คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่อเติมอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและต่อเติมอาคาร: สิทธิหลังหมดสัญญา
การที่จำเลยออกเงินตกแต่งทำหินขัดพื้นชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สอง ทำผนังกั้นห้องต่อเติมทำห้องน้ำชั้นที่สองและต่อเติมพื้นที่ชั้นที่สามครึ่ง เป็นการกระทำเพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่านั้นหามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อสัญญาเช่า ครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยเช่าต่อ จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมต่อความเสียหายจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 4 จ้างจำเลยที่ 1ต่อเติมอาคาร ทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเพราะเป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ประกอบกับไม่ปรากฏแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใด จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 428 และมาตรา 432 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันจากงานต่อเติมอาคารที่ทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารข้างเคียง
จำเลยที่2และที่3กับจำเลยที่4จ้างจำเลยที่1ต่อเติมอาคารของจำเลยที่2ซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยที่3และอาคารของจำเลยที่4ทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหายโดยจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำประกอบกับไม่ปรากฎแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428และมาตรา432วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินข้างเคียง
จำเลยที่2และที่3กับจำเลยที่4จ้างจำเลยที่1ต่อเติมอาคารทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเพราะเป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการประกอบกับไม่ปรากฎแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428และมาตรา432วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำ ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับข้างบ้าน เจ้าของต้องรับผิดชอบแก้ไข
รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมเมื่อจำเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กำแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ำฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้านไม่มีผู้ใดเดือดร้อน ครั้นจำเลยต่อเติมอาคารขึ้นน้ำฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจำเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติ ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารรุกล้ำทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สมควร
รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเมื่อจำเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กำแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ำฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้านไม่มีผู้ใดเดือดร้อนครั้นจำเลยต่อเติมอาคารขึ้นน้ำฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจำเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารล้ำแนวรั้ว และการใช้สิทธิโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
จำเลยก่อสร้างหลังคาสังกะสีต่อเติมอาคารของตนล้ำมาบนกำแพงรั้วด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ โดยจำเลยใช้กำแพงรั้วเป็นฝาห้องด้านล่างและใช้กระเบื้องซีเมนต์กั้นต่อขึ้นไปถึงหลังคา แล้วใช้ปูนซีเมนต์พอก เชื่อมรอยต่อระหว่างอาคารของจำเลยกับรั้ว ทำให้น้ำฝนไม่สาดเข้าไปในอาคารของจำเลย แต่ไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติจำเลยจึงใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปตาม มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ.2525, พ.ศ.2528 และ พ.ศ.2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 หมวด 4 ข้อ30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 เช่น อาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง หาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมให้รื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525, พ.ศ. 2528และ พ.ศ. 2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 เช่นอาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาตและการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา21,22และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522หมวด4ข้อ30และขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างพ.ศ.2479และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิตร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่พ.ศ.2525,พ.ศ.2528และพ.ศ.2529แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว จำเลยกระทำการ ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522หมวด4ข้อ30ทั้งขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เช่นอาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ที่ถูกต้องและเพียงพอทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลงจึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42วรรคแรกและวรรคสาม(เดิม)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่
of 5