คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาร่วมลงทุนและการคืนเงินลงทุน กรณีไม่ได้ถอนหุ้น แต่ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาร่วมลงทุนทำกิจการบ่อทรายในรูปแบบบริษัทจำกัดกับจำเลยทั้งห้าและ น. ต่อมาจำเลยทั้งห้าดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัท ท. หลังจากนั้นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งห้าคืนเงินลงทุนแก่โจทก์จำนวน 400,000 บาท และชำระเงินค่าขายทรายที่มิได้ชำระแก่โจทก์จำนวน 17,937.52 บาท อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาร่วมลงทุนทำกิจการบ่อทราย และการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า เงินผลประโยชน์ค่าขายทรายที่จำเลยทั้งห้าหรือบริษัทดังกล่าวจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า ไม่ว่าจะมีผลกำไรหรือขาดทุน จำเลยทั้งห้ายินยอมที่จะจ่ายเงินผลประโยชน์แก่โจทก์เสมอไป อันถือเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าในการร่วมลงทุน เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนในทางจัดการ โดยให้จำเลยทั้งห้าเป็นฝ่ายบริหารกิจการบ่อทรายจัดจำหน่ายแก่ลูกค้าด้วยเงินลงทุนร่วมกัน 1,000,000 บาท โจทก์และ น. ร่วมลงทุนคนละ 400,000 บาท แต่ก็มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจบริหารในบริษัท เมื่อจำเลยทั้งห้ามิได้ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ที่ขอให้คืนเงินลงทุนและชำระเงินค่าขายทรายที่มิได้ชำระ โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและภาระผูกพันตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาท คืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและการจ่ายเงินชดเชย แม้จะดำเนินกิจการต่อเพียงสั้น ๆ ก็ตาม
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาทคืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและชำระเงินคืน: แม้จะทำกิจการต่อเพียงสั้น ๆ ก็ต้องปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาทคืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญาเข้าหุ้นส่วนและการถอนหุ้น ไม่ถือเป็นการโกงเจ้าหนี้เมื่อไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามกับ จ. ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเข้าหุ้นส่วนเดิม โดยให้จำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ และถอนเงินลงหุ้นออกไป โดยให้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน ให้จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีหนี้สินและไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 1 ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องการดำเนินกิจการต่อ จำเลยที่ 1 กับ จ.จึงถอนหุ้นออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยไม่มีการถอนเงินลงหุ้นไปจริง เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ไม่มีเงินเหลืออยู่เลยดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ถอนหุ้นจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับว่าที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน มีผลสละสิทธิในการถอนหุ้น แม้ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2, 3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่ แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2, 3 ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยก็หาได้โต้เถียงไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลย ไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วน จำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่ เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย จำเลยมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่ ย่อมฟังไม่ขึ้นและเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนบริษัทจัดตั้ง และผลของการถอนหุ้นภายหลังจดทะเบียน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไปผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่ และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด ฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนบริษัทจดทะเบียน และผลของการถอนหุ้นก่อนการประกาศจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไปผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่ และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วนจำกัด: การชำระหนี้ค่าหุ้นและการถอนหุ้นโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนอื่น
โจทก์ฟ้องว่า ได้เข้าหุ้นทำป่าไม้กับจำเลยเป็นเงิน 10000 บาท ต่อมาสามีดจทก์บอกล้างนิติกรรมเข้าหุ้นรายนี้ และดจทก์ขอคืนเงินค่าหุ้น จำเลยยอมคืนและผ่อนชำระแล้ว 1500 บาท ที่เหลือ 8500 บาท ขอผัดชำระวันหลังแล้ว ในที่สุดไม่ยอมชำระจึงขอให้ศาลบังคับ.
จำเลยปฏิเสธว่าสามีโจทก์มิได้บอกล้างนิติกรรมเข้าหุ้นส่วน แต่รับว่าได้คืนเงินค่าหุ้นให้ 1500 บาทจริง เพราะสำคัญ ผิด คิดว่ามีอำนาจคืนได้โดยไม่ต้องให้หุ้นส่วนทั้งหมดยินยอม ดังนี้ ประเด็นในข้อท่สามีโจทก์บอกล้างนิติกรรมหรือ ไม่ ไม่ใช่ข้อแพ้ชนะ ประเด็นคงมีเพียงจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ครบถ้วนแล้วหรือยัง เท่านั้น ข้อที่จำเลยต่อสู้ว่า ยอมให้โจทก์ถอนหุ้น โดยสำคัญผิดเพราะที่ถูกจะต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคนก่อนนั้น ก็ไม่จำต้อง พิจารณาถึง เพราะการที่จำเลยยอมให้ดจทก์ถอนหุ้นเช่นเรื่องนี้ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่ใช่เรื่องของ หุ้นส่วน./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนหุ้นและผลกระทบต่อความเป็นหุ้นส่วน: การรับซื้อหุ้นโดยหุ้นส่วนที่เหลือไม่ถือเป็นการเลิกห้างหุ้นส่วน
หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญคนหนึ่งขอถอนหุ้นไป หุ้นส่วนที่ยังคงเหลืออยู่รับซื้อหุ้นไว้และคงดำเนินกิจการต่อไปตามปกติดังนี้ ไม่ถือว่าห้องหุ้นส่วนรายนี้เลิกกันแล้ว ปพพม 1055 มิใช่เป็นบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาจะตกลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นก็ย่อมทำได้ ประมวล วิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 288
of 2