คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตำรวจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่มิชอบเรียกรับเงินเพื่อปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม
เมื่อผลการตรวจค้นตัว ว. ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ว. ได้กระทำความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองต่อไปอีก จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจจับกุม ว. สมควรที่จำเลยที่ 1 จะต้องปล่อยตัว ว. ไป การที่จำเลยที่ 1 ยังจับกุม ว. จากศาลาท่าน้ำนำตัวไปไว้ที่สะพานข้ามคลองแสนแสบจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่คู่กับจำเลยที่ 1 โดยใช้รถจักรยานยนต์คันเดียวกับจำเลยที่ 1 และอยู่ด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่เริ่มตรวจค้นจับกุมจนกระทั่งปล่อยตัว ว. ขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นำ ว. ไปที่ใต้สะพานข้ามคลองแสนแสบโดย ว. นั่งกลาง จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายมีลักษณะควบคุมตัว ว. ไม่ให้หลบหนีทั้งระหว่างที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจนถึงรับเงินจาก ว. จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณเดียวกันนั้น เมื่อได้รับเงินแล้วจำเลยที่ 2 ก็นั่งรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9012/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: การส่งมอบยาให้ตำรวจถือเป็นความผิดฐานจำหน่าย แม้ยังไม่ได้รับเงิน
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 นิยามคำว่า "จำหน่าย" หมายความถึง ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ การที่จำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูโดยไม่รู้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แม้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะยังมิได้ส่งมอบเงินค่าเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว มิใช่เป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจแก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตำรวจในการจับกุมและสอบสวนนอกเขตท้องที่: ความผิดต่อเนื่องและเหตุความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสืบสวนนอกเขตท้องที่ของตำรวจ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมาตรา 17 บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญานอกเขตท้องที่ของตนได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนแล้วพบการกระทำความผิดในลักษณะซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจก็มีสิทธิจับผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าได้แม้อยู่นอกเขตท้องที่ของตน ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก5 ปี ฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปีรวมจำคุก 10 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้าม มิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งการที่จะวินิจฉัยว่าการค้นในที่รโหฐานของร้อยตำรวจโทน.กับพวกได้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตกหรือไม่ จำเป็นต้อง วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ลงมือค้น ตั้งแต่เวลาใด การฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเฮโรอีน: พยานหลักฐานแน่นหนาจากตำรวจและคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
พยานโจทก์ทุกปากเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ปรากฏว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อนจึงไม่มีเหตุระแวงว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยพยานผู้ร่วมจับกุมต่างเบิกความสอดคล้องต้องกันในเรื่องธนบัตรของกลางที่ให้สายลับใช้ ล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยมีการภ่ายภาพและลงหมายเลขไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งเป็นเอกสารทางราชการก่อนที่จะมอบให้สายลับไปดำเนินการเมื่อสายลับล่อซื้อเฮโรอีนมาได้พยานผู้ร่วมจับกุมได้ตรงไปยังบ้านจำเลยทันทีทำการตรวจค้นและพบธนบัตรดังกล่าวที่ตัวจำเลยขั้นตอนต่างๆเป็นไปในระยะเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องกันจำเลยเบิกความว่าธนบัตรของกลางได้จากกระเป๋ากางเกงของจำเลยที่สวมใส่อยู่ขณะถูกตรวจค้นจริงเป็นการเจือสมกับ พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบกับจำเลยได้ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้ชิดกับจำเลยถูกจับกุมคำรับของจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าที่ให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายมีแต่คำเบิกความลอยๆของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังได้น้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยไม่สามารถรับฟังหักล้างน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทหาร-ตำรวจไม่ใช่กฎหมาย การสอบสวนไม่เสีย แม้ผิดข้อตกลง ริบของกลางซ้ำไม่ได้
ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. 2498ข้อ 26 ทวิ มิใช่กฎหมาย แม้มีการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาหลังตรวจค้นจับกุม มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นข้าราชการตำรวจประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำการตรวจค้นและจับกุม ฮ.กับห. ในข้อร่วมกันมียาเสพติดให้โทษชนิดเฮโรอีนไว้ในครอบครองและร่วมกันมีและพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วจำเลยที่ 2ได้พูดว่าถ้าไม่อยากติดคุกและไม่อยากถูกประหารชีวิตให้เอาเงินมาจ่าย 1,000,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองให้ ศ. ขับรถตระเวนพา ฮ.กับห. ไปที่ต่าง ๆ แล้วให้ขับรถไปที่สถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยา หากจำเลยทั้งสองต้องการตรวจค้นและจับกุมจริง เมื่อจำเลยทั้งสองค้นพบสิ่งผิดกฎหมายแล้ว ก็ชอบที่จะจับกุมและนำผู้ต้องหาไปมอบให้เจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่พบการกระทำผิดเพื่อดำเนินการต่อไปในทันที ไม่ใช่พาตระเวนไปถึงสถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อจำเลยที่ 1รับราชการเป็นตำรวจโดยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงานแม้จะรับราชการประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ทำหน้าที่ช่างเครื่องซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเรือที่ใช้ในราชการตำรวจน้ำก็เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะตามคำสั่งแต่งตั้งของทางราชการแต่โดยทั่วไปจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยที่ 1ทำการตรวจค้นและจับกุม ฮ.กับห. จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจกระทำผิดอาญา ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ
การที่ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่ใช่เหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ศาลลดโทษให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินกว่าเหตุ: ตำรวจยิงผู้ต้องสงสัยหลังหมดสภาพต่อสู้
จำเลยเข้าจับกุมผู้เสียหายซึ่งเล่นการพนัน ผู้เสียหายต่อสู้โดยฟันจำเลยที่กกหูขวา การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงถูกผู้เสียหายที่หน้าท้อง ในขณะที่มีภยันตรายเพียงนัดเดียวก็เพียงพอแก่การที่จำเลยจะป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยยังยิงขาผู้เสียหายขณะผู้เสียหายกำลังหันหลังจะวิ่งหนีและจำเลยยังเข้าทำร้ายผู้เสียหายขณะล้มลงอีก โดยผู้เสียหายหมดโอกาสทำร้ายจำเลย การกระทำของจำเลยในตอนนี้จึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69
of 14