คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อขายรถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยตัวแทนเชิด ตัวการต้องผูกพันตามสัญญา แม้จะไม่ได้เปิดเผยชื่อ
รถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปโดยจำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ ต่อมาโจทก์ได้ติดต่อซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยตกลงซื้อเป็นเงินสด ขณะที่โจทก์ไปติดต่อซื้อรถยนต์พิพาท รถยนต์พิพาทอยู่ที่สำนักงานจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสองติดต่อค้าขายกันมาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาชีพซื้อขายรถยนต์ นอกจากนี้ในการนำรถยนต์ไปจอดขาย จำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่าถ้าจำเลยที่ 1 จะขายรถยนต์ให้ผู้ใด จำเลยที่ 1จะต้องมาแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบและชำระเงินส่วนที่เหลือให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมมิใช่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องผูกพันด้วย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์โดยพลการและไม่นำเงินมาชำระให้จำเลยที่ 2 เพื่อยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตและขวนขวายได้สิทธิโดยได้ซื้อรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่ารถยนต์ไปชำระให้จำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ไปจดชื่อโจทก์ในทะเบียนรถยนต์พิพาทและมอบทะเบียนรถยนต์พิพาทให้โจทก์กับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกสุจริต การซื้อขายรถยนต์
รถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ได้ให้จำเลยที่ 1เช่าซื้อไปโดยจำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบต่อมาโจทก์ได้ติดต่อซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1โดยตกลงซื้อเป็นเงินสด ขณะที่โจทก์ไปติดต่อซื้อรถยนต์พิพาท รถยนต์พิพาทอยู่ที่สำนักงานจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสอง ติดต่อค้าขายกันมาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาชีพซื้อขายรถยนต์ นอกจากนี้ในการนำรถยนต์ ไปจอดขาย จำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่าถ้าจำเลยที่ 1 จะขายรถยนต์ให้ผู้ใด จำเลยที่ 1 จะต้องมาแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบและชำระเงินส่วนที่เหลือให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมมิใช่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 แต่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็น ตัวการว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 เมื่อจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จึงต้องผูกพันด้วย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายรถยนต์โดยพลการและไม่นำเงินมาชำระให้จำเลยที่ 2 เพื่อยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตและขวนขวาย ได้สิทธิโดยได้ซื้อรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะรู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ ส่วนการที่ จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่ารถยนต์ไปชำระให้จำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ไปจดชื่อโจทก์ในทะเบียนรถยนต์ พิพาทและมอบทะเบียนรถยนต์พิพาทให้โจทก์กับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตและสิทธิของเจ้าของแท้จริง: คุ้มครองผู้ซื้อตาม ป.พ.พ.มาตรา 1332
โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นพ่อค้ารถยนต์อันถือได้ว่าเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1332 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์คันพิพาทก็ดี จำเลยที่ 1 มิได้ประกอบการค้ารถยนต์โดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีทะเบียนการค้าทะเบียนพาณิชย์และใบอนุญาตค้าของเก่าก็ดีจำเลยที่ 1 มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ดี และจำเลยที่ 1 ไม่มีรถยนต์คันพิพาทอยู่ในความครอบครองที่สถานประกอบการของตนในขณะที่โจทก์ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 1 ก็ดี หาใช่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ในสถานะดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เพิ่งทราบว่าจำเลยที่ 2เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทภายหลังจากที่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1 จนครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยที่ 2ฎีกาโต้แย้งคัดค้านเพียงว่าโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทที่แท้จริงเป็นจำเลยที่ 2 แต่ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ทราบดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยุติและรับฟังได้เช่นนั้น
โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายของชนิดนั้นโดยสุจริต โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1332 คือโจทก์ไม่ต้องคืนรถยนต์คันพิพาทแก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาส่วนสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทตามมาตรา 1336 ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1332 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะใช้สิทธิในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทเพื่อติดตามและเอาคืนซึ่งรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ไม่ได้ เว้นแต่จำเลยที่ 2จะชดใช้ราคาที่โจทก์ซื้อมาให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติต่อโจทก์ดังกล่าวโจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีความรับผิดต้องชดใช้ราคารถยนต์คันพิพาทกับค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์จากพ่อค้าโดยผู้ซื้อสุจริต ผู้ซื้อไม่ต้องคืนรถให้เจ้าของเดิม เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคา
โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นพ่อค้ารถยนต์อันถือได้ว่าเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ส่วนการที่จำเลยที่ 1มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์คันพิพาทก็ดี จำเลยที่ 1 มิได้ประกอบการค้ารถยนต์โดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีทะเบียนการค้าทะเบียนพาณิชย์และใบอนุญาตค้าของเก่าก็ดี จำเลยที่ 1มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ดี และจำเลยที่ 1 ไม่มีรถยนต์คันพิพาทอยู่ในความครอบครองที่สถานประกอบการของตนในขณะที่ โจทก์ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 1 ก็ดี หาใช่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ในสถานะดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เพิ่งทราบว่าจำเลยที่ 2เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทภายหลังจากที่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1จนครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งคัดค้านเพียงว่าโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทคันพิพาทที่แท้จริงเป็นจำเลยที่ 2 แต่ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ทราบดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยุติและรับฟังได้เช่นนั้น โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายของชนิดนั้นโดยสุจริต โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 คือโจทก์ไม่ต้องคืนรถยนต์คันพิพาทแก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาส่วนสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทตามมาตรา 1336 ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1332ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะใช้สิทธิในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทเพื่อติดตามและเอาคืนซึ่งรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ไม่ได้เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะชดใช้ราคาที่โจทก์ซื้อมาให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ปฎิบัติต่อโจทก์ดังกล่าวโจทก์จึง ไม่จำต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีความรับผิดต้องชดใช้ราคารถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่เกิดมูลคดีจากการซื้อขายรถยนต์
มูลคดีที่เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้น
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ เนื่องจากจำเลยขายรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อไปโดยไม่ชอบ ซึ่งปรากฏจากคำฟ้องประกอบสัญญาซื้อขายรถยนต์เอกสารท้ายฟ้องว่าสัญญาเขียนที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้จะฟังว่าเป็นสถานที่ซึ่งมูลคดีระหว่างจำเลยกับผู้ซื้อได้เกิดขึ้น แต่หากจำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ก็เป็นต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิในมูลละเมิด อันทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้นขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นด้วย โจทก์ย่อมฟ้องคดีเรียกเงินอันได้จากการขายรถยนต์ที่พิพาทที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่อันเป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ไม่รับฟ้องในส่วนที่เรียกเงินอันเกิดจากการขายรถยนต์คันพิพาทจึงไม่ชอบ
ส่วนการซื้อขายรถยนต์ตามสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำสัญญาทำที่จังหวัดตาก โดยผู้จะซื้อเป็นคนละคนกับที่ซื้อคันแรก สัญญาทำกันคนละปีก็เป็นเรื่องการซื้อขายที่จังหวัดตาก มูลคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิมิใช่เกิดที่เขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์พิพาท สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการฟ้องแย้งเรียกคืนทรัพย์
การซื้อขายรถยนต์พิพาทเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคท้าย การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการดังกล่าว หากไม่มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำซื้อขายรถยนต์ เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดส่งมอบ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน 2535 จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้ การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้วคือเริ่มนับในวันที่ 1 ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินมัดจำซื้อขายรถยนต์ เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดส่งมอบรถ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน2535จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าวดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้วคือเริ่มนับในวันที่1ธันวาคม2535อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายยุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายรถยนต์ที่ถูกลักมา: ไม่เข้าอายุความสั้นสามเดือน แต่เข้าอายุความทั่วไปสิบปี
จำเลยไม่มีอำนาจขายรถยนต์ที่ถูกลักมาให้โจทก์เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ไปหากโจทก์และผู้ซื้อรถยนต์ต่อจากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจมีความผิดในทางอาญาและโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อเพราะโจทก์ผู้ขายไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อไปยังผู้ซื้อได้และไม่มีเหตุจะอ้างยึดถือเงินค่ารถยนต์ของผู้ซื้อไว้กรณีไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องความรับผิดของจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความสามเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา481แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา193/30ซึ่งมีอายุความสิบปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มิได้บอกกล่าวก่อนฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายรถยนต์แต่การที่ช. บุตรหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์โทรศัพท์แจ้งจำเลยว่ารถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปเพราะเป็นรถยนต์ที่ถูกลักมาจำเลยทราบแล้วนิ่งเฉยจนโจทก์ยื่นฟ้องถือได้ว่าได้ถูกโต้แย้งสิทธิแล้วคำฟ้องโจทก์เป็นการบอกกล่าวจำเลยอยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการซื้อขายรถยนต์และการโอนทะเบียน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นได้เอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยและสามีขายรถยนต์ให้โจทก์โดยวิธีผ่อนชำระ โจทก์ผ่อนชำระหมดแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยและสามีไม่ได้ขายรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ไม่เคยผ่อนชำระค่ารถให้จำเลยและสามี จำเลยและสามีขายรถยนต์ให้บุตรโจทก์ และบุตรโจทก์ยังชำระราคาไม่ครบ โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาคดีจึงไม่มีประเด็นที่ว่า โจทก์ผ่อนชำระราคารถยนต์ให้จำเลยและสามีหมดสิ้นแล้วหรือไม่ เมื่อศาลฟังว่าโจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยและสามีแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องโอนทะเบียนรถยนต์ให้โจทก์ ที่ศาลล่างยกประเด็นว่าโจทก์ชำระราคาครบถ้วนแล้วหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ถูกต้อง
ปัญหาว่า คำให้การจำเลยก่อให้เกิดประเด็นหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 6