พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในบ้านพิพาท: การแบ่งแยกและการชดใช้ราคาเมื่อมีสิทธิในที่ดิน
โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันในบ้านพิพาท คดีนี้โจทก์จำเลยต่างฟ้องขอให้ขับไล่ซึ่งกันและกัน ทั้งจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้เงินค่าบ้านพิพาทมาด้วย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของรวมเรียกให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่การให้รื้อถอนบ้านพิพาทย่อมทำให้สภาพบ้านเสียหาย ไม่เป็นผลดีแก่ทั้งสองฝ่ายแต่อย่างใด ทั้งการให้นำเฉพาะบ้านพิพาทออกประมูลขายทอดตลาดย่อมจะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์โดยไม่เป็นธรรม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทตามสัญญาเช่าที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลภายนอก บ้านพิพาทจึงควรตกเป็นของโจทก์ โดยให้จำเลยได้รับแต่ส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งของราคาบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ก่อน หากไม่สามารถทำได้จึงชดใช้ราคาได้ ศาลเพิกถอนคำสั่งเดิมชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา พิพากษายืนตาม พิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน2 แปลงที่พิพาทกันให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หรือให้จำเลยใช้เงินค่าที่ดินแก่โจทก์ในส่วนที่จำเลยไม่สามารถโอนคืนแก่โจทก์ได้นั้น เป็นเรื่องที่กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับในคำพิพากษา จำเลยไม่มีสิทธิเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามอำเภอใจ เมื่อข้ออ้างที่จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ไม่ใช่เหตุพ้นวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธิชดใช้ราคาที่ดินพิพาทแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยชดใช้เงินค่าที่ดินแทนการที่จำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ก่อน โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยจนทำให้จำเลยไม่สามารถโอนได้นั้น คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีที่สั่งไปโดยผิดหลง เป็นคำสั่งไม่ชอบและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียทั้งหมดหรือบางส่วนได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 การที่ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวโดยไม่ได้ ส่งสำเนาคำร้องของ โจทก์ให้จำเลยทราบ จึงชอบด้วย กระบวนพิจารณาแล้วไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อายุความ: สิทธิเรียกคืนทรัพย์ฝาก-ชดใช้ราคา ไม่ขาดอายุความ แม้มีคดีอาญา
ในคดีอาญาโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันคืน หรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย แต่คำพิพากษาในคดีอาญาไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดชอบในทางแพ่งด้วยหรือไม่ เมื่อคำพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือกเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝากโจทก์มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอในฟ้อง: ศาลมีอำนาจพิพากษาให้คืนรถยนต์หรือชดใช้ราคาได้ แม้คำขอท้ายฟ้องจะเน้นการชดใช้ราคา
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญา ไม่อาจส่งมอบรถยนต์ที่โจทก์ฝากขายไว้คืนแก่โจทก์ ในสภาพเรียบร้อยได้ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์ 70,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ มีความประสงค์หลักให้จำเลยคืนรถยนต์นั่นเอง หากคืนไม่ได้จึงให้ใช้ราคาเท่าราคารถยนต์ การที่ศาลล่างทั้งสองมี คำพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ในสภาพที่เรียบร้อย หากคืนไม่ได้ก็ให้ใช้ราคาแทนโดยตีราคารถยนต์ต่ำกว่า ที่โจทก์ขอ จึงมีอำนาจที่จะพิพากษาได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากพ่อค้า แม้ผู้ขายไม่มีสิทธิในกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อไม่ต้องคืนรถหากเจ้าของไม่ชดใช้ราคา
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้า ประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ แต่เพิ่งทราบว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของในช่วงระยะเวลาหลังจากที่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์จากจำเลยที่ 1 และชำระราคาครบถ้วนแล้วโจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเว้นแต่จะได้รับชดใช้ราคาที่ซื้อมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ส่วนจำเลยที่ 2 จะใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท เพื่อติดตามและเอารถยนต์คืนจากโจทก์ไม่ได้ เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะได้ชดใช้ราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ เพราะสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์จากพ่อค้าโดยผู้ซื้อสุจริต ผู้ซื้อไม่ต้องคืนรถให้เจ้าของเดิม เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคา
โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นพ่อค้ารถยนต์อันถือได้ว่าเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ส่วนการที่จำเลยที่ 1มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์คันพิพาทก็ดี จำเลยที่ 1 มิได้ประกอบการค้ารถยนต์โดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีทะเบียนการค้าทะเบียนพาณิชย์และใบอนุญาตค้าของเก่าก็ดี จำเลยที่ 1มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ดี และจำเลยที่ 1 ไม่มีรถยนต์คันพิพาทอยู่ในความครอบครองที่สถานประกอบการของตนในขณะที่ โจทก์ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 1 ก็ดี หาใช่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ในสถานะดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เพิ่งทราบว่าจำเลยที่ 2เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทภายหลังจากที่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1จนครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งคัดค้านเพียงว่าโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทคันพิพาทที่แท้จริงเป็นจำเลยที่ 2 แต่ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ทราบดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยุติและรับฟังได้เช่นนั้น โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายของชนิดนั้นโดยสุจริต โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 คือโจทก์ไม่ต้องคืนรถยนต์คันพิพาทแก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาส่วนสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทตามมาตรา 1336 ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1332ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะใช้สิทธิในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทเพื่อติดตามและเอาคืนซึ่งรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ไม่ได้เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะชดใช้ราคาที่โจทก์ซื้อมาให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ปฎิบัติต่อโจทก์ดังกล่าวโจทก์จึง ไม่จำต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีความรับผิดต้องชดใช้ราคารถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผิดสัญญาซื้อขายและการบอกเลิกสัญญา: ค่าปรับรายวัน vs. ชดใช้ราคาต่างกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6 รายการ ในราคา 965,000 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ 10 โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วย ครั้นครบกำหนด จำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม 2532 โจทก์ยินยอม และได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีก โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหาย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2532 แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่ 31 มกราคม 2533 โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2533 ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง 2 ครั้ง โดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้ โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน ข้อ 10 วรรคแรก และในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลย โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ 10 วรรคสาม ได้
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องคืนทรัพย์ที่ยักยอกให้กองมรดก หรือชดใช้ราคา หากโอนไม่ได้ แม้เจ้าของมรดกเสียชีวิตแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ หมายความว่า จำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกไปคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคาจำนวน4,974,987.50 บาท แก่กองมรดก ไม่ใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ และแม้เจ้าของที่ดินจะตายไปแล้ว จำเลยก็จะอ้างมาเป็นเหตุให้ปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากการล้มละลาย กรณีผู้รับโอนไม่สุจริต และการชดใช้ราคาแทน
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114จำเลยผู้ล้มละลายและผู้คัดค้านกลับคืนสู่ฐานะเดิมผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยแต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่อาจคืนที่ดินให้แก่จำเลยได้เพราะผู้คัดค้านได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกผู้สุจริตไปแล้วผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินที่ขายได้ให้แก่จำเลยโดยเต็มจำนวนเพราะเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริตอันฝ่าฝืนต่อมาตรา114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จะนำเงินที่ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินก่อนขายให้แก่บุคคลภายนอกมาหักออกจากเงินที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ราคาแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าในคดีล้มละลาย แม้ไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิมได้ แต่ผู้รับโอนต้องชดใช้ราคา
การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านแต่มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านใช้เงินแทนด้วยเหตุที่โดยสภาพแล้วมิอาจให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็นผู้เช่าดังเดิมได้นั้น เป็นการสั่งเพิกถอนการโอนแล้ว ขณะที่จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้ผู้คัดค้าน สิทธิการเช่าตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่ายังไม่ครบกำหนด ยังมีประโยชน์สามารถตีราคาเป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อผู้คัดค้านรับโอนไปย่อมเป็นการรับโอนทรัพย์สินจากจำเลยและย่อมได้รับประโยชน์ตลอดเวลาแห่งสิทธิการเช่าดังกล่าวซึ่งคำนวณราคาเป็นเงินได้ การเพิกถอนการโอนจึงอาจบังคับได้โดยให้ผู้คัดค้านชดใช้เงินแทนตามราคาที่คำนวณได้นั้น