญาซึ่งหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกเงินประเภทต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนไปเพื่อการศึกษาคืนเป็นจำนวน4 เท่าในทันที แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิตามสัญญาข้อดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกข้อกำหนดในสัญญาข้อนี้ออกจากข้อสัญญาอื่น ๆ เป็นการแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออกจากส่วนสมบูรณ์ ดังนั้น หนังสือสัญญาการรับทุนไปศึกษาข้ออื่น ๆ นอกจากข้อห้ามในข้อ 12จึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ต้องลงทุนเพื่อสนับสนุนบุคลากรผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศ โจทก์ย่อมมีความมั่นใจในชั้นต้นว่าผู้รับทุนจะกลับมาทำงานด้วยส่วนที่ตามสัญญาระบุระยะเวลาชดใช้ทุนต่างกันไป โดยให้ชดใช้ทุนชั้นปริญญาโท 3 เท่าแต่ชดใช้ทุนชั้นปริญญาเอก 4 เท่า ก็เนื่องจากโอกาสในการได้รับงานสถานที่อื่นหรือในต่างประเทศนั้น ผู้สำเร็จปริญญาเอกจะมีโอกาสมากกว่าผู้สำเร็จชั้นปริญญาโท ทำให้โอกาสในการผิดสัญญาของผู้รับทุนไปศึกษาชั้นปริญญาเอกมีมากขึ้นด้วยคู่สัญญาจะกำหนดระยะเวลาชดใช้ทุนมากขึ้นจากระยะเวลาชดใช้ทุนในชั้นปริญญาโทจึงมีเหตุผล การที่คู่สัญญาจะกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าดังกล่าวจึงกระทำได้ แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับลง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาโทเพียง 1 เท่าและร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาเอกเพียง 2 เท่า จึงเหมาะสมแล้ว ตามสัญญาการกลับมาทำงานได้ระบุชัดเจนว่า ระยะเวลาการชดใช้ทุน คือเวลากลับเข้าปฏิบัติงานในวิทยาลัยของโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่า กรณีจึงไม่อาจแปลไปได้ว่าระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกเป็นการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของโจทก์ด้วย ส่วนการที่สัญญาการรับทุนไปศึกษาระบุว่า ให้นับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเป็นอายุการทำงานของผู้รับทุนก็เป็นเรื่องการนับอายุงานซึ่งเป็นเรื่องอื่น ไม่อาจหมายความได้ว่าให้หมายถึงเป็นการชดใช้ทุนการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโทไปได้ ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ได้แบ่งยอดชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนออกเป็นงวด ๆ รวม 60 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 เป็นต้นไป จึงเป็นการผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเดือน โจทก์จึงผ่อนผันไม่หักเงินเดือนชำระหนี้ในระหว่างนั้นให้ จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ของคู่ความต่างไม่ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาเรื่องระยะเวลาชำระหนี้เป็นงวด ๆ ในขณะนั้น เป็นสาระสำคัญของสัญญาแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ชำระหนี้ในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือกลับมาทำงานกับโจทก์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับอายุความแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษามาแล้ว และไม่ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องภายใน 5 ปีได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันตามข้อบังคับบริษัทกับการชดใช้ทุนการศึกษา – การจงใจฝ่าฝืนสัญญา
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,165,484.92 บาท พร้อมดอกเบี้ย แต่คำพิพากษาในส่วนนี้ไม่ได้บังคับจำเลยที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งนักวิชาการ 4 ซึ่งตามข้อบังคับของโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นนักเรียนทุนประเภท 1 (ข) และตามข้อ 6 วรรคแรกของข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า "ให้สถาบันทำสัญญาผูกมัดให้พนักงานที่ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยกลับมาปฏิบัติงานตามแผนงานหรือโครงการที่สถาบัน กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเท่าของเวลาที่พนักงานผู้นั้นได้รับเงินเดือนระหว่างศึกษาฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย" จำเลยได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศออสเตรียตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532 โดยมิได้ทำสัญญาผูกมัดกับโจทก์เพื่อกลับมาชดใช้ทุน ระหว่างที่จำเลยได้รับทุนนั้นโจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนไปให้จำเลยลงชื่อที่ประเทศออสเตรียหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อ กลับยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ดังนี้ โจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนให้จำเลยลงชื่อหลายครั้งแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เพื่ออนุโลมให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ แต่จำเลยกลับไม่ยอมลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์ จำเลยไม่อาจอ้างเหตุที่มิได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุนขึ้นมาปฏิเสธความรับผิดได้
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งนักวิชาการ 4 ซึ่งตามข้อบังคับของโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นนักเรียนทุนประเภท 1 (ข) และตามข้อ 6 วรรคแรกของข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า "ให้สถาบันทำสัญญาผูกมัดให้พนักงานที่ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยกลับมาปฏิบัติงานตามแผนงานหรือโครงการที่สถาบัน กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเท่าของเวลาที่พนักงานผู้นั้นได้รับเงินเดือนระหว่างศึกษาฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย" จำเลยได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศออสเตรียตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532 โดยมิได้ทำสัญญาผูกมัดกับโจทก์เพื่อกลับมาชดใช้ทุน ระหว่างที่จำเลยได้รับทุนนั้นโจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนไปให้จำเลยลงชื่อที่ประเทศออสเตรียหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อ กลับยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ดังนี้ โจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนให้จำเลยลงชื่อหลายครั้งแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เพื่ออนุโลมให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ แต่จำเลยกลับไม่ยอมลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์ จำเลยไม่อาจอ้างเหตุที่มิได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุนขึ้นมาปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาข้าราชการชดใช้ทุน: การกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนหลังถูกปลดออกและได้รับการล้างมลทิน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ 9ระบุว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อ หรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(โจทก์)เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ 7" เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ 9 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 9 ดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา และโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่ 1กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนค่าเล่าเรียนหลังถูกปลดออกจากราชการ และผลของการกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ 9ระบุว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อหรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (โจทก์) เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ 7" เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ 9จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 9 ดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนม์พรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา และโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่ 1 กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนการศึกษาหลังถูกปลดออกจากราชการ และการกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ9ระบุว่า"ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อหรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ5ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออกปลดออกหรือให้ออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(โจทก์)เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ7"เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ9จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ9ดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนม์พรรษา60พรรษาพ.ศ.2530ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญาและโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่1กลับเข้ารับราชการดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเองจำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9539/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุน: ทุนการศึกษาต่างประเทศไม่นับรวม
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาจากส่วนราชการให้ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ แม้ขณะนั้นยังคงสถานะเป็นข้าราชการแต่ก็มิใช่เป็นการอยู่รับราชการหรือปฎิบัติหน้าที่ราชการตามความหมายของสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อนับรวมเข้าเป็นระยะเวลาปฎิบัติหน้าที่ราชการใช้ทุนตามสัญญาฉบับก่อนที่ทำไว้ต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาชดใช้ทุนการศึกษาและการพิจารณาการรับราชการชดใช้ทุนหลังพ้นจากสมาชิกภาพข้าราชการ
มติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่าผู้ผิดสัญญาตามข้อ1.1พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้วส่วนราชการหรือกรมเข้าท่าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศหลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ1.4จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน6เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองจำเลยที่1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4การที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11กุมภาพันธ์2530จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้วการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4นั้นช่วงเวลาระหว่างวันที่6มิถุนายน2526ถึงวันที่13สิงหาคม2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4หรือไม่ คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆรวมทั้งค่าปรับตามสัญญาโจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่1และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่1เหลืออยู่อีกจำเลยที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งจำเลยที่1ฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดสัญญาขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย