คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถ้อยคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่น: การตีความถ้อยคำ 'ขี้ข้า' บริบทการใช้งานและเจตนาของผู้กล่าว
คำว่า "ดูหมิ่น" ตาม ป.อ. มาตรา 393 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยามทำให้อับอายเป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำที่กล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียนรวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึงตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องหมิ่นประมาทต้องกล่าวถึงถ้อยคำที่ทำให้เกิดความเสียหายชัดเจน แม้รายละเอียดการกระทำจะนำสืบในชั้นพิจารณาได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าจำเลยได้กล่าวและเขียนคำร้องทุกข์ใส่ความโจทก์ต่อหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอว่าโจทก์มีพฤติการณ์ในทำนองชู้สาวกับ ส. อาจารย์ใหญ่ โดยเจตนาจะให้โจทก์ได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังและต้องได้รับโทษทางวินัยเพราะ ส. มีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว คำฟ้องของโจทก์มีความหมายที่เข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นคนมีความประพฤติไม่ดี มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับสามีของหญิงอื่นส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์ในทำนองชู้สาวว่ามีอย่างไรนั้น ชอบที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จึงเป็นคำฟ้องที่ได้กล่าวถึงถ้อยคำพูดหนังสือ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทไว้โดยบริบูรณ์ พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4821/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องหมิ่นประมาท: การบรรยายถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อบุคคลอื่นต้องชัดเจนและบริบูรณ์
บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจใส่ความนายวิชัย ปลูกพืช ผู้เสียหาย โดยกล่าวหาต่อนายปราโมทย์ ปลูกพืช และนางไหม มาดชาย ว่าผู้เสียหายลักปืนหรือเอาปืนของนายหาหมีด หรือ หมีด โชคเกื้อ ไป เป็นคำฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำของจำเลย โดยจำเลยกล่าวต่อนายปราโมทย์ และ นางไหม ว่า ผู้เสียหายลักปืนหรือเอาปืนของนายหาหมีดหรือหมีดไป เป็นการกล่าวถ้อยคำพูดของจำเลยไว้บริบูรณ์แล้ว เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4821/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องหมิ่นประมาท: การบรรยายถ้อยคำที่ชัดเจนและบริบูรณ์
บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจใส่ความนายวิชัย ปลูกพืชผู้เสียหาย โดยกล่าวหาต่อนายปราโมทย์ปลูกพืชและนางไหมมาดชายว่าผู้เสียหายลักปืนหรือเอาปืนของนายหาหมีดหรือหมีดโชคเกื้อไป เป็นคำฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำของจำเลย โดยจำเลยกล่าวต่อนายปราโมทย์ และ นางไหม ว่า ผู้เสียหายลักปืนหรือเอาปืนของนายหาหมีดหรือหมีดไป เป็นการกล่าวถ้อยคำพูดของจำเลยไว้บริบูรณ์แล้ว เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ แม้ใช้ถ้อยคำต่างจากที่กฎหมายบัญญัติ และผลของการบอกเลิกการโอนสิทธิโดยผู้โอน
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า 'โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง'โดยมิได้ใช้คำว่า 'โอนสิทธิเรียกร้อง' ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไป
การที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนเพื่อประโยชน์ราชการและการป้องกันตนเอง ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเนื่องจากถูกเรียกไปให้ถ้อยคำในฐานะเป็นพยานในกรณีที่ ส. ผู้บังคับบัญชาจำเลยถูกกล่าวหาว่าปกิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของ ส. จำเลยกล่าวถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ราชการอันเป็นส่วนรวมและมีมูลความจริง แม้ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจะพาดพิงไปถึงโจทก์ ก็เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนเพื่อประโยชน์ราชการและป้องกันส่วนได้เสีย ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเนื่องจากถูกเรียกไปให้ถ้อยคำในฐานะเป็นพยานในกรณีที่ ส. ผู้บังคับบัญชาจำเลยถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของ ส. จำเลยกล่าวถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ราชการอันเป็นส่วนรวมและมีมูลความจริง แม้ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจะพาดพิงไปถึงโจทก์ ก็เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานให้ถ้อยคำเกินหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ระวังแนวเขตสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้ไประวังแนวเขตที่พิพาทเมื่อได้ความว่าที่พิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์หรือทางราชการสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้การที่จำเลยที่ 1ให้ถ้อยคำถึงที่พิพาทจึงไม่เกี่ยวและเกินไปจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานกล่าวความจริงตามหน้าที่ แม้ใช้ถ้อยคำไม่สมควร ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
หนังสือรับรองของอธิบดีกรมอัยการที่จำเลยยื่นพร้อมฎีกาเป็นหลักฐานเช่นเดียวกับการที่อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาถือได้ว่าเป็นการรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แล้ว โจทก์ก่อสร้างตลาดผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและยังก่อสร้าง ต่อไปโดยไม่ขอต่ออายุใบอนุญาต จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าเขตให้ โจทก์ปฏิบัติการให้ถูกต้อง โจทก์ก็เพิกเฉย การที่จำเลยใช้เครื่องขยายเสียงพูดกับคนงานของโจทก์บริเวณที่ทำการก่อสร้างว่า"งานบริษัทนี้ (หมายถึงบริษัทโจทก์) พวกคุณไม่ต้องมาทำอีกต่อไปแล้ว พวกคุณไม่ต้องมาอยู่คอยเพราะคอยแค่ไหนก็ไม่สามารถจะทำได้ พวกคุณไปทำงานที่อื่นได้แล้วบริษัทอื่นที่ดีกว่านี้ยังมีอีกมาบริษัทเลว ๆ อย่างนี้หากพวกคุณขืนอยู่คอยต่อไปพวกคุณก็อดตายขณะนี้ผู้จัดการบริษัทนี้ก็ได้หลบหนีไปแล้วและบริษัทนี้ก็ไม่มีใบอนุญาตด้วย" เป็นการกล่าวเพื่อชี้แจงให้คนงานทราบว่าการก่อสร้าง ผิดแบบแปลนและใบอนุญาตหมดอายุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คนงานอาจมีความผิดด้วย ขอให้คนงานหยุดก่อสร้างและอย่ารอทำงานเพราะกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องก็ต้องใช้เวลาหลายเดือน คำกล่าวเช่นนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้การใช้ถ้อยคำจะไม่สมควรและเกินเลยไปบ้างก็ยังไม่เป็นความผิดฐานหมิ่น ประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีหมิ่นประมาท: การบรรยายฟ้องและข้อโต้แย้งเรื่องถ้อยคำ/เอกสาร การไม่ยกข้อต่อสู้ในอุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ
ในคดีหมิ่นประมาท โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงถ้อยคำที่จำเลยกล่าวอันเป็นข้อสำคัญที่ทำให้เห็นว่าเป็นการหมิ่นประมาทแล้ว แม้จะมีข้อความในคำฟ้องไม่ตรงกับถ้อยคำในแถบ บันทึกเสียง ซึ่งโจทก์อ้างส่งเป็นพยาน แต่ส่วนใหญ่ใจความตรงกัน และเป็นการหมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำพูดมิใช่หมิ่นประมาทด้วยหนังสือ โจทก์จึงไม่ต้องแนบเอกสารที่ถอด ข้อความจากแถบ บันทึกเสียงติดมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา158(5) วรรคสอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อความที่จำเลยพูดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ จึงเท่ากับยอมรับว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ถูกต้องแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว.
of 4