พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ กรณีเรียกร้องรายได้จากทรัพย์มรดก: รายได้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นดอกผลของที่ดิน ไม่ใช่มรดก
รายได้จากการกรีดยางของสวนยางมรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกแต่เป็นดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดกตกได้แก่เจ้าของที่ดินตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และ 1360 โจทก์ทราบดีว่าจำเลยได้นำน้ำยางไปจำหน่ายหารายได้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อน โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบรายได้ดังกล่าวแก่โจทก์เสียในคราวเดียวกัน แต่กลับมาฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากสวนยางหลังเจ้ามรดกเสียชีวิตไม่ใช่ส่วนแบ่งมรดก แต่เป็นดอกผลของทรัพย์สิน
รายได้จากการกรีดยางที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดก แต่เป็นดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดกตกได้แก่เจ้าของที่ดินตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336และ 1360 โจทก์ทราบดีว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้นำน้ำยางไปจำหน่ายหารายได้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนขอแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกและศาลฎีกาได้พิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยแบ่งที่ดินแก่โจทก์โดยที่ดินดังกล่าวเป็นสวนยางพารามีรายได้จากการกรีดยางตั้งแต่ขณะโจทก์ฟ้องคดี ก่อนซึ่งจำเลยได้เอาไว้เป็นประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบรายได้จากการกรีดยางดังกล่าวแก่โจทก์เสียในคราวเดียวกัน แต่กลับมาฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา: การพิจารณาว่าเป็นดอกผลหรือเบี้ยปรับ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเพราะมิได้นำสืบไว้ โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 240 และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.4 เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดเกิดขึ้นเมื่อชำระเงินครบถ้วนและจดทะเบียน ผู้ซื้อจึงมีสิทธิในดอกผล
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตามแต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา509เท่านั้นประกอบกับมาตรา515ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์และในมาตรา516ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีกหากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิมผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาดแต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิมก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ฉะนั้นแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้วแต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่17มีนาคม2537ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุดทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่1เมษายน2537การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าวเมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่5กันยายน2533ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าวผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าเช่าที่ดินหลังคดีกรรมสิทธิ์ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากเป็นดอกผลของทรัพย์สินพิพาท
แม้คดีก่อนมีประเด็นในเรื่องโจทก์ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยทั้งสองออกจากโฉนดที่พิพาทและให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และคดีนี้มีประเด็นเฉพาะเงินค่าเช่าห้องแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทที่จำเลยทั้งสี่ได้เรียกเก็บจากผู้เช่าระหว่างที่จำเลยที่ 4 ครอบครองที่พิพาทก็ตามแต่ค่าเช่าดังกล่าวเป็นดอกผลของที่พิพาทซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อโจทก์ฟ้องในคดีก่อนประเด็นในเรื่องกรรมสิทธิ์กับประเด็นในเรื่องค่าเช่า จึงเกี่ยวเนื่องจากมูลกรณีเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องในเรื่องค่าเช่าพร้อมกับฟ้องในเรื่องกรรมสิทธิ์ได้ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก โจทก์จะรื้อร้องฟ้องในเรื่องค่าเช่าซึ่งอยู่ในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเรื่องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าเช่าหลังคดีกรรมสิทธิ์ถึงที่สุด ไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากค่าเช่าเป็นดอกผลของที่ดินพิพาท
แม้คดีก่อนมีประเด็นในเรื่องโจทก์ขอแสดงกรรมสิทธิ์พิพาท โดยขอให้ถอนชื่อจำเลยทั้งสองออกจากโฉนดที่พิพาทและให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และคดีนี้มีประเด็นเฉพาะเงินค่าเช่าห้องแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทที่จำเลยทั้งสี่ได้เรียกเก็บจากผู้เช่าระหว่างที่จำเลยที่ 4 ครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่ค่าเช่าดังกล่าวเป็นดอกผลของที่พิพาทซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อโจทก์ฟ้องในคดีก่อนประเด็นในเรื่องกรรมสิทธิ์กับประเด็นในเรื่องค่าเช่าจึงเกี่ยวเนื่องจากมูลกรณีเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องในเรื่องค่าเช่าพร้อมกับฟ้องในเรื่องกรรมสิทธิ์ได้ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก โจทก์จะรื้อร้องฟ้องในเรื่องค่าเช่าซึ่งอยู่ในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเรื่องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าเป็นดอกผลจำนองได้เฉพาะที่มีสัญญาเช่าอยู่แล้ว ไม่ใช่ค่าเช่าที่คาดหวังในอนาคต
ค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยที่จะพึงบังคับจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 721 นั้น ต้องเกิดจากการเช่าที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่ใช่ค่าเช่าที่คาดหมายว่าอาจให้เช่าได้จำนวนหนึ่งโดยไม่มีการเช่าอยู่เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลจากการจำนองต้องเป็นค่าเช่าที่เกิดขึ้นจริงก่อนการบังคับจำนอง ไม่ใช่ค่าเช่าที่คาดหวังในอนาคต
ดอกผล แห่งทรัพย์สินที่จำนองซึ่งผู้รับจำนองจะบังคับเอาได้นั้น ถ้า เงินค่าเช่าที่ดินและบ้านที่จำนองอันเป็นดอกผล นิตินัยแล้วจะต้องเป็นการเช่า ที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่ใช่ไม่มีการเช่า อยู่เลยแล้วคาดหมายว่าอาจให้เช่า และได้ค่าเช่าจำนวนหนึ่งในภาคหน้า ฉะนั้นค่าเช่าที่ดินและบ้านที่จำนองซึ่งโจทก์คาดว่าจะได้ในภาคหน้า ดังกล่าวจึงไม่ใช่ดอกผล ที่โจทก์ผู้รับจำนองจะพึงบังคับจำนองเอาตาม ป.พ.พ.มาตรา 721 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในดอกผลจากไม้บนที่สาธารณสมบัติ: การครอบครองและการเก็บเกี่ยว
แม้ที่ดินเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันอันไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองหวงกันจากการใช้สอยของบุคคลอื่นแล้วในระหว่างราษฎรด้วยกันจำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่นเมื่อจำเลยปลูกไม้ยืนต้นลงในที่ดินที่ครอบครองดังกล่าวและเก็บเกี่ยวดอกผลตลอดมาดอกผลของไม้ยืนต้นนั้นจึงเป็นของจำเลยอันอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีโจทก์มีสิทธิยึดดอกผลธรรมดาของไม้ยืนต้นดังกล่าวได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2529).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลจากทรัพย์สินขายฝาก: สิทธิของผู้ซื้อฝากและข้อยกเว้นจากการตกลงเพิ่มเติม
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ก็ให้ถือเป็นอันว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลยนั้นหมายถึงเฉพาะตัวทรัพย์สินเท่านั้นแต่ไม่รวมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินด้วย เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่าจะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่าจะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด