พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ – มูลค่าทรัพย์สินที่ยึด vs. จำนวนหนี้ – ความรับผิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด
การคิดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ระบุว่า เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึดตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ เมื่อการยึดทรัพย์ถูกถอนการยึดเพราะโจทก์นำยึดเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 284 โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ เมื่อการยึดทรัพย์ถูกถอนการยึดเพราะโจทก์นำยึดเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 284 โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีหลังถอนการยึด-เพิกถอนคำสั่ง และการนับระยะเวลาตามมาตรา 271
โจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาทและขอถอนการบังคับคดีไปแล้ว แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยโดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินที่จำเลยนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดียกคำแถลงของโจทก์ แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ได้ยื่นไว้เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3669/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีและการวางเงินชำระหนี้เมื่อมีการถอนการยึดทรัพย์สินแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีและขอวางเงินโดยมีเงื่อนไข ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนการยึดที่ดินทั้งสองแปลงที่ผู้ร้องขอให้งดการบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการยึดแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกา ของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวหรือไม่ ศาลฎีกามีอำนาจจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเนื่องจากตกลงชำระหนี้เป็นที่พอใจ ย่อมทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
คำแถลงของโจทก์ที่ขอถอนการยึดและการบังคับคดีมีข้อความว่า"ขณะนี้โจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้วและได้รับชำระหนี้เป็นที่พอใจแล้วโจทก์ไม่ประสงค์บังคับคดีนี้ต่อไปจึงขอถอนการยึดทรัพย์คดีนี้และขอถอนการบังคับคดีเสียทั้งสิ้นต่อไปด้วยฯลฯ"ข้อความดังกล่าวชัดแจ้งว่าโจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเพราะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองเป็นที่พอใจแล้วตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันดังนี้เมื่อโจทก์ตกลงยกหรือปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยแล้วหนี้ส่วนที่เหลือจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340โจทก์ไม่อาจจะนำหนี้ดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำในคดีล้มละลายและการถอนการยึดทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้าง
ลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินคืนให้แก่ลูกหนี้และเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักในการขอคืนเช่นเดียวกับที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องในคดีนี้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของลูกหนี้และให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ กับให้ลูกหนี้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ เมื่อการแบ่งแยกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นทางสาธารณะยังไม่แล้วเสร็จ ที่ดินจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้และเจ้าของรวมคนอื่นอยู่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า การยกเลิกการล้มละลายไม่กระทบถึงการใดที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำไปแล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 137 กรณีตามคำร้องเป็นกรณีที่ได้กระทำไปแล้ว ไม่มีเหตุที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณาใหม่หรือให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดที่ดินตามคำร้องได้ยกคำร้อง และถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น การที่ลูกหนี้กลับมาดำเนินกระบวนพิจารณาขอคืนโฉนดที่ดินเป็นคดีนี้อีกโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักอย่างเดียวกัน จึงเท่ากับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7648/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ครบถ้วน แม้โจทก์ยังไม่ได้รับเงิน
จำเลยได้นำเงินตามคำพิพากษาที่ต้องชำระแก่โจทก์ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยได้ชำระค่าธรรมเนียม ถอนการยึดและค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลย ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่นต่อไป โจทก์ย่อมจะบังคับคดี แก่จำเลยต่อไปไม่ได้ และไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคท้ายที่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขอเฉลี่ยสวมสิทธิดำเนินการบังคับคดีแทนโจทก์ผู้ยึดต่อไปได้ และการที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินที่จำเลยที่ 1 วางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ก็มิใช่เป็นเหตุที่จะไม่ถอนการบังคับคดีให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดี: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำพิพากษาไม่ขัดแย้งกัน แม้มีการถอนการยึดทรัพย์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้โจทก์นำเงินค่าที่ดินมาวางศาลภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันทำยอมแล้วจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันชำระเงิน แต่เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาวางเงินแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอไม่วางเงินอ้างว่าที่ดินพิพาทถูก น. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยอีกคดีหนึ่งยึดไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากรณีเป็นการแก้ไขคำพิพากษาตามยอมไม่อาจสั่งให้โจทก์ไม่วางเงินได้ ดังนี้แม้จะปรากฏว่าในคดีแพ่งที่ น. เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินพิพาทและศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การที่โจทก์ยังไม่ได้วางเงินเพราะจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญายอมได้ เนื่องจากน. ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทไว้ก่อน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญายอม และโจทก์มีสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนจึงให้ถอนการยึดที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าวก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องนี้ก็ไม่ขัดกันเพราะประเด็นในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องวางเงินภายในกำหนดเวลาตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ แต่ประเด็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องถอนการยึดทรัพย์ แม้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวจะกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญายอมก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงกล่าวอ้างถึงเหตุอันสมควรถอนการยึดที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงมีประเด็นพิพาทต่างกัน และผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองคดีก็เป็นคนละเรื่องกัน หาขัดแย้งกันไม่ โจทก์จึงไม่ชอบที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวมาอ้างในคดีนี้เพื่อขอวางเงินตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2535 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ที่ไม่มีการขาย: ผู้ขอให้ยึดมีหน้าที่ชำระ แม้สุจริตหรือขอถอนการยึด
โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดไม่มีการขายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149และตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ทั้งนี้ต้องชำระต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะได้นำยึดโดยสุจริตและเป็นผู้ขอให้ถอนการยึดหรือไม่ หากโจทก์ไม่ยอมชำระก็อาจถูกบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 ตรี ไม่ใช่เรื่องของความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดี ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดแทนฝ่ายโจทก์ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแม้ถอนการยึด - ไม่เป็นความรับผิดของคู่ความอื่น
โจทก์ดำเนินการบังคับคดีโดยนำยึดที่ดิน 1 แปลง อ้างว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลย เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ แต่มีเหตุที่จะต้องถอนการยึดทรัพย์สินนั้น โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดไม่มีการขายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 149 และตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งทั้งนี้ โดยต้องชำระต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะได้นำยึดโดยสุจริต และเป็นผู้ขอให้ถอนการยึดหรือไม่หากโจทก์ไม่ยอมชำระก็อาจถูกบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรี ไม่ใช่เรื่องของความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดแทนฝ่ายโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สิน แม้ถอนการยึดโดยสุจริต และเป็นผู้ขอถอน
โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดไม่มีการขายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และตาราง 5 ข้อ 3ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ต้องชำระต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะได้นำยึดโดยสุจริตและเป็นผู้ขอให้ถอนการยึดหรือไม่ หากโจทก์ไม่ยอมชำระก็อาจถูกบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรี ไม่ใช่เรื่องของความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดี ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดแทนฝ่ายโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161