คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต้นเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ยืมมีส่วนโมฆะ ไม่ทำให้สัญญาทั้งหมดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินที่สมบูรณ์ได้
แม้สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยมีหนี้ส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วยเนื่องจากโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่สัญญากู้ตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเงินเบิกเกินบัญชี: ค้ำเฉพาะต้นเงินที่เบิกใช้จริง ไม่จำกัดจำนวน
สัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเงินเบิกเกินบัญชี แม้ไม่ระบุวงเงินค้ำประกันโดยตรงแต่ความในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า เนื่องในการที่โจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาลงวันที่ 21 มกราคม 2528 เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท ตามสัญญาลงวันที่ 3 มีนาคม 2532 เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท และตามสัญญาลงวันที่ 27 มิถุนายน 2533 เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท นั้น ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แสดงให้เห็นว่าผู้ค้ำประกันมีเจตนาเข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เฉพาะต้นเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีไม่เกิน 690,000 บาท เท่านั้น ส่วนที่ผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญานั้น หมายถึงผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โดยสละสิทธิให้โจทก์เรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 หรือทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 691 เท่านั้น มิใช่เป็นข้อสัญญาให้ผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีย่อมมีผลให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะในต้นเงินไม่เกิน 690,000 บาท กับดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น ส่วนสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นเพียงการที่จำเลยที่ 3 ให้หลักประกันเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินไม่เกิน 690,000 บาท เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการให้หลักประกันใหม่โดยไม่จำกัดจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความถูกต้องของต้นเงินคำนวณดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ศาลทำได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำนวนเงินที่เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามคำร้องของจำเลย เป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยผิดนัด: การแก้ไขต้นเงินคำนวณดอกเบี้ยให้ตรงกับเหตุผลในคำวินิจฉัยศาล ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาตามคำร้องของจำเลยจากการให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เป็นให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 4,627,729.55บาท นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นการแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดของต้นเงินค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับ เมื่อคิดถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 5,267,594.91 บาท จำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นยอดรวมของค่าสินค้ากับดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถึงวันฟ้อง ทั้งเมื่อรวมค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับเข้าด้วยกันแล้วจะได้เท่ากับ 4,627,729.55 บาท ตรงกับต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ไม่อาจนำไปหักกลบหนี้หรือถือเป็นการชำระหนี้ต้นเงินได้
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมายให้แก่โจทก์ไป เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจำนวนที่ชำระไปแล้วคืน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำไปหักกลบลบหนี้กับต้นเงินกู้ที่จำเลยยังไม่ได้ชำระหรือถือเอาว่าเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้บางส่วนตามสัญญาแล้วได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วตามสัญญาคำนวณแล้วได้เท่ากับอัตราร้อยละ 36 ต่อปี เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลยแต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามดังนั้น ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด หาใช่ดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยไม่เมื่อหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าววันที่ 22 ตุลาคม 2541จึงครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้แยกต่างหาก แม้ดอกเบี้ยผิดกฎหมายก็ไม่กระทบสิทธิรับต้นเงิน การออกเช็คจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมจำนวน 500,000 บาท ที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมดังกล่าวอีกจำนวน7,500 บาท เป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้นแต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท-ดอกเบี้ยเกินอัตรา: แม้เช็คไม่ได้เป็นโมฆะทั้งหมด แต่ดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแต่ต้นเงิน
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ด้วยเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ แต่ท้ายคำให้การก็มีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยนี้ด้วย ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยออกเช็คพิพาทให้เพื่อชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์โดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ ส่วนเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืมเป็นเช็คที่สมบูรณ์มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องต้นเงินยังคงอยู่
แม้จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ในเช็คนั้นด้วยจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ ทั้งท้ายคำให้การยังมีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนของเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ไม่ชอบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ต้นเงินด้วยเช็ค ห้ามนำไปชำระดอกเบี้ย
การที่โจทก์ได้รับเช็คของ อ. ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 2จำนวน 37 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้และโจทก์ได้ทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า "ข้าพเจ้าในนามบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทย จำกัด ได้รับเช็คจำนวน 37 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,875,557 บาท เพื่อชำระหนี้ต้นเงินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.วิศวกรรมการสร้าง สำหรับดอกเบี้ยทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.วิศวกรรมการสร้างจะนำมาชำระให้ภายหลังโดยขอเวลาเจรจาอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง" นั้น เมื่อโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ว่าจะนำเช็ค 37 ฉบับไปหักต้นเงินเท่านั้นโจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็ค37 ฉบับไปชำระดอกเบี้ยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ การหักชำระดอกเบี้ยออกจากต้นเงิน และการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) เมื่อปรากฏว่าจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้โจทก์ไปแล้ว มีจำนวนสูงกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้ตามสัญญากู้และสัญญาจำนอง จึงต้องนำส่วนที่เกินไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา329 วรรคแรก และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องคิดยอดเงินมาให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์คิดยอดหนี้มาไม่ถูกต้อง จึงชอบที่จะยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ภายในอายุความ
of 3