คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมต่างจากคำขอเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคากับค่าใช้ทรัพย์ และศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคากับค่าใช้ทรัพย์ ส่วนคดีนี้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ได้ไปติดตามรถยนต์คืนมาได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถคืนและรถที่ยึดกลับคืนมาได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เสื่อมราคา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าใช้จ่ายในการยึดรถและค่าเสื่อมราคาพร้อมดอกเบี้ย ความเสียหายของโจทก์คดีนี้จึงเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนคำขอบังคับก็แตกต่างกันและมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวชั้นบังคับในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: จำนวนหนี้ต่างกันในแต่ละคดี แม้สัญญาเดียวกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีก่อน ระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าวโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ แม้ฟ้องคดีก่อนและฟ้องคดีนี้ต่างอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายฉบับเดียวกันก็ตาม แต่จำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระตามคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละจำนวนกัน กล่าวคือ ฟ้องคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าร้อยละ 10 ที่จำเลยต้องชำระในวันทำสัญญาและราคาสินค้าที่ต้องผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 8ส่วนฟ้องคดีนี้โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่ต้องผ่อนชำระงวดที่ 9 ถึงงวดที่ 12 และราคาน้ำยาเคมีที่ใช้สำหรับทางการแพทย์ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อโจทก์เสนอคำฟ้องคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงมิใช่ฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการทางอาญาต่างจากกระบวนการพิจารณาคดีเดิม แม้ประเด็นเกี่ยวข้องกับเอกสารเดียวกัน
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยานของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลังที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5627/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าเป็นคนละกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288, 83, 80 พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ตามฟ้องการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้อง แต่ไม่แก้โทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำต่อเนื่องใกล้เคียงกัน
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายในปี 2536 รวม 3 ครั้ง และในปี 2537 รวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใดผู้เสียหายคงอยู่ที่บ้านและไปโรงเรียนตามปกติ ดังนี้ ผู้เสียหายได้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งแล้ว แม้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 2 ถึง 3 วัน ครั้งที่สามห่างจากครั้งที่สองเพียง 1 วัน และครั้งที่ห้าห่างจากครั้งที่สี่เพียง 1 วัน และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนากระทำชำเราเหมือนกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกันและมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 5 ครั้ง จึงเป็นความผิดรวม 5 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้อน: แม้ผลลัพธ์คล้ายกัน แต่หากประเด็นข้อพิพาทต่างกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ด้วยการให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1778 ซึ่งรวมทั้งที่ดินส่วนพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ให้กลับคืนสู่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนคืนแก่จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้แก่โจทก์อันเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ส่วนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 71 ตารางวา ให้แก่โจทก์แล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกมาให้โจทก์พร้อมกับให้จำเลยที่ 1 และบุคคลภายนอกอีก 2 คน ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ถึงแม้คำขอของโจทก์จะมีผลสุดท้ายเป็นอย่างเดียวกัน คือ ขอให้โอนที่ดินพิพาทจำนวน 15 ไร่ 3 งาน71 ตารางวา เป็นของโจทก์ก็ตาม กรณีก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: มูลเหตุความเสียหายต่างจากคดีก่อน แม้เป็นสัญญาเช่าซื้อเดียวกัน
แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องอ้างว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนรถแก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ไปยึดรถจากจำเลยทั้งสองและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดรถคืน ซึ่งความเสียหายของโจทก์ตามฟ้องคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อน ดังนี้คำขอให้บังคับจำเลยตามฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต่างจากคำขอของโจทก์ในคดีก่อน และมิใช่เป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต่างกัน: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องอ้างว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนรถแก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ไปยึดรถจากจำเลยทั้งสอง และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดรถคืน ซึ่งความเสียหายของโจทก์ ตามฟ้องคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อน ดังนี้คำขอให้บังคับจำเลยตามฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต่างจาก คำขอของโจทก์ในคดีก่อน และมิใช่เป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อน ได้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณี ที่จะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คหลายฉบับลงวันที่ต่างกันถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยออกเช็ค 4 ฉบับลงวันที่คนละวันกันชำระหนี้แก่โจทก์ธนาคารไม่จ่ายเงินเมื่อถึงกำหนดตามเช็คทั้ง 4 ฉบับแสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้ง – ประเด็นต่างกัน – ไม่อาจรวมพิจารณา
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกหนี้เงินตามสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปแล้วชำระคืนให้โจทก์ไม่ครบและขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และได้ชำระเงินที่กู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะชำระในส่วนที่ค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าถูกโจทก์และบริษัท ด.หลอกลวงให้หลงเชื่อว่า บริษัทดังกล่าวเสนอขายที่ดินสวนเกษตรจะปลูกต้นมะขามหวาน โดยแบ่งเป็นแปลงละ 2 ไร่ พร้อมกับจัดให้มีสาธารณูปโภค จำเลยที่ 1 จึงได้ตกลงทำสัญญาจองและจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทดังกล่าว ต่อมาบริษัทดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามโครงการที่เสนอขายอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินกู้ในส่วนที่ยังชำระไม่ครบคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างบริษัท ด. กับจำเลยที่ 1 โดยอ้างเหตุว่า บริษัทดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามโครงการจัดขายที่ดินสวนเกษตรจึงเป็นข้อเท็จจริงและหลักฐานที่จะนำสืบคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างไปจากฟ้องเดิมของโจทก์ที่ขอบังคับตามสัญญากู้เงินและจำนอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัท ด. และว.จึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมของโจทก์ได้


of 3