พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงเจตนาให้ลงโทษ จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 66 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ แม้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุไว้ว่า "นาย ศ. อายุ 26 ปี... ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส ให้แจ้งร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์... เพื่อดำเนินคดีต่อไป" ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ โดยถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะมิได้ชัดแจ้งว่าเป็นการแจ้งความโดยเจตนา จะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เป็นเหตุให้การสอบสวนในความผิดฐานนี้ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องอำนาจปกครองบุตรต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน จึงมีผลบังคับได้
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่ายมีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู... และข้อ 3 ระบุว่า... จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กขาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กขาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาที่ถูกต้อง: การส่งหมายศาลไปยังสถานที่ทำงานที่จำเลยพักอาศัยเป็นภูมิลำเนาได้
จำเลยเป็นเจ้าของและได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียน ม. ซึ่งไม่มีเลขที่ แต่โรงเรียนม. กับบ้านเลขที่ 788 ตั้งอยู่บนที่ดินของบริษัท ด. ซึ่งสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 788 มีจำเลยเป็นกรรมการคนหนึ่ง และเจ้าพนักงานศาลเคยไปส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลย ซึ่งระบุเลขที่ 788 ก็จะนำส่งที่โรงเรียน ม. น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ 788คือสถานที่ตั้งของโรงเรียน ม. ซึ่งเป็นที่ทำงานของจำเลยมาเป็นเวลา 12 ปี จนถึงปัจจุบันจำเลยพักอาศัยอยู่ในโรงเรียนนั้น ถือว่าโรงเรียน ม. เป็นถิ่นอันจำเลยมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการส่งโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วงถูกต้องตามกฎหมายอากรแสตมป์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดี
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้นาง ก. หรือนาย ส. คนใดคนหนึ่งกระทำการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันคดีนี้เท่านั้น ทั้งกิจการที่นาง ก. หรือนาย ส. กระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เพียงครั้งเดียว หาได้กระทำกิจการแยกกันต่างคนต่างฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียวไม่ แม้นาย ส. ผู้รับมอบอำนาจคนหนึ่งเป็นผู้แต่งตั้งทนายความและนาง ก. ผู้รับมอบอำนาจอีกคนหนึ่งเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่ากิจการที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองกระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ต่อจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7 (ก) เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจำนวน 30 บาท จึงสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7 (ก) แล้ว หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ถูกต้องตามกฎหมายและการไม่อุทธรณ์/ฎีกาเพื่อขอเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คดีนี้มิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำรับสารภาพของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามคำรับสารภาพนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นไปตามกฎหมายหากคู่ความไม่พอใจย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แต่ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ และเข้าใจผิดว่าเป็นการถามชื่อจำเลย จึงให้การรับสารภาพไปเป็นความเข้าใจผิดของจำเลยเอง จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะบังคับคดีไม่ได้ ศาลไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัทได้
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการบังคับคดี
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้ การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ.ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บริษัท บ.โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้ พ.ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้ บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ.เป็นผู้เสียหาย ก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เมื่อ ข.ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข.เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหายก็มุ่งประสงค์มิให้ ข.ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง
เมื่อ ข.ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข.เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหายก็มุ่งประสงค์มิให้ ข.ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และภาระการพิสูจน์ของผู้นำใบกำกับภาษีไปใช้เครดิตภาษี
คดีนี้โจทก์เป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการนำใบกำกับภาษีซื้อไปใช้เครดิตภาษี ภาระการพิสูจน์ว่าใบกำกับภาษีซื้อออกโดยถูกต้องแท้จริงและชอบด้วยกฏหมาย จึงตกอยู่แก่โจทก์ ร้าน ก. และบริษัท ท. ออกใบกำกับภาษีซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการขายสินค้า จึงถือว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ถูกต้องโจทก์จึงไม่อาจนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้น มาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/5(5)เมื่อโจทก์นำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 89(7) และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้เขียน และการยกสินสมรส
ส.ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 3 คนซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามป.พ.พ.มาตรา 1671 แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481