พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน: การคิดดอกเบี้ยเริ่มนับแต่วันที่ระบุในตั๋ว แม้ไม่มีการบอกกล่าว
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุวันออกตั๋วคือวันที่ 30 กันยายน 2540 วันถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 31 ตุลาคม 2540 กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ BBL MOR +1 ต่อปี เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ และมิได้ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968, 985 เมื่อถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามก่อนแต่อย่างใด เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ผู้รับโอนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมจึงมีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้จากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิต: การบอกล้างสัญญาและการคิดดอกเบี้ยผิดนัดเริ่มนับแต่วันบอกล้าง
ผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตาย วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยผู้รับประกันภัยมีหนังสือลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ถึงโจทก์ผู้รับประโยชน์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตและปฏิเสธการจ่ายเงินสินไหมมรณกรรม จึงเป็นการผิดสัญญาและถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันผู้เอาประกันถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา, ดอกเบี้ยผิดนัด, อายุความ 10 ปี, สิทธิเรียกร้องหนี้เบี้ยปรับ
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาระบุเพียงว่า หากผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดนัดยินยอมใช้เงิน 400,000 บาท โดยมิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาและจะต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นหนี้เงินจึงอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างผิดนัด เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้ชำระเงินในวันที่ 12 เมษายน 2542 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงถือว่าผิดนัดต้องรับผิดดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลและการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด: การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องไม่เงื่อนไข และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันผิดนัดจริง
ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดให้คู่ความที่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องแสดงเหตุผลที่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำแถลงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยระบุใจความว่า จำเลยขอโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา จึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นเกษียณสั่งคำแถลงฉบับนี้ว่ารวมเป็นคำแถลงเท่านั้น ย่อมเป็นการสั่งรับคำแถลงแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นเกษียณต่อไปว่า "หากจะโต้แย้งคำสั่งศาลจะต้องมีเหตุผลที่อ้างว่าด้วยเหตุใดหรือเพราะอะไรจึงโต้แย้ง กรณีแถลงมาลอยๆ มิใช่ใช้สิทธิโต้แย้ง" นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของศาลชั้นต้นเท่านั้นจึงต้องถือว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้วตามคำแถลงฉบับดังกล่าว ชอบที่จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
โจทก์มีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2541 โดยให้โอกาสจำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 22 เดือนเดียวกันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2541 จำเลยไม่ชำระหนี้ตกเป็นการผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2541 อันเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
โจทก์มีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2541 โดยให้โอกาสจำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 22 เดือนเดียวกันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2541 จำเลยไม่ชำระหนี้ตกเป็นการผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2541 อันเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาดูแลนักเรียนต่างประเทศ, ค่าเล่าเรียน, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, อัตราแลกเปลี่ยน, การคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาตกลงยินยอมเป็นนักเรียนในความดูแลของโจทก์ตามสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. มีจำเลยที่ 2 บิดาและ ก. มารดาทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่ในความดูแลของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาให้จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสถานศึกษาและยินยอมที่จะจัดส่งค่าใช้จ่ายตามที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายแทนไปก่อน จำเลยที่ 1 ได้เข้าเรียนในประเทศอังกฤษ เมื่อปิดการศึกษา จำเลยที่ 1 เดินทางกลับประเทศไทย และรายงานตัวต่อโจทก์ ที่สำนักงานประเทศไทยว่าจะกลับไปเรียนต่อ ต่อมา ก. ได้ทำบันทึกถึงโจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายโรงเรียน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองทำหนังสือแจ้งยกเลิกการไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษถึงโจทก์ โจทก์ได้ชำระค่าเล่าเรียนแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว และระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยทั้งสองได้เบิกค่าใช้จ่ายให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. และสัญญาฝากและออกค่าใช้จ่ายที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์ระบุว่า กรณีผิดนัดชำระหนี้ให้โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาดังกล่าว กรณีนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน: การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ใช่เบี้ยปรับ
ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 นะบุว่า ในระยะ 3 ปีแรกนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มึสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราคงที่หลังจากนั้นโจทก์จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดแล้ว โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นจึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงจึงชอบด้วยมาตรา 383
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานแล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับ เป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานแล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับ เป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเบี้ยปรับได้ ศาลลดเบี้ยปรับได้ตามความเหมาะสม และการฟ้องหนี้อนาคตทำไม่ได้
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ 3 ปี หลังจากนั้นโจทก์จึงจะมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดเมื่อใดให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดซึ่งเป็นเวลา 1 ปีเศษ นับแต่วันทำสัญญากู้เงินอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงิน ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัด โจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น จึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์ส่งเป็นพยาน แล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้องหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์ส่งเป็นพยาน แล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้องหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญา L/C และการมอบอำนาจบอกกล่าวบังคับจำนอง
จำเลยที่ 1 ทำคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อโจทก์เพื่อสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท น. ผู้ขายในประเทศญี่ปุ่น โดยให้ผู้ขายเรียกเก็บค่าสินค้าจากสาขาหรือตัวแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ตกลงใช้เงินคืนให้แก่โจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บ เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลย ในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัด ซึ่งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าฐานผิดสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับในรูปดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 นั้นเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน โดยเมื่อคำนึงถึงทางได้เสียของธนาคารโจทก์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรให้ลดลงตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 โดยให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เก็บจากลูกค้าทั่วไป ตามประกาศธนาคารโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามประกาศธนาคารโจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้" บทบัญญัติมาตรา 728 ดังกล่าวหาได้มีลักษณะให้การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการที่ผู้รับจำนองต้องทำเองเฉพาะตัวไม่ เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวไว้ตามใบไปรษณีย์ตอบรับแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบด้วยบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้" บทบัญญัติมาตรา 728 ดังกล่าวหาได้มีลักษณะให้การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการที่ผู้รับจำนองต้องทำเองเฉพาะตัวไม่ เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวไว้ตามใบไปรษณีย์ตอบรับแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบด้วยบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัด: การคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารและอัตราดอกเบี้ยทั่วไปหลังฟ้อง
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ข้อ 5 ระบุว่าไม่ให้นำประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับนี้มาใช้บังคับแก่กรณีการให้สินเชื่อโดยตกลงกันเป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ย่อมมีผลทำให้ธนาคารโจทก์ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในการเรียกดอกเบี้ยจากเงินสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับนี้เท่านั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมมีอิสระในการตกลงอัตราดอกเบี้ยกันเองได้ โดยจะตกลงกันใช้อัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารโจทก์ในเรื่องนี้ก็ได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 สูงกว่าที่ตกลงกันไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับ กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญา มิใช่เป็นการเรียกเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ได้ ส่วนหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยไม่ชำระเงินจำนวน 126,810 ดอลลาร์สหรัฐ ที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยในสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดไว้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวในระหว่างผิดนัดได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เท่านั้น
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 สูงกว่าที่ตกลงกันไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับ กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญา มิใช่เป็นการเรียกเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ได้ ส่วนหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งจำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยไม่ชำระเงินจำนวน 126,810 ดอลลาร์สหรัฐ ที่โจทก์จ่ายไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว โดยในสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดไว้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวในระหว่างผิดนัดได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดต้องเริ่มนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระจริง และค่าขึ้นศาลไม่ใช่หนี้ที่ขอรับชำระในคดีล้มละลายได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง กำหนดแจ้งชัดว่า หนี้ที่จะขอรับชำระได้ต้องเป็นหนี้ที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น แม้ว่าหนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้หรือเป็นหนี้ที่ยังมีเงื่อนไขในการชำระหนี้ก็ตาม แต่จำนวนเงินค่าขึ้นศาลที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้เป็นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องชำระแก่ศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 เพื่อเจ้าหนี้จะได้ใช้สิทธิดำเนินคดีทางแพ่งต่อลูกหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น และเงินจำนวนนี้ไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระแก่เจ้าหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 แล้ว จึงมิใช่มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ได้