คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมรดก: ศาลไม่ผูกพันตามคำวินิจฉัยเดิม หากประเด็นกรรมสิทธิ์ไม่ได้ถูกวินิจฉัยโดยตรง
ในคดีก่อนซึ่งโจทก์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและจำเลยที่ 1ร้องคัดค้านนั้น มีประเด็นพิพาทกันเพียงว่า มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกและโจทก์สมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนทรัพย์มรดกของ อ. มีอะไรบ้าง เพียงใด ไม่ได้เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีโดยตรง แม้ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดว่าทรัพย์พิพาทตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องซึ่งรวมทั้งทรัพย์พิพาทในคดีนี้ได้มาระหว่างที่ อ. เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ก็ถือไม่ได้ว่าศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์พิพาทว่าเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 อันจะต้องผูกพันจำเลยที่ 1 ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรในการจัดการทรัพย์สินมรดกของวัด: การมอบอำนาจและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่18ลงวันที่30มีนาคม2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ระบุว่า"ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งและจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป.ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่1มีนาคม2536โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่8จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ แม้ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่านาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนามและในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้านจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งนาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน สัญญาประนีประนอมยอมความ อายุความ และการแบ่งทรัพย์สินมรดก
โจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับโจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่2ถึงที่4มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของพ. ตกลงกับล.โจทก์ที่2ถึงที่4และพ. เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพ. ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาทพ.ต่อไปจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์ที่1ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม แม้พ. จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่พ. จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเองโจทก์ที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทนพ. และเมื่อฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4เป็นฟ้องซ้อนจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่2ถึงที่4ได้ การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่2ถึงที่4ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกเมื่อไม่มีทรัพย์สินเหลือและผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสีย
การที่ผู้คัดค้านร้องขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าเจ้ามรดกจำหน่ายทรัพย์สินจนหมดสิ้นก่อนตายไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออีกและผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นถือว่าคดีมีเหตุสมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก กรณีอ้างหนี้เท็จเพื่อขายทรัพย์สินมรดก
จำเลยร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการของเจ้ามรดกเพราะเจ้ามรดกเป็นหนี้ผู้อื่น ต้องขายทรัพย์มรดกชำระหนี้ ศาลได้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมิได้เป็นหนี้ผู้อื่นกรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกในการฟ้องทายาทเพื่อชำระหนี้จากทรัพย์สินมรดก แม้ทายาทสละมรดก
โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายให้ร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกแม้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้สละมรดกเสียในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินมรดกตามคำฟ้อง และการไม่ถือว่าภาพจำลองวัตถุเป็นพยานเอกสาร
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์สินตามบัญชีท้ายฟ้องให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงิน 37,935 บาทถ้าไม่สามารถแบ่งเป็นเงินได้. ขอให้ศาลขายทอดตลาดแบ่งเงินให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 37,935 บาทให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลพิพากษาให้ พ. กับ ส.และจำเลยแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงกัน ให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้แบ่งกันตามส่วน ไม่เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในวิธีแบ่งทรัพย์เช่นนี้ คำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเช่นนี้ไม่ชอบไม่ได้
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสารอันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิการจัดการทรัพย์สินมรดกเฉพาะส่วน และการไม่มีส่วนได้เสียในการคัดค้าน
เมื่อผู้ตายมีคดีพิพาทอยู่กับผู้คัดค้าน สิทธิต่าง ๆ ของผู้ตายจะต้องมีผู้จัดการต่อไป และย่อมจะต้องจัดการเฉพาะทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้ตายเพียงเท่าที่ผู้ตายมีสิทธิอยู่ ไม่ใช่เข้าไปจัดการซ้อนผู้จัดการในคดีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง การตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้จึงไม่เป็นการตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำ
ในคดีที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างว่ามีอยู่ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องก็ดี ก็หาตัดสิทธิผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องไม่ และประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น
ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิจะคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 (4) มิได้หมายความว่า ถ้าใครคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิในการคัดค้านและขอบเขตการจัดการทรัพย์สินมรดก
เมื่อผู้ตายมีคดีพิพาทอยู่กับผู้คัดค้าน สิทธิต่างๆ ของผู้ตายจะต้องมีผู้จัดการต่อไป และย่อมจะต้องจัดการเฉพาะทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้ตายเพียงเท่าที่ผู้ตายมีสิทธิอยู่ ไม่ใช่เข้าไปจัดการซ้อนผู้จัดการในคดีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง การตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้จึงไม่เป็นการตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำ
ในคดีที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างว่ามีอยู่ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องก็ดีก็หาตัดสิทธิผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องไม่และประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น
ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิจะคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) มิได้หมายความว่า ถ้าใครคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมดคงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องซ้ำในคดีทรัพย์สินมรดก: เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แม้ภรรยาจะเป็นคู่ความ
ภรรยาโจทก์คดีนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อนขอแบ่งมรดกศาลฎีกาตัดสินคดีนั้นว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นมรดกให้แบ่งระหว่างภรรยาโจทก์กับจำเลยทั้งสามในคดีนี้คนละส่วน ดั่งนี้ โจทก์ผู้เป็นสามีกลับมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามเกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาทนั้นได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 เพราะในคดีก่อนโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นคู่ความด้วย และในคดีก่อนก็มิใช่คดีที่ศาลได้มีคำสั่งให้ขับไล่ภรรยาโจทก์ตามมาตรา 142 (1) ฉะนั้น จะใช้คำพิพากษาในคดีก่อนบังคับตลอดถึงบริวารด้วยย่อมไม่ตรงกับเรื่อง
of 2