พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5438/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องดำเนินคดีอนาถาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจเพิกถอนได้ ผู้ร้องต้องอุทธรณ์ตามเวลา
ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลฟังคู่ความทุกฝ่ายและทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่หากศาลเห็นว่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของผู้ร้องไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของผู้ร้องว่า คำร้องไม่ถูกต้องตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง ยกคำร้อง จึงมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ หากผู้ร้องเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 7 วัน ตามมาตรา 156 วรรคห้า เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุด แม้ศาลจะพิจารณาเรื่องขยายระยะเวลาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ โดยยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยว่า รอไว้สั่งเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องขอขยายระยะเวลาเสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ และปัญหาเรื่องขอขยายระยะเวลายังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะมีผลให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นไม่เป็นที่สุด แต่จำเลยก็มิได้กระทำ กรณีจึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 และมาตรา 198 ทวิ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12208/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องกระทำในระหว่างพิจารณาคดีเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจอ้างขัดรัฐธรรมนูญได้
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเรื่องที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยมาตรา 6 คือ ขัดต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดคำพิพากษาศาลฎีกาตลอดจนกระบวนพิจารณาของศาลฎีกาจึงขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ซึ่งการรับฟังพยานเป็นดุลพินิจของศาลหาใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 แต่อย่างใด นอกจากดุลพินิจในการฟังพยานของศาลจะไม่ใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว การที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อศาลจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลส่งเรื่องนั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหาได้ไม่ ดังถ้อยคำในมาตรา 264 วรรคหนึ่งที่ว่า "ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด... ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราว และในมาตรา 264 วรรคสาม ที่ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว" ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้ และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยเสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป กรณีของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9359/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ที่มิได้กล่าวรายละเอียดข้อคัดค้านชัดเจน และผลของการคำร้องถึงที่สุด
เดิมจำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 เพื่อขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำร้องของจำเลยไม่มีรายละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ผลของคดีที่ให้ยกคำร้องจึงเป็นที่สุด จำเลยไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว และไม่อาจถือเอารายละเอียดต่าง ๆของคำร้องฉบับดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจำเลยได้ยื่นต่อศาลในภายหลังได้ เพราะพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้ว
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 โดยไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสองนั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้อีก ไม่ชอบที่ศาลจะรับคำร้องฉบับหลังไว้ไต่สวนต่อไป
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 โดยไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสองนั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้อีก ไม่ชอบที่ศาลจะรับคำร้องฉบับหลังไว้ไต่สวนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด ฟ้องบังคับได้แม้พ้น 30 วัน ไม่ใช่การเพิกถอนคำสั่ง
พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์และจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้แม้จะเกินระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเพราะ มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งไม่อยู่ในกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7324/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล ทำให้คำสั่งถึงที่สุด แม้จะอ้างเหตุจำเป็นในการนำเสนอพยานเพิ่มเติม
ภายหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้คู่ความฟังแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 26 มกราคม 2541 ของผู้คัดค้าน และแจ้งคำสั่งให้ผู้คัดค้านทราบโดยชอบแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จึงถึงที่สุด ฎีกาของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าผู้คัดค้านเป็นคนยากจนได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6527/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งเรื่องทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุด แม้มีการอ้างเหตุผิดระเบียบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าทุนทรัพย์พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท แต่จำเลยก็มิได้กระทำ จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในเรื่องที่ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์โดยจำเลยไม่มีโอกาสคัดค้านอย่างไร ก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัย ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6527/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทำให้คำสั่งนั้นถึงที่สุด และฎีกาไม่มีประโยชน์
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากจำเลยประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าทุนทรัพย์พิพาทควรมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ แต่จำเลยก็มิได้กระทำกลับยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและให้สอบถามคู่ความทุกฝ่ายเพื่อกำหนดจำนวนทุนทรัพย์แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์หรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและจำเลยฎีกา ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยอย่างไรก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ ฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แก้ไขคำสั่งปรับตามสัญญาประกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพราะคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ผู้ประกันได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ขอให้ลดค่าปรับ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้ว พิพากษาให้ลดค่าปรับผู้ประกัน ดังนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8จึงถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ผู้ประกันจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดในคดีปรับผู้ประกัน กรณีจำเลยไม่มาศาลตามสัญญาประกัน
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนโดยมี ม.เป็นผู้ประกัน ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏว่าผู้ประกันผิดนัดไม่อาจนำตัวจำเลยมาพิจารณาคดีได้เป็นการผิดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ต่อมาเมื่อผู้ประกันดำเนินการจนได้ตัวจำเลยมาศาลและขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับ ผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ลดค่าปรับลงอีก ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ผู้ประกันจะฎีกาต่อไปหาได้ไม่