คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดูแลรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของพนักงานสอบสวนในการดูแลของกลาง ทำให้ของกลางสูญหาย จำเลยต้องรับผิด
รถบรรทุกและข้าวสารบนรถบรรทุกของโจทก์ถูกยึดไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดีอาญาโดยจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน มีหน้าที่ดูแลรักษารถบรรทุกและข้าวสารของกลางไว้ระหว่างสอบสวนโดยต้องใช้ความระมัดระวังดูแลเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนเอง เฉพาะอย่างยิ่งมีข้าวสารบรรจุกระสอบถึง 200 กระสอบ มูลค่าหลายแสนบาทบรรทุกอยู่บนรถจะต้องระมัดระวังยิ่งขึ้นมิให้สูญหายหรือได้รับความเสียหาย การที่จำเลยที่ 3 นำรถบรรทุกไปจอดในรั้วของสถานีตำรวจได้ เป็นเพียงการนำรถบรรทุกไปจอดไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการดูแลรักษาทรัพย์สิน แม้จะได้เก็บกุญแจรถไว้ แล้วเอาโซ่และกุญแจล็อกระหว่างพวงมาลัยกับคลัตซ์และได้ตรวจดูบ่อยๆ แต่การจอดรถบรรทุกไว้ข้างถนนโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควรย่อมเปิดโอกาสให้คนร้ายลักรถบรรทุกและข้าวสารไปได้โดยง่าย จำเลยที่ 3 จึงมิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลรถบรรทุกและข้าวสารเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถบรรทุกและข้าวสารสูญหายไปถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดูแลที่สาธารณประโยชน์: ป.ที่ดินไม่ตัดอำนาจหน้าที่นายอำเภอตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
ความในมาตรา 8 แห่ง ป.ที่ดิน หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จึงให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินที่จะดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้ แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ได้มี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122บัญญัติไว้ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62วรรคสาม เห็นได้ว่า ป.ที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนั้น การสอบสวนและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของนายอำเภอจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: ขอบเขตการใช้ทาง, การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต, และการดูแลรักษาทาง
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางภาระจำยอม ส่วนบริษัท ท. เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็น ผู้แทนของบริษัท การที่จำเลยทั้งสองยอมให้รถยนต์ของบริษัทและรถยนต์ของผู้มาติดต่อธุรกิจกับบริษัทจอดในทางภาระจำยอมนั้นในลักษณะปิดกั้น หรือกีดขวางการใช้ทางดังกล่าวเข้าออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทาง ภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตาม ป.พ.พ. ม. 1390 โจทก์มีสิทธิ ห้ามจำเลยทั้งสองประกอบกรรมดังกล่าวได้
แม้คำขอจดทะเบียนทางภาระจำยอมจะระบุให้ใช้เป็นทางเดิน แต่เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปมีการสัญจรตามถนนและตรอกซอกซอยด้วยรถยนต์เป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับทางเท้า อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็ใช้รถยนต์ในทางภาระจำยอมเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ใช้รถยนต์ผ่านทางภาระจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเท้า ย่อมเป็นการใช้ทางภาระจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภาระจำยอมตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามีจำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภาระจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษาทางภาระจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นแก่ทางภาระจำยอมนั้น ส่วนเสาไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสองขอให้รื้อถอนเป็นเสาไฟฟ้าถาวร ที่โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพิ่มแทนเสาไฟฟ้าเดิม ซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง หาได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าทั้งสองต้นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม-การใช้ประโยชน์-การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์-การดูแลรักษาทางภารจำยอม
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางภารจำยอมและบริษัท ท. เป็นนิติบุคคลต้องมีผู้แทนดำเนินกิจการ จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจึงอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทในการประกอบกิจการ การที่จำเลยทั้งสองยอมให้รถยนต์ของบริษัทและรถยนต์ของผู้มาติดต่อธุรกิจกับบริษัทจอด ในทางภารจำยอมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองในลักษณะปิดกั้น หรือกีดขวางการใช้ทางดังกล่าวเข้าออกทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทางภารจำยอมย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือ เสื่อมความสะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390
โจทก์ใช้รถยนต์ผ่านทางภารจำยอมซึ่งเดิมเคยใช้เป็นทางเดินเท้าย่อมเป็นการใช้ทางภารจำยอมสัญจรตามปกติ ไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388
เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์เข้าออกทางภารจำยอมโดยเสมอหน้ากัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ใช้ว่ามี จำนวนมากหรือน้อย เหตุนี้การใช้รถยนต์เข้าออกเป็นจำนวน 200 คัน ผ่านทางภารจำยอม หากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ยังดูแลรักษา ทางภารจำยอมมิให้เกิดความเสียหาย ก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ทางภารจำยอมนั้น
โจทก์ขอให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเพื่อแทนเสาไฟฟ้าเดิมซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงและความเจริญของบ้านเมือง ไม่ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิปักเสาไฟฟ้าดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์: การส่งมอบทรัพย์สินเพื่อการดูแลรักษา แม้ไม่ได้ส่งมอบกุญแจก็ถือเป็นการฝากทรัพย์ได้
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถ จึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ ประกอบกับฝ่ายจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ที่นำรถมาฝาก แล้วฝ่ายจำเลยมอบบัตรให้มีข้อความว่า "ธ. ไฟบริการ รับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ (กรุณาอย่าทำบัตรหาย)" โดยมีหมายเลขกำกับ อันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลยดังนี้ มีผลเท่ากับว่า ฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของฝ่ายจำเลยแล้วการที่ไม่ได้มอบลูกกุญแจให้ไว้ด้วย หาใช่สาระสำคัญไม่ การปฏิบัติระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย เป็นการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการยึดของกลางต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการดูแลรักษาทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรใหญ่ และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน คนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควร เป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหาย กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วย จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดูแลรักษารถยนต์ที่ได้รับความเสียหายขณะครอบครอง และข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้าง เมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ส. ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ ส. เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อ ส. มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามเสียก่อน โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจาก ส.จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยบริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้นหมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ เมื่อจำเลยครอบครองรถยนต์ เนื่องจากรับจ้าง ส. ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะกรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดูแลรักษารถยนต์ที่ได้รับมอบหมาย และข้อยกเว้นการไล่เบี้ยตามกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้างเมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากส. ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ส. เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อส. มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามเสียก่อนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากส.จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยบริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้นหมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะเมื่อจำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้างส. ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะกรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลจากเหตุละเมิด และขอบเขตค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องได้
บิดามารดาโจทก์เดินทางไปเฝ้าดูแลโจทก์ขณะที่โจทก์พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เนื่องจากโจทก์ช่วยตัวเองไม่ได้แพทย์ไม่ให้เคลื่อนไหวเพราะหากหกล้มจะเป็นอัมพาต จำเป็นต้อง มีผู้ดูแล ค่าเดินทางและค่าที่พักที่บิดามารดาโจทก์ใช้จ่ายไป จึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการรักษาพยาบาลโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ ค่าขาดประโยชน์ที่บิดามารดาโจทก์ไม่ได้ประกอบการงานในระหว่างที่เฝ้าดูแลรักษาโจทก์ มิใช่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงเรียกร้องได้จากผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444,445 และ 446

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ดูแลสายไฟฟ้าใต้ดิน การตรวจสอบดูแลรักษา และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลสายไฟฟ้าใต้ดิน และอุปกรณ์ไฟฟ้าบริเวณทางเท้า ตรงทางเท้าที่เกิดเหตุมีรอยแตกแยกชำรุดและเมื่อขุดลงไปปรากฏว่าสายไฟฟ้าที่เกิดเหตุฝังลึกเพียง20 เซนติเมตร ซึ่งตามปกติจะฝังลึกจากพื้นดินประมาณ 60 เซนติเมตรและมีรอยชำรุดโดยไม่มีฉนวนหุ้มเมื่อขุดและยกสายไฟฟ้าขึ้นสายไฟฟ้าใต้ดินได้หลุดออกจากกันหากสายไฟฟ้าไม่ชำรุดถึงแม้น้ำจะท่วมสูงขนาดไหนไฟฟ้าก็จะไม่ลัดวงจร ทั้งจำเลยมีเครื่องเมกเกอร์สำหรับตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วหลังเกิดเหตุแล้วได้ใช้เครื่องดังกล่าวเพียงครั้งเดียว ก่อนหน้านั้นไม่เคยใช้ตรวจเลย หากจำเลยใช้เครื่องดังกล่าวตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วที่สายเคเบิ้ลใต้ดินบ่อย ๆ จำเลยอาจป้องกันแก้ไขกระแสไฟฟ้ารั่วได้ และหลังเกิดเหตุแล้วการไฟฟ้านครหลวงได้มีหนังสือถึงจำเลยแนะนำให้เดินสายไฟฟ้าในบริเวณที่เกิดเหตุใหม่ โดยให้เดินในท่อเหล็กขนาดหนา ดังนี้การที่บุตรโจทก์เดินไปบริเวณทางเท้าที่มีน้ำท่วมขังและถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนถึงแก่ความตายจึงเป็นเหตุที่อาจป้องกันได้ หากจำเลยจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองดูแลสายไฟฟ้าที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพแต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ ทั้งที่มีเครื่องมือสามารถตรวจสอบได้เหตุที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะอ้างเพื่อบอกปัดความรับผิดได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
of 4