คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชั้นฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2309/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในชั้นฎีกาเป็นไปไม่ได้ตามกฎหมาย และการลงโทษที่เหมาะสมกับพฤติการณ์
การขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง จะต้องกระทำเสียก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา การที่จำเลยขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา ย่อมเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249: การยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยว่ากันมาก่อนในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
++ เรื่อง ละเมิด ประกันภัยค้ำจุน ++
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยที่ 2ในอันที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดคดีนี้เหลือไม่เกิน 360,000 บาท และคดีขาดอายุความ และคดีในส่วนของจำเลยที่ 2ไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้น แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาด้วยว่าพยานเอกสารบางฉบับที่ศาลรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อจะเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ซื้อขาย: การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ทำการค้าวัสดุก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์ฟ้องเรียกหนี้ค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อไปจากโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้อง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ที่โจทก์ฎีกาว่า คดีของโจทก์มีอายุความ 5 ปี เพราะจำเลยทั้งสองซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปขายให้บุคคลทั่วไป มิใช่ซื้อมาเพื่อใช้บริโภคเองเป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้ไม่มีผลกระทบถึงสังคมหรือประชาชนทั่วไป จึงไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยฎีกาถึงการชำระหนี้อีกจำนวนหนึ่งว่า โจทก์กับจำเลยตกลงให้ ส. ทำหลักฐานการชำระเงินและโจทก์จำเลยได้ลงชื่อแล้วมอบให้ ส. เก็บรักษาไว้ แต่ในชั้นสืบพยานจำเลยกลับปรากฏจากการนำสืบว่าจำเลยไปพบกับ ส. และมีการชำระเงินสดและทำหลักฐานการรับเงินเอาไว้โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปร่วมรับชำระหนี้และลงลายมือชื่อไว้ในใบรับเงินด้วย ดังเช่นข้อความในฎีกาของจำเลย ดังนั้น ฎีกาจำเลยจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นมาใหม่ในชั้นฎีกา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนตาม ป.อ.มาตรา 55 และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 55 ได้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, อำนาจฟ้อง, ค่าเสียหายเช่าซื้อ, การแก้ไขหนังสือมอบอำนาจในชั้นฎีกา
ปัญหาที่ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ขีดฆ่าอากรแสตมป์จึงใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง แม้จะไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ในระหว่างกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขีดฆ่าอากรแสตมป์และโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้วจึงถือว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แล้ว ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาและการนำสืบข้อจำกัดความรับผิดในสัญญา
แม้ในชั้นอุทธรณ์โจทก์จะมิได้ยกข้อกฎหมายเรื่องห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)ขึ้นว่ากล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินพิพาทไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์จำเลยย่อมนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องความเป็นบุตร และข้อจำกัดในการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
แม้โจทก์จะเบิกความว่าโจทก์เป็นบุตรของ ถ. ตามสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิของโรงเรียนประชาบาลและใบสำคัญทหารนอกประจำการประเภทที่ 2 และตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า บิดาโจทก์ชื่อ ถ.ก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบอ้างอิงมายันจำเลยเท่านั้น จะถือตามเอกสารดังกล่าวโดยเด็ดขาดหาได้ไม่ เพราะการที่ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ.หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย
โจทก์เบิกความยอมรับว่า ถ.ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงของโจทก์บิดามารดาที่แท้จริงของโจทก์ คือ น.กับ ก. การที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่โจทก์เบิกความไปเช่นนั้นเพราะโจทก์ถูกข่มขู่จากบุคคลภายนอกก่อนเข้าเบิกความโจทก์รู้สึกกลัวและเกิดความประหม่า และฟังคำถามค้านทนายความจำเลยไม่ชัดเจนจึงตอบหลงผิดไปนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเท่านั้น เมื่อเป็นข้อที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดทุนทรัพย์ฟ้องแย้งในชั้นฎีกา: การคำนวณดอกเบี้ยหลังวันฟ้อง
จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ไปโดยสำคัญผิด จำเลยจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเพียง 199,993.23 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้ง จำเลยจึงฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยทั้งสองได้เพียง199,993.23 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจึงไม่เกิน 200,000บาท ฎีกาของจำเลยสำหรับฟ้องแย้งจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา: ห้ามรวมค่าเสียหายในอนาคต
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา โจทก์ทั้งสามจะนำค่าเสียหายในอนาคตสัปดาห์ละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามาคำนวณด้วยไม่ได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามคงมีจำนวน104,000 บาท ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 7