คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัดไม้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่อยู่ในนิยาม 'ป่า' การตัดไม้ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 3(2) จึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1)การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก.ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดดังกล่าวข้างต้นการที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานป่าไม้ละเลยหน้าที่ตรวจสอบคำขอตัดไม้ ทำให้เกิดความเสียหาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ท้องที่เกิดเหตุโดยหน้าที่ราชการจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาคำขอและตรวจสอบที่ดินของผู้ยื่นคำขอเสียก่อน สภาพที่ดินเป็นทุ่งนาไม่มีต้นไม้ ส่วนตอไม้ที่พบนั้นอยู่ในที่ดินที่มีหลักฐานเป็นใบจอง เจ้าของที่ดินก็ไม่เคยยื่นคำขอนำไม้ ถ้าจำเลยตรวจสอบและเรียกเจ้าของที่ดินที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ยื่นคำขอนำไม้ มาสอบถามก็จะทราบความจริงว่าคำขอนั้นเป็นเท็จและจำเลยก็ไม่เคยสอบถามคณะกรรมการตรวจสอบไม้ว่า ผู้ยื่นคำขอมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยแท้จริงหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าพนักงานป่าไม้
ทางราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทยได้ตราระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้แล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจและอนุญาตให้ตัด การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กระทำหรือยอมให้น้องชายจำเลยนำดวงตราประทับไม้ประจำตัวจำเลยไปกระทำการตีรอยตราดังกล่าว เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปโดยความสำคัญผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ตัดไม้ในเขตป่าสงวนฯ แม้ฟ้องแยกกรรม แต่เจตนาเดียว โทษฐานทำไม้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกันแต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน38ต้นแล้วทอนออกเป็นท่อนได้250ท่อนและใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้นจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14,31วรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ศาลตัดสินลงโทษฐานตัดไม้เป็นบทหนักสุด
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา ๑๑, ๔๘, ๗๓ แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา ๗๓ วรรคสอง แต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา ๗๓ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ลงโทษฐานหนักสุดตามกฎหมาย
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกันแต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้พ.ศ. 2484 และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา24 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง แต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและบทหนักที่สุด
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง แต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา24 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับตราไม้และการพิสูจน์ความผิดฐานตัดไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกายกฟ้องจำเลยทั้งหมด
ป่าที่เกิดเหตุเป็นเขตที่ดินจัดสรรซึ่งจะให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยกรมป่าไม้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดให้ดำเนินการอนุญาตให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นผู้ทำไม้ออกจากป่า.ป่าไม้จังหวัดมีคำสั่งให้จำเลยที่3พนักงานป่าไม้ประจำสำนักงานป่าไม้อำเภอไปดำเนินการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากเมื่อจำเลยที่3ประทับตราชักลากที่ไม้ซึ่งมีรอยตราอนุญาตให้ตัดฟันจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157และเป็นเหตุในลักษณะคดีซึ่งต่อเนื่องไปถึงความผิดของจำเลยที่1ซึ่งได้รับอนุญาตจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ให้ทำไม้ออกจากป่าและจำเลยที่2พนักงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ผู้ควบคุมการทำไม้ให้ไม่มีความผิดไปด้วยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่1ที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213,225.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยเหลือผู้กระทำผิดตัดไม้ในเขตป่าสงวน มีความผิดตามมาตรา 200
จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ จึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสืบสวนสอบสวนความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนได้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ตำรวจเป็นผู้ทำการสอบสวนฝ่ายเดียวนั้นเป็นแต่ระเบียบภายในกระทรวง หาได้ลบล้างอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติด้วยตนเองได้ทั้งผู้ต้องหาและไม้กับรถยนต์มาเป็นของกลาง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้สิบตำรวจเอกพ. ทำบันทึกว่าได้แต่ไม้ของกลางอย่างเดียว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะช่วยผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษและในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น จำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้สั่งการและรู้เห็นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 จำเลยที่ 2 เป็นป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมไปจับกุมผู้ต้องหากับจำเลยที่ 1 ด้วย ชั้นแรกจำเลยที่ 2 ได้ให้สิบตำรวจเอก พ. เขียนบันทึกการจับกุมว่าได้ผู้ต้องหา 7 คน แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้ทำบันทึกการจับกุมขึ้นใหม่ว่าจับผู้ต้องหาไม่ได้เลย และให้ผู้ร่วมจับกุมรวมทั้งจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ การที่จำเลยที่ 2 ยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุมฉบับหลังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แล้วว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนต่างทราบแล้วว่า ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนที่ถูกจับมาต้องหาว่ากระทำผิดฐานลักลอบตัดไม้ในป่า แต่แทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 กลับตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเหล่านี้ว่ากระทำผิดฐานขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวและให้จำเลยที่ 4 ทำการเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยผู้ต้องหาและรถของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และที่จำเลยที่ 3ที่ 4 อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นเมื่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วจึงจะอ้างมาเป็นเหตุยกเว้นโทษหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 เป็นสารวัตรใหญ่ซึ่งทราบดีว่าในการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้รายนี้ นอกจากไม้แล้วยังได้ตัวผู้ต้องหาและได้รถยนต์บรรทุกไม้มาเป็นของกลางด้วย แต่จำเลยที่ 5กลับบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้กระทำผิดและให้มีการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่มิใช่ข้อหาเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และเป็นผู้สรุปความเห็นให้งดการสอบสวนเสนอต่อผู้กำกับการตำรวจว่าจับไม้ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิด ได้แต่ไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ช่วยเจ้าของรถยนต์เจ้าของไม้ และช่วยผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้าม, การตัดไม้, แปรรูปไม้, การครอบครองไม้แปรรูป: การบังคับใช้กฎหมายป่าไม้และการรอการลงโทษ
ไม้ยางไม่ว่าจะขึ้นอยู่ใดในราชอาณาจักร ย่อมเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. แม้จะเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินของจำเลย การทำไม้ยางก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น
การแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ไม่ว่าไม้นั้นจะขึ้นอยู่ในที่ใด ถ้าได้กระทำในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่
พระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับหลังที่ให้ยกเลิกข้อความมาตราใดในพระราชบัญญัติฉบับเดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทนนั้น ไม่ใช่เป็นการยกเลิกกฎหมาย แต่เป็นการแก้ไขแม้ศาลจะมิได้กล่าวถึง พระราชบัญญัติฉบับหลัง ที่ให้แก้ไขมาตราดังกล่าว ก็ต้องบัญญัติตามข้อความที่แก้ไขใหม่นั้น
การตัดฟันทำไม้แปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองแม้เป็นการกระทำแก่ไม้ต้นเดียวกันแต่เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระจึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน
การที่ศาลเรียงกระทงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี รวม 3 กระทง เป็นเวลา 3 ปีนั้น เมื่อโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี ศาลก็รอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้
of 5