คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฐานภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนลดทางการค้ากับภาษีมูลค่าเพิ่ม: การหักส่วนลดออกจากฐานภาษีและการไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าผู้ขายปลีกโดยหักส่วนลดทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป และลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกหรือผู้จำหน่ายอิสระจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มิใช่เป็นเงินได้ที่ได้รับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อส่วนลดที่โจทก์หักออกจากราคาสินค้าไม่ใช่ค่าจ้างหรือเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ จึงต้องถือว่าส่วนลดดังกล่าวเป็นส่วนลดตามปกติในทางการค้า การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออก ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนลดการค้าไม่ใช่ค่าจ้าง – ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และหักออกจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดให้ทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป ลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8) มิใช่เงินได้ที่ได้รับจากการรับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การคำนวณฐานภาษีจากค่าจ้างที่มีภาษีการค้าอยู่แล้ว และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
แม้หนังสือเสนอราคาที่โจทก์เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจะได้ระบุว่ามีค่าภาษีที่ต้องจ่ายรวมอยู่ด้วยและรายละเอียดและเงื่อนไขการจ่ายค่าจ้างแนบท้ายสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จะระบุว่า ค่างานหมายถึง เงินค่าก่อสร้างของงาน ซึ่งรวมค่าดำเนินการ ภาษี และกำไรด้วยก็ตามแต่ภาษีที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในขณะนั้นคงมีแต่ภาษีการค้าเท่านั้น ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทน จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้างด้วย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยโดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 24 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จำเลยในฐานะผู้รับบริการจึงต้องรับภาระชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในการที่โจทก์ขอเบิกจ่ายค่าก่อสร้างภายหลังมีการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 79 ระบุว่า ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตด้วยเมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้ารวมอยู่ด้วย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้ารวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำภาษีการค้าอัตราร้อยละ 3.3มาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงอัตราร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้างสุทธินั้นจึงชอบแล้ว
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 82/4 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสรรพสามิตกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร และฐานภาษีตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็คือโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีสรรพสามิต ของเจ้าพนักงานสรรพสามิตไม่ชอบนั่นเอง ประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงมีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ในการพิจารณาปัญหานี้จำเป็นที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายในเรื่องการเสียภาษีสรรพสามิตว่ามีอยู่อย่างไร คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรที่พิจารณาพิพากษาถึงภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเรื่องอยู่ในประเด็น หาใช่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกประเด็นไม่ คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐาน ในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุปมาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการ หาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้า ที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้า และกรณีบริการ กรณีของโจทก์โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วน ที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอก อีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่าผลิต ที่ระบุไว้ ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8(1) คือ ถือตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่า ต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบ เป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าประกันบริการโทรศัพท์เป็นเงินค่าบริการที่ต้องนำมารวมมูลค่าฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงินค่าประกันการใช้บริการโทรศัพท์ติดตามตัวซึ่งโจทก์เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นมีลักษณะเป็นเงินที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ตลอดระยะเวลาที่ผู้ใช้บริการยังคงใช้บริการโทรศัพท์ตามสัญญาที่มีอยู่กับโจทก์ โจทก์อาจนำไปหาประโยชน์อันมีมูลค่าได้ เพียงแต่มีหน้าที่ต้องคืนให้ผู้ใช้บริการเมื่อเลิกใช้บริการเท่านั้นแม้กระนั้นการคืนก็ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จะมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้ในกรณีที่ผู้ใช้บริการค้างชำระค่าใช้บริการอยู่ เงินดังกล่าวจึงต้องถือเป็นเงินค่าบริการซึ่งต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักการใช้ค่าเช่าและค่ารายปีที่ยุติแล้วเป็นฐาน
การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เป็นการประเมินของปี2537ส่วนค่าเช่าที่โจทก์อ้างถึงเป็นค่าเช่าที่โจทก์ทำสัญญากันไว้ในปี2532และสัญญาเช่าดังกล่าวมีอายุเพียงปีเดียวจึงเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จึงมีอำนาจทำการประเมินค่ารายปีได้ ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียวแต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมาเพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี2532จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลงพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536ไม่ชอบแม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตามก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536แล้วและปัญหายังมิได้ยุตินั้นเมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไปค่ารายปีของปี2536ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ไม่ต้องแสดงว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้นการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี2536ดังกล่าวประกอบทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96บาทต่อเดือนโดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคารซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเองมีค่ารายปีถังเฉลี่ยตารางเมตรละ70บาทต่อเดือนเมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าวมิได้กำหนดสูงเกินไปการกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา18บัญญัติว่า"ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา"เมื่อค่ารายปีของปี2536เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1กำหนดค่ารายปีของปี2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี2536เป็นหลักจึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการ: การตีความฐานภาษีที่ถูกต้องเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 และประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาทต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคาซี.ไอ.เอฟ. จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัยการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน 1,983,333.33 บาทตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานภาษีการพนัน: การตีความ 'ยอดที่ต้องเสีย' ใน พ.ร.บ.การพนัน และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข.จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจากฐานที่ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 18 ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 19ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว ดังนั้น การที่ มาตรา 16วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข.เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งเพื่อให้เป็นรายได้แก่เทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต โดยมิได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งจากฐานใดนั้น จึงหมายความว่าให้ผู้รับใบอนุญาตหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ดังกล่าวเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งแห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายหรือยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้วแล้วแต่ว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข.ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503)ตามความใน พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 กำหนดภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งไว้ในข้อ 12 วรรคหนึ่งว่า ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข.เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้วผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือการเล่นอย่างใด ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สวีปหรือขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือสวีปซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 16 หมายเลข 18และหมายเลข 20 ในบัญชี ข.เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และกำหนดในข้อ 12 วรรคสองว่า นอกจากภาษีดังกล่าวแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตเสียภาษีเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 16 วรรคสอง อีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่ต้องเสียเพื่อเป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต ดังนั้น คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503)ดังกล่าว จึงหมายถึงยอดที่เป็นฐานในการเสียภาษีตามวรรคหนึ่งคือยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย แล้วแต่ว่าเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข.นั่นเอง หาใช่ว่าการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นรายได้ของจำเลยจึงต้องเก็บจากยอดภาษีที่ต้องเสียโดยเทียบเคียงกับมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 และมาตรา 112 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2528 ไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ.2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 16แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั้นต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่ง ฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่าย ซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16 วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานภาษีเพิ่มร้อยละ 2.5 ตาม พ.ร.บ.การพนัน ต้องคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ไม่ใช่ยอดภาษีที่ต้องเสีย
ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจากฐานที่ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 18 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายและผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว ดังนั้น การที่มาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งเพื่อให้เป็นรายได้แก่เทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต โดยมิได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งจากฐานใดนั้น จึงหมายความว่าให้ผู้รับใบอนุญาตหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19ดังกล่าวเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งแห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายหรือยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว แล้วแต่ว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 กำหนดภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ไว้ในข้อ 12วรรคหนึ่งว่า ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดรายรับ ซึ่งหักรายจ่ายแล้วผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือการเล่นอย่างใด ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สวีปหรือขายสลากกินแบ่งสลากกินรวบหรือสวีปซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 16 หมายเลข 18 และหมายเลข 20 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และกำหนดในข้อ 12 วรรคสองว่า นอกจากภาษีดังกล่าวแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตเสียภาษีเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 16 วรรคสอง อีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่ต้องเสียเพื่อเป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต ดังนั้นคำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503)ดังกล่าว จึงหมายถึงยอดที่เป็นฐานในการเสียภาษีตามวรรคหนึ่งคือยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย แล้วแต่ว่าเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. นั่นเองหาใช่ว่าการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นรายได้ของจำเลยจึงต้องเก็บจากยอดภาษีที่ต้องเสียโดยเทียบเคียงกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 และมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั้น ต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่งฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่ายซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานภาษีเพิ่มร้อยละ 2.5 ตามมาตรา 16(2) พ.ร.บ.การพนัน คำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่าย
ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจากฐานที่ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 18 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายและผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว ดังนั้น การที่มาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งเพื่อให้เป็นรายได้แก่เทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต โดยมิได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งจากฐานใดนั้น จึงหมายความว่าให้ผู้รับใบอนุญาตหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19ดังกล่าวเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งแห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายหรือยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว แล้วแต่ว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 กำหนดภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ไว้ในข้อ 12วรรคหนึ่งว่า ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดรายรับ ซึ่งหักรายจ่ายแล้วผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือการเล่นอย่างใด ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สวีปหรือขายสลากกินแบ่งสลากกินรวบหรือสวีปซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 16 หมายเลข 18 และหมายเลข 20 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และกำหนดในข้อ 12 วรรคสองว่า นอกจากภาษีดังกล่าวแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตเสียภาษีเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 16 วรรคสอง อีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่ต้องเสียเพื่อเป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต ดังนั้นคำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503)ดังกล่าว จึงหมายถึงยอดที่เป็นฐานในการเสียภาษีตามวรรคหนึ่งคือยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย แล้วแต่ว่าเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. นั่นเองหาใช่ว่าการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นรายได้ของจำเลยจึงต้องเก็บจากยอดภาษีที่ต้องเสียโดยเทียบเคียงกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 และมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั้น ต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่งฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่ายซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
of 3