คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชลประทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางน้ำชลประทานเป็นทางสาธารณะ แม้มีอำนาจจำกัดการใช้ แต่ไม่ได้ทำให้ทางน้ำนั้นกลายเป็นส่วนตัว
คลองชลประทานซึ่งเป็นทางน้ำที่ราษฎรทั่วไปมีสิทธิใช้สัญจรไปมาได้เป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 แม้พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 15 จะบัญญัติให้อธิบดีกรมชลประทานมีอำนาจ (1) ปิด ฯลฯ (2) ขุดลอก ฯลฯ(3) ห้ามจำกัดหรือกำหนดเงื่อนไขในการนำเรือ แพ ผ่านทางน้ำชลประทาน (1) หรือ (2) ได้แต่ก็เป็นการกำหนดไว้เพื่อให้อธิบดีกรมชลประทาน จัดการดูแลรักษาทางน้ำชลประทานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ของการชลประทานเท่านั้นหาทำให้ทางน้ำ ที่ราษฎรใช้ในการคมนาคมกลายสภาพเป็นทางน้ำที่ไม่ใช่ทาง สาธารณะไม่ ที่ดินของโจทก์ทั้งสามจึงมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดิน ของจำเลยทั้งสองซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจากการรังวัดเขตชลประทาน การครอบครองประโยชน์ตกเป็นของแผ่นดิน
กรมชลประทานจำเลยรังวัดกั้นเขตชลประทานไว้ตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ยพ.ศ. 2467 จำเลยยังไม่ได้จ่ายค่าทดแทนที่พิพาทในสำนวนแรกแต่หลังจากมีการรังวัดกันเขตการชลประทานแล้ว ผ.เจ้าของเดิมก็ไม่ได้ครอบครองทำกิน โดยจำเลยได้ครอบครองดูแลไม่ให้ใครมารุกล้ำตลอดมา ส่วนโจทก์เพิ่งจะเข้าทำกินในปี 2519 ถือได้ว่าผ. ได้สละการครอบครองที่พิพาทสำนวนแรกหลังจากมีการรังวัดกันเขตชลประทานเป็นต้นมา และจำเลยก็ได้ครอบครองดูแลที่ดินในแนวเขตการชลประทานซึ่งรวมถึงที่พิพาทตลอดมาจำเลยใช้ที่ดินในเขตการชลประทานซึ่งรวมถึงที่พิพาทเพื่อทิ้งดินที่ได้จากการขุดลอกคลองชลประทาน ถือได้ว่าเป็นการใช้ที่พิพาทเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะที่พิพาทสำนวนแรกจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) การที่โจทก์ในสำนวนแรก เข้าทำกินในที่พิพาทจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยส่วนที่พิพาทสำนวนหลัง ร. เจ้าของเดิมสละการครอบครองตั้งแต่เมื่อมีการรังวัดกับเขตชลประทานตั้งแต่ปี 2481 และจำเลยได้ครอบครองดูแลที่ดินในเขตการชลประทานมาตั้งแต่มีการรังวัดกันเขตโดยใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่พิพาทสำนวนหลังซึ่งอยู่ในเขตการชลประทานจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) นับแต่ที่ ร. สละการครอบครองตั้งแต่เมื่อมีการรังวัดกันเขตการชลประทานถึงแม้ ห. และ โจทก์ในสำนวนหลัง จะเข้าครอบครองและแจ้งการครอบครอง ไว้เมื่อปี 2498 ก็ไม่อาจอ้างการครอบครองขึ้นต่อสู้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาในคดีรุกล้ำพื้นที่ชลประทาน: การบรรยายรายละเอียดสถานที่เกิดเหตุเพียงพอหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำชานคลองเขตคันคลองชลประทานว่า อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 40 จำนวนเนื้อที่ 60 ตารางเมตรตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเป็นการบรรยายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพ.ศ. 2485 มาตรา 23 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2507 มาตรา 12 ส่วนพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485มาตรา 37 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507มาตรา 17 และพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2518 มาตรา 7 เป็นมาตราที่กำหนดโทษในการกระทำความผิดตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรุกล้ำที่ดินชลประทาน แม้ไม่ได้อ้างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ศาลยังลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านพักอาศัยรุกล้ำที่ดินราชพัสดุเขตชานคลองชลประทานโดยละเมิดกฎหมายและคำขอท้ายฟ้องได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช2485 มาตรา 23 วรรค 1 ซึ่งเป็นบทความผิดและมาตรา 37 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษกับอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 มาตรา 17 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 ทั้งได้ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำนั้นด้วย เพียงแต่โจทก์มิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 12 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 ทั้งมิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ ยังคงเรียกว่ามาตรา 23 และมาตรา 37 อยู่นั่นเองการที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้ว แต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์
เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 23 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 12 และมีบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 มาตรา37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2518 มาตรา 7 ศาลก็ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ได้ และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนอาคารรุกล้ำทางน้ำชลประทาน แม้มีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกไปจากเขตชลประทาน คำพิพากษาดังกล่าวเป็นยุติว่าที่พิพาทเป็นทางน้ำชลประทาน จำเลยถูกผูกพันมิให้โต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นของผู้อื่น จำเลยไม่สามารถแสดงข้อแก้ตัวที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเหมืองฝายส่วนบุคคลและการชลประทานราษฎร ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจเปลี่ยนประเภทโดยไม่สั่งการ
พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 มาตรา 11ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎรได้แต่อำนาจสั่งเปลี่ยนประเภทการชลประทานส่วนบุคคลเป็นการชลประทานส่วนราษฎรจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง
โจทก์ได้รับโอนสิทธิในเหมืองฝายซึ่งเป็นการชลประทานส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จากมารดา แม้ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 กำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎร มีตำบลของเหมืองฝายของโจทก์รวมอยู่ด้วยแต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการสั่งเปลี่ยนแปลงประเภทการชลประทานส่วนบุคคลของโจทก์เป็นการชลประทานส่วนราษฎรเมื่อจำเลยถมเหมืองแล้วปลูกข้าวบนดินที่ถม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้น้ำและการละเมิดสิทธิของผู้อื่น แม้มีใบอนุญาตทำชลประทานส่วนบุคคล ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
การที่จำเลยสร้างฝายและขุดเหมืองเพื่อส่งน้ำจากคลองสาธารณะไปใช้ในการทำนา แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้จัดทำชลประทานส่วนบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับที่ว่าจะต้องปฏิบัติการมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของผู้อื่นด้วย เมื่อจำเลยใช้สิทธิสร้างฝายและขุดลำเหมืองเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของนาได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิจะขอให้ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายนั้นให้สิ้นไป เช่น ให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายหรือถมลำเหมืองนั้นได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายและถมลำเหมืองในชั้นอุทธรณ์ จำเลยขอทุเลาการบังคับ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตได้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และจำเลยได้รื้อฝายและถมลำเหมืองไปแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะบังคับให้จำเลยจัดการแก้ไขฝายและลำเหมืองอย่างใดอีก ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้น้ำและการละเมิดสิทธิของผู้อื่น แม้มีใบอนุญาตทำชลประทานส่วนบุคคล
การที่จำเลยสร้างฝายและขุดเหมืองเพื่อส่งน้ำจากคลองสาธารณะไปใช้ในการทำนา แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้จัดทำชลประทานส่วนบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับที่ว่า จะต้องปฏิบัติการมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของผู้อื่นด้วย เมื่อจำเลยใช้สิทธิสร้างฝายและขุดลำเหมืองเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของนาได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิจะขอให้ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายนั้นให้สิ้นไป เช่น ให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายหรือถมลำเหมืองนั้นได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายและถมลำเหมืองในชั้นอุทธรณ์ จำเลยขอทุเลาการบังคับ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตได้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และจำเลยได้รื้อฝายและถมลำเหมืองไปแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะบังคับให้จำเลยจัดการแก้ไขฝายและลำเหมืองอย่างใดอีก ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะโดยสุจริต: ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แม้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะทำให้น้ำหยุดไหล ราษฎรได้รับความเดือดร้อนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 375 ศาลชั้นต้นเห็นว่าร่องน้ำที่พิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะจำเลยไปปิดกั้นเข้าจึงมีความผิดพิพากษาลงโทษศาลอุทธรณ์ เห็นว่าร่องน้ำพิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะเช่นเดียวกันกับศาลชั้นต้น แต่จำเลยปิดกั้นโดยสุจริตโดยเชื่อว่ามีอำนาจปิดกั้นได้ จึงไม่มีความผิดพิพากษายกฟ้องจำเลยฎีกาขอให้วินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาทไม่ใช่ร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยยกฟ้องโจทก์อยู่แล้วและร่องน้ำพิพาทจะเป็นร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์หรือไม่นั้น ก็มิได้ทำให้จำเลยเสียสิทธิแต่ประการใด จึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะโดยสุจริต แม้ขัดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีความผิดทางอาญา หากศาลเชื่อถือ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะทำให้น้ำหยุดไหลราษฎรได้รับความเดือดร้อน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 375 ศาลชั้นต้นเห็นว่าร่องน้ำที่พิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะจำเลยไปปิดกั้นเข้าจึงมีความผิดพิพากษาลงโทษ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าร่องน้ำพิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะเช่นเดียวกันกับศาลชั้นต้น แต่จำเลยปิดกั้นโดยสุจริต โดยเชื่อว่ามีอำนาจปิดกั้นได้ จึงไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง จำเลยฎีกาขอให้วินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาท ไม่ใช่ร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยยกฟ้องโจทก์อยู่แล้วและร่องน้ำพิพาทจะเป็นร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์หรือไม่นั้น ก็มิได้ทำให้จำเลยเสียสิทธิแต่ประการใดจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
of 2