คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัวแทนจำหน่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรับผิดชอบหนี้ซื้อขาย แม้รับเงินจากผู้ซื้อโดยตรง การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยส่ง ณ สถานที่ที่จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 ตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาเป็นตัวแทนจำหน่ายและการรับผิดในสัญญาซื้อขายรถยนต์
จำเลยที่ 1 อ้างแก่โจทก์ว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการขายรถยนต์ จำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือรับรองการจำหน่ายรถยนต์ซึ่งหัวกระดาษเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และลูกค้าทั่ว ๆ ไป ที่มาซื้อรถยนต์ จำเลยที่ 2 ทราบแต่ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งห้ามจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์พิพาทขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้อง รับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่าย, การแสดงเจตนาเป็นตัวแทน, ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก, การซื้อขายรถยนต์, สัญญา
โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 แจ้งว่าหลักฐานทางทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนนั้นอยู่ที่จำเลยที่ 2 ต้องรอให้จำเลยที่ 2ส่งมาก่อนเนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือรับรองการจำหน่ายรถยนต์ซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ ดังนี้ ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จะต้องทำการค้ารถยนต์กันมานานหากจำเลยที่ 1 ออกใบรับรองซึ่งหัวกระดาษเป็นชื่อของจำเลยที่ 2ให้แก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป จำเลยที่ 2 น่าจะทราบ หากจำเลยที่ 2 ไม่เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2แล้ว จำเลยที่ 2 ก็น่าจะต้องทักท้วงหรือสั่งห้ามจำเลยที่ 1ไม่ให้กระทำเช่นนั้น การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1จะนำรถยนต์พิพาทไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 อีกเช่นกัน เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 อีกเช่นกัน เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 2 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้แก่โจทก์จึงไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1ไม่ต้องรับผิดชอบส่งมอบหลักฐานใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าหลังซื้อจากตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า หากผู้ผลิตได้ประโยชน์จากการขายแล้ว
เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยน ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายเช็ค-ใบเสร็จผูกพันนายจ้าง: ความรับผิดร่วมกันกรณีพนักงานยักยอกเงิน
จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์ตราไปรษณียากรที่ระลึกเพื่อการสะสมออกจำหน่ายโดยมีจำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1มีหน้าที่จำหน่ายและรับสั่งจองจากผู้ซื้อ โจทก์ติดต่อสั่งจองซื้อจากจำเลยที่ 2 และมอบเช็คเงินสดให้จำเลยที่ 2แม้โจทก์สั่งจ่ายเช็คเงินสดให้แก่ผู้ถือแทนที่จะสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จะผิดระเบียบ แต่ถ้าผู้รับสั่งจองคือจำเลยที่ 2 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ก็จะจัดส่งตราไปรษณียากรที่ระลึกให้โจทก์ ปัญหาจึงเกิดจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงิน จึงปฎิเสธการกระทำของจำเลยที่ 2หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินก็จะไม่ปฎิเสธโดยอ้างว่าเป็นใบเสร็จรับเงินปลอมหรือจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนืออำนาจเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบระเบียบแล้วจงใจฝ่าฝืน โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการสั่งซื้อ เหตุเกิดจากจำเลยที่ 1มิได้ควบคุมดูแลการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเช็คที่รับไว้ไปเรียกเก็บเงินและนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการผิดระเบียบหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 รับสั่งจองซื้อและรับเช็คเงินสดจากโจทก์จึงเป็นการปฎิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 โดยชอบมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2รับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้น/ผลิตก่อนย่อมมีสิทธิเหนือตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 ป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้ารูปไก่และคำว่าCOCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8รายการสินค้าถ่านไฟฉาย ตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้นและจดทะเบียนเดิมมีสิทธิเหนือผู้เป็นตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้า รูปไก่และคำว่า COCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียน ไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8 รายการสินค้าถ่านไฟฉายตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้วต่อมาจำเลยที่ 2 นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอ จดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนจำหน่าย: จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค หากกระทำภายในขอบอำนาจ
สัญญาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมนั้น คู่สัญญาคือจำเลยที่ 1กับโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ด้วย เพียงแต่ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขการชำระราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะชำระเป็นเช็คและกำหนดตัวผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามของจำเลยที่ 1 ได้ คือจำเลยที่ 2 หรือที่ 3 และเช็คที่สั่งจ่ายต้องเป็นเช็คของธนาคารที่ระบุไว้ในข้อตกลงเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้ง 15 ฉบับ ตามฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงกระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 กระทำนอกเหนือขอบอำนาจในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น ไม่มีข้อความในคำฟ้องที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3รับผิดตามเช็คที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย และเมื่อมีการชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 2 เพียงว่า จำเลยทั้งสามซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมตามฟ้อง แล้วค้างชำระราคา จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชำระค่าสินค้าและค่าปรับแก่โจทก์ดังฟ้องหรือไม่ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 หรือไม่จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามข้อตกลงตัวแทนจำหน่าย สิ้นสุดเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า เคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่า เคอนิก (KOENIG) เป็นชื่อของจำเลยที่ 1โดยชอบอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อบริษัทที่สอดคล้องกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น และการยกเลิกสิทธิเมื่อไม่เป็นตัวแทนจำหน่าย
จำเลยที่1ใช้คำว่าเคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่1เมื่อชื่อของจำเลยที่1ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่1และจำเลยที่2ให้จำเลยที่1ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่2เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่1ดังนั้นเมื่อจำเลยที่2มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่าเคอนิก(KOENIGX) เป็นชื่อของจำเลยที่1โดยชอบอีกต่อไป
of 4