คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชี้สองสถาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: ต้องเป็นเหตุอันสมควร หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การขอแก้ไขคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานไปแล้วต่อมาระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเดิมโดยอ้างเพิ่มเติมว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลย เนื่องจากขณะที่ทำสัญญาดังกล่าวจำเลยมีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์กระทำนิติกรรมโดยมิได้รับความเห็นชอบหรือความยินยอมจากมารดาซึ่งเป็นผู้ปกครอง จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม และขอถือเอาคำให้การที่ขอแก้ไขนี้เป็นการบอกล้างโมฆียกรรมประกอบกับจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ดังนั้นคำให้การที่ขอแก้ไขดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่จำเลยหยิบยกเรื่องความเป็นโมฆียะกรรมของสัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องขึ้นโต้เถียงโจทก์ซึ่งการกล่าวอ้างว่านิติกรรมที่ทำเป็นโมฆียะกรรมโดยจะบอกล้างหรือไม่ก็ตามมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะอยู่ในข้อยกเว้นที่พึงอนุญาตให้จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลชี้สองสถาน: กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆียะกรรม
จำเลยที่ 5 ขอแก้ไขคำให้การเดิมโดยอ้างเพิ่มเติมว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 5 เนื่องจากขณะทำสัญญาจำเลยที่ 5 มีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์ มิได้รับความเห็นชอบหรือความยินยอมจากมารดาซึ่งเป็นผู้ปกครอง จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม และขอถือเอาคำให้การที่ขอแก้ไขนี้เป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม คำให้การที่ขอแก้ไขดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะอยู่ในข้อยกเว้นที่พึงอนุญาตให้จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังล่วงพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: สัญญาอนุญาตใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า และอายุความ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การในส่วนที่ว่า สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามความผูกพันทางสัญญา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยอ้างว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า ซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ จึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนยื่นหลังจากวันชี้สองสถานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา และมีสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบตามข้อต่อสู้นี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของข้อ 2 ว่า "และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด" โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบถึงเรื่องความรับผิดในกรณีที่สัญญาจะมีผลผูกพันต่อกันหรือไม่อยู่แล้ว ไม่มีเหตุสมควรที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนนี้
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องโจทก์ จำเลยก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาแต่ต้น หากจำเลยมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความ ย่อมสามารถจะทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกันมิใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำให้การส่วนในนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การภายหลังชี้สองสถานต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 เมื่อประเด็นยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้คันที่จำเลยขับรถยนต์กระบะชนได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การและฟ้องแย้งยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้ ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้หรือไม่เป็นอันยุติตามนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 การที่จำเลยยื่นคำร้องในเวลาต่อมาว่า เพิ่งทราบว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ตู้ จึงขอแก้ไขคำให้การใหม่ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แต่คำร้องก็มิได้ปฏิเสธในข้อที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตู้ การขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันชี้สองสถานในประเด็นที่จำเลยยอมรับและยุติไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ศาลจึงไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การและไม่อนุญาตให้จำเลยยืนบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถานต้องห้ามตามกฎหมาย หากจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงแล้ว
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่เฉี่ยวชนกับรถยนต์ของจำเลยหรือไม่ ซึ่งจำเลยได้ยอมรับข้อเท็จจริงในคำให้การและฟ้องแย้งแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยซึ่งไปศาลในวันชี้สองสถานก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงยุติตามนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 แม้จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานเพราะเพิ่งทราบว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของรถคู่กรณี แต่คำร้องขอแก้ไขก็มิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตู้นั่ง 4 ตอน ดังนั้น การขอแก้ไขในประเด็นที่จำเลยยอมรับและยุติไปแล้วไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถาน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: การยกข้อต่อสู้ใหม่ถือเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยที่ 1 ขอแก้ไขในคำให้การเดิม จากที่ปฏิเสธว่าลายมือชื่อผู้เช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 และผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ เป็นว่า ผู้ลงนามในฐานะเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อในขณะทำสัญญาเช่าซื้อ และมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามกฎหมายขณะทำสัญญาเช่าซื้อ ข้อความที่ขอแก้ไขดังกล่าวจึงเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นเอกสารปลอมและยกข้อต่อสู้ว่าในขณะทำสัญญาผู้ลงนามในฐานะผู้ให้เช่าซื้อมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ กรณีหาใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย แต่เป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากคำให้การเดิมและเป็นเรื่องที่จำเลยอาจขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานอีกทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งแล้วในเรื่องการมอบอำนาจให้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ในข้อนี้ ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขดังกล่าวจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ อันจะทำให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันชี้สองสถานเช่นนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: เหตุผลความจำเป็นและขอบเขตการอนุญาต
สาระสำคัญของการเรียกร้องเงินทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เพิ่มขึ้นต้องอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อที่ของที่ดินที่ถูกต้องแน่นอนสำหรับคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่จะเรียกร้อง โจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบังคับโดยยังไม่ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน แม้โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าได้รังวัดที่ดินแล้วมีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น แต่ตามคำให้การของจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าโจทก์ยังโต้แย้งคัดค้านการรังวัดครั้งดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าเนื้อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำนวนเท่าใด โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งจำนวนเนื้อที่กันอยู่ จำเลยจึงยังมิได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือแก่โจทก์ เมื่อโจทก์เพิ่งทราบและยอมรับว่าที่ดินสองแปลงของโจทก์ มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น 113 ตารางวา และ 92 ตารางวา ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไปรังวัดที่ดินกันใหม่ภายหลังจากวันชี้สองสถานตามที่โจทก์ฎีกา กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังชี้สองสถาน และการระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน: เหตุสมควรและความชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จสิ้นวันที่ 29เมษายน 2539 หลังจากนั้นมีการสืบพยานจำเลยต่ออีกหลายนัดโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2540 อ้างความพลั้งเผลอหรือผิดหลงเล็กน้อย โดยไม่ได้อ้างเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องก่อนวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเพิ่มการเรียกร้องค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน หากไม่ได้ที่ดินตามฟ้องเดิมนั้น ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งไม่ใช่เป็นการแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ขออ้างสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอ้างเหตุผลว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาที่จะอ้างเป็นพยานภายหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาหลังจากสืบพยานโจทก์คดีนี้เสร็จและจ่าศาลศาลชั้นต้นเพิ่งรับรองสำเนาคำพิพากษาในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวกรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถระบุพยานดังกล่าวก่อนหน้านี้ได้ ทั้งคำพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นประเด็นโดยตรงกับคดีนี้ตามที่จำเลยให้การไว้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6888/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุสมควรประกอบกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180เป็นบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์หรือจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การของตน หาได้เป็นบทบัญญัติบังคับ ศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยเสมอไปเมื่อศาลพิจารณาคำร้องโจทก์จำเลยแล้วเมื่อมีเหตุอันสมควรศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาคำร้องเป็นเรื่อง ๆ ไป
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังการชี้สองสถานแม้จะอ้างเหตุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด" โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก็ต้องนำสืบถึงยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยตามประเด็นดังกล่าว และจำเลยก็สามารถสืบหักล้างว่าดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยมีเพียงใด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6888/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: ดุลพินิจศาลและประเด็นความสงบเรียบร้อย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ให้อำนาจโจทก์หรือจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การของตนหาได้เป็นบทบัญญัติบังคับศาลที่ต้องอนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยเสมอไปไม่ เมื่อตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยภายหลังการชี้สองสถานจะอ้างว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด" โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก็ต้องนำสืบถึงยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยอยู่แล้ว และจำเลยก็สามารถสืบหักล้างว่าดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยมีเพียงใดได้ จึงไม่มีเหตุควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องอีก
of 11