คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีบุกรุกทิ้งขยะซ้ำกับคดีดำเนินกิจการเก็บขนขยะโดยไม่ได้รับอนุญาต
ระยะเวลาเกิดเหตุและสถานที่เกิดเหตุในความผิดข้อหาดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับความผิดตามฟ้องคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ โดยจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้เสียหาย และนำขยะไปทิ้งในที่ดินดังกล่าวตรงกัน อีกทั้งการกระทำของจำเลยในทั้งสองคดีเป็นครั้งเดียวกัน แม้ฐานความผิดจะต่างกัน ก็เป็นความผิดกรรมเดียว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดข้อหาดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจนศาลพิพากษาลงโทษปรับและคดีถึงที่สุดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก แม้จะไม่อ้างบทลงโทษตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุขฯ ก็เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ การนับวันเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
เมื่อกรรมการของจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2543 และสำนักงานของจำเลยถูกปิด ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ไม่สามารถเข้าไปทำงานในสำนักงานได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างดังที่โจทก์อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ศาลต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
คดีแดงที่ 3812 - 3826/2542
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและการจ่ายเงินชดเชย แม้จะดำเนินกิจการต่อเพียงสั้น ๆ ก็ตาม
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาทคืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567-2568/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกมูลนิธิเนื่องจากกรรมการไม่ครบองค์ประชุมและไม่สามารถหาเสียงข้างมากได้ตามกฎหมาย
การดำเนินกิจการของมูลนิธิต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 แต่กรรมการมูลนิธิบางคนตายคงเหลือเพียง 2 คน และไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ตามมาตรา 131(3) จึงต้องเลิกมูลนิธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948-10129/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ถือเป็นผลจากการไม่สามารถดำเนินกิจการได้ และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนอกจากจะหมายถึงการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้แล้วยังหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปอีกด้วย คดีนี้จำเลยจ้างโจทก์มาเพื่อจะให้ทำงานให้แก่จำเลยหมายความว่าจำเลยดำเนินกิจการมีงานที่จะมอบหมายให้โจทก์ทำตามที่จ้างและในขณะเดียวกันจำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยจำเลยมีเงินที่จะจ่ายค่าจ้างได้เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2538ถึงวันที่20ธันวาคม2538ไม่ว่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำหรือเพราะเหตุอื่นใดและโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีเงินจะจ่ายให้การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมอยู่ในความหมายที่ว่าเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ซึ่งถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่จำต้องคำนึงว่าในเวลาภายหน้าจำเลยจะมีงานให้โจทก์ทำและมีเงินจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่ละคนหรือไม่ ปัญหาว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่2จะไม่ได้ให้การไว้จำเลยที่2ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31 แม้จำเลยที่2จะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ก็ตามแต่จำเลยที่1เป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลจำเลยที่2เป็นกรรมการและเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ความรับผิดของจำเลยที่2ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77ประกอบมาตรา820กล่าวคือเมื่อจำเลยที่2กระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่1ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างค้างจ่ายของโจทก์มีการพิมพ์จำนวนเงินผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7421/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจร่วมดำเนินกิจการ: การใช้ตราบริษัทของจำเลยที่ 1 หลังจดทะเบียนแล้ว แสดงถึงการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2
ขณะโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้า ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหลังจากมีการมอบอำนาจแล้ว 4 วันและตามหนังสือมอบอำนาจมีตราของห้างจำเลยที่ 1 ประทับไว้ที่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แสดงว่าโจทก์ ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 2 ด้วยมิใช่เป็นเรื่องมอบอำนาจระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยเฉพาะเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินต้องมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่เจ้าของทรัพย์ การชำระค่าเช่าและผลประโยชน์จากการดำเนินกิจการไม่ใช่หนี้ลักษณะดังกล่าว
โจทก์กับ อ. ได้ร่วมกันเปิดศูนย์ภาษาขึ้นที่ตึกแถวของจำเลยโจทก์กับ อ. ตกลงกับจำเลยว่า โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการทั้งหมดและจะจ่ายผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของสถานที่ร้อยละ 30 ของรายได้ที่ได้รับ โจทก์ได้ซื้อเครื่องใช้ประจำสำนักงานชนิดต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ ตามบัญชีทรัพย์พิพาทรวมราคา 19,915 บาท เพื่อนำมาใช้ในตึกแถวโจทก์จึงเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากบุคคลภายนอก เพื่อใช้ในการประกอบกิจการของศูนย์สอนภาษาโดยไม่มีหนี้อันเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทนั้นแต่อย่างใดส่วนค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่จะต้องแบ่งให้จำเลยที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยอยู่นั้น ก็เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของศูนย์สอนภาษา เพื่อประโยชน์ในการจัดการให้บริการแก่ลูกค้าที่มาติดต่อเท่านั้น หาใช่หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์พิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454-4455/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างอันเนื่องมาจากการถูกยึดทรัพย์สินของนายจ้าง ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
การที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยและของกรรมการผู้จัดการของจำเลยไว้ทั้งหมด ตามมาตรา 8 วรรคแรกแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 นั้นจำเลยย่อมไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อไปว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำและจำเลยก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งดังกล่าวถึงวันฟ้องเป็นเวลา 3 เดือนเศษจำเลยจึงอยู่ในฐานะที่ไม่มีความสามารถจะจ้างโจทก์ที่ 2 ไว้เป็นลูกจ้างของจำเลยต่อไปได้กรณีถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ที่ 2 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454-4455/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากคำสั่งยึดทรัพย์สินของบริษัท ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยและของกรรมการผู้จัดการของจำเลยไว้ทั้งหมด ตามมาตรา8วรรคแรกแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 นั้นจำเลยย่อมไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อไปว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำและจำเลยก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งดังกล่าวถึงวันฟ้องเป็นเวลา 3 เดือนเศษจำเลยจึงอยู่ในฐานะที่ไม่มีความสามารถจะจ้างโจทก์ที่ 2 ไว้เป็นลูกจ้างของจำเลยต่อไปได้กรณีถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ที่ 2 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2
of 2