พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและฟุ่มเฟือย ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำฟ้องโจทก์มีเนื้อหาเกินควรกว่าที่จำเป็นและมีมากตอนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ อาทิ ฟ้องข้อ 1 ใช้ถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดระหว่างพิจารณาเนื้อหาสาระผลงาน มาตรา 17, 24, 26 และ 27 พร้อมกฎกระทรวงฉบับที่ 21 และยื่นคำขอเป็นครั้งแรกละเมิดมาตรา 24, 25 และ 26 และข้อหาหรือฐานความผิดเบื้องหลังผลงานพ้นจากมาตรา 24, 25, 26 ไปแล้ว และได้เข้าสู่มาตรา 27 หรือในข้อ 2 มีถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดละเมิดผิดสัตยาบรรณ รับรองผลไม่เสียหาย ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายในเรื่องใด หรือการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร หรือฟ้องข้อ 3 มีข้อความว่า ข้อหาหรือฐานความผิด คำสั่งยกคำขอมิชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์กล่าวหาผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรว่าเซ็นคำสั่งยกคำขอไม่ถูกต้องเพราะจะปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เนื่องจากไปขัดข้ามตำแหน่งทางปกครองระดับกรมของรองอธิบดีซึ่งปกครองระดับสำนักงานและเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ เป็นต้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับอีกด้วย ทั้งคำฟ้องของโจทก์ยังมีความฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจจึงเป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ปัญหาความสมบูรณ์ของสัญญาและการสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนที่ว่าสัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะนั้น เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองให้ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้หรือไม่จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถาน ก็ย่อมกระทำได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การแยกฟ้องคดีความผิดต่างประเภท แม้ผู้กระทำผิดและสถานที่เกิดเหตุเดียวกัน
คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบระบุว่าเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ และ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นคนละชนิดกับแผ่นดิจิตอลวีดีโอดิสในความผิดต่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ และไม่มีลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกันแยกกันได้เด็ดขาด ลำพังแต่ผู้กระทำความผิดทุกข้อหาเป็นบุคคลเดียวกัน กระทำในขณะเดียวกันและในสถานที่เดียวกันเท่านั้นยังไม่ถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวเนื่องกันตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 36 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ และ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมในคดีทรัพย์สินทางปัญญา แม้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
คำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอให้จำเลยวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นคำร้องเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 253 ที่จะให้ความคุ้มครองโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง โดยคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจเข้าว่าคดีของจำเลยต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 25 แล้ว กองทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีย่อมต้องผูกพันในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามคำพิพากษาหากมีกรณีที่จำเลยจะต้องรับผิด ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นการสั่งให้กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นผู้วาง ไม่ใช่กระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 93 ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมในคดีทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ล้มละลาย: ศาลมีอำนาจสั่งให้กองทรัพย์สินวางเงินได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 ให้โจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยสำหรับฟ้องแย้งของจำเลย มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาล หรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้
จำเลยถูกพิทักทรัพย์เด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจเข้าว่าคดีของจำเลยต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว กองทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีย่อมต้องผูกพันในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามคำพิพากษา เนื่องจากคดียังไม่เป็นที่ยุติว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นการสั่งให้กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นผู้วาง ไม่ใช่กระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93
จำเลยถูกพิทักทรัพย์เด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจเข้าว่าคดีของจำเลยต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว กองทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีย่อมต้องผูกพันในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามคำพิพากษา เนื่องจากคดียังไม่เป็นที่ยุติว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นการสั่งให้กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นผู้วาง ไม่ใช่กระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11996/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการไกล่เกลี่ยในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
การไกล่เกลี่ยเป็นการใช้อำนาจของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 30 ประกอบด้วยข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญหาและการค้าระหว่างประเทศ ข้อ 27 (1) แม้จะไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ศาลได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันดังกล่าวตามที่ศาลนัดไว้หรือไม่ ก็หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นเนื่องจากคำร้องดังกล่าวเป็นคำขอจึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 และมาตรา 21 เมื่อคดียังอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและคู่ความทุกฝ่ายมาศาล ประกอบกับจำเลยทั้งสองได้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของจำเลยที่ 2 โดยมีการนำจำเลยที่ 2 เข้าตอบคำถามค้านและคำถามติงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายได้มีโอกาสดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวในระหว่างที่ศาลออกนั่งพิจารณาคดีแล้วกระบวนพิจารณาของศาลจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ – ฟ้องซ้อน: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชี้ขาดประเด็นสิทธิไม่เหมือนกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ว่าประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ และฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144,173 วรรคสอง (1) และมาตรา 148 นั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อซึ่งจะอุทธรณ์ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสองมาตรา 227 และมาตรา 228(3) แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีประเภทที่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ มีกระบวนวิธีพิจารณาที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยเน้นการพิจารณาให้เสร็จไปโดยรวดเร็วแตกต่างจากคดีสามัญ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ว่า "ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดี ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว" คดีนี้ศาลเคยอนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะ ช. ทนายจำเลยที่ 3 ถอนตัวและ ก. ทนายจำเลยที่ 3 ที่แต่งตั้งใหม่ก็ติดว่าความที่ศาลอื่น ไม่มาในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกและนัดที่ 2 ก็ขอเลื่อนคดีเพราะขอเวลาเจรจากับโจทก์ แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ไปติดต่อกับโจทก์เพื่อเจรจาตกลงกันตามที่ได้แถลงไว้ต่อศาล จนถึงวันนัดพร้อมเพื่อทำยอมหรือนัดสืบพยานโจทก์ ก. ยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นทนายความจำเลยที่ 3 โดยอ้างเหตุว่ามีความคิดเห็นไม่ตรงกับจำเลยที่ 3 ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ก็ยื่นใบแต่งทนายความต่อศาล แต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความคนใหม่ ทนายจำเลยที่ 3 คนใหม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่า ตนติดว่าความที่ศาลอื่นกับยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนั้น การขอเลื่อนคดีในนัดที่ 3 นี้ จึงไม่ใช่การขอเลื่อนในกรณีปกติทั่วไป หากจำเลยที่ 3 มีความสุจริตและมีความจำเป็นต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าทนายความที่จะแต่งตั้งใหม่นั้นพร้อมที่จะว่าความให้ตนในวันดังกล่าวเพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าออกไป การกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางการพิจารณาคดีไม่ให้เสร็จไปโดยรวดเร็วและมีพฤติการณ์เป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
กระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของพยานในการสืบพยานบุคคลมีกำหนดไว้เป็นพิเศษอยู่ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 29 และข้อ 30 สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ โจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคลดังกล่าว โดยโจทก์ได้จัดส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. พยานโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. พยานโจทก์ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีก ตามข้อกำหนดข้อ 29 วรรคท้าย ทั้งในข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลก็มิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำตามบันทึกนั้นแต่อย่างใด การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. มิได้มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ทั้งไม่มีลายมือชื่อของบุคคลผู้รับการสาบานหรือปฏิญาณลงไว้ ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไปแต่อย่างใด เพียงแต่เมื่อผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความ จึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. พยานบุคคลของโจทก์แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
กระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของพยานในการสืบพยานบุคคลมีกำหนดไว้เป็นพิเศษอยู่ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 29 และข้อ 30 สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ โจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคลดังกล่าว โดยโจทก์ได้จัดส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. พยานโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. พยานโจทก์ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีก ตามข้อกำหนดข้อ 29 วรรคท้าย ทั้งในข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลก็มิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำตามบันทึกนั้นแต่อย่างใด การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. มิได้มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ทั้งไม่มีลายมือชื่อของบุคคลผู้รับการสาบานหรือปฏิญาณลงไว้ ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไปแต่อย่างใด เพียงแต่เมื่อผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความ จึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. พยานบุคคลของโจทก์แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังบันทึกถ้อยคำแทนการเบิกความต่อหน้าศาลในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ชอบด้วยกฎหมายหากจำเลยไม่ค้าน
โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานโจทก์ และโจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคล โดยโจทก์ได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้ายทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีกตามข้อกำหนด ข้อ 29 วรรคท้าย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้: ห้ามอุทธรณ์
คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ไม่อนุญาตให้ยกคดีที่ได้งดการพิจารณาไว้ขึ้นพิจารณาต่อไปเป็นคำสั่งที่มิได้ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เพราะศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯได้มีคำสั่งให้นัดพร้อมเพื่อฟังผลคำสั่งศาลล้มละลายกลางเกี่ยวกับคำร้องขอของโจทก์เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/13 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย