พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการล้มละลาย: ทรัพย์สินระหว่างสมรสและสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษา
พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้วก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ดังนั้น ตามสัญญาโอนสินทรัพย์ระหว่างธนาคาร ท. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินกับโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมีสิทธิที่จะเข้าสวมสิทธิของธนาคาร ท. เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะใช้สิทธิเพื่อบังคับคดีในคดีแพ่งตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมอ้างมูลหนี้ตามคำพิพากษาอันอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจการค้าอันเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองทำด้วยกันระหว่างสมรส แม้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงลำพังก็ตาม แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสของจำเลยทั้งสองจึงเป็นสินสมรสของจำเลยทั้งสองที่ยังไม่มีการแบ่งแยกและต้องนำมาชำระหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489, 1490 (3)
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจการค้าอันเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองทำด้วยกันระหว่างสมรส แม้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงลำพังก็ตาม แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสของจำเลยทั้งสองจึงเป็นสินสมรสของจำเลยทั้งสองที่ยังไม่มีการแบ่งแยกและต้องนำมาชำระหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489, 1490 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินสมรสหลังการขายฝากโดยไม่ยินยอม แม้ขับไล่แล้วสิทธิคู่สมรสยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาทว่าจำเลยขายฝากที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์และพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นสามีของจำเลย จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝาก ดังนี้แม้ศาลจะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารก็ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องในฐานะคู่สมรสที่ยังคงมีอยู่ในกรณีที่มีการขายฝากของโจทก์จำเลยตามที่ผู้ร้องอ้าง สิทธิของผู้ร้องสอดจะมีอยู่เพียงใด ก็คงมีอยู่เพียงนั้นคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการ รวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภททรัพย์สินสมรส: พิจารณาตามกฎหมายขณะได้มา แม้มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรส: สัญญาตกลงระหว่างคู่สมรส, การบอกล้างสัญญา, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอกันส่วนในเงินจากการบังคับคดีทรัพย์สินสมรสระหว่างเจ้าหนี้และเจ้าของรวม
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน4,473,237.18 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาด ป.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดให้แก่ ป.และรับเงินจำนวน 5,789.303.39 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่ 2 และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอกันส่วนในเงินที่ ป.นำมาวางแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวม สิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องมิใช่มีแต่กรณีบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ศาลมีสิทธิบังคับคดี และประเด็นการยึดทรัพย์สินสมรส
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน ช่วง 3 เดือนแรก คือเดือนธันวาคม 2536 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2537 เดือนละ 10,000บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2537 เป็นต้นไปเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่ 20 มกราคม 2537 เป็นเงิน 5,000 บาท และในวันที่ 24 มกราคม2537 อีก 5,000 บาท เป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด ถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรสตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ย้อนหลังบังคับกับทรัพย์สินที่ได้มาภายใต้กฎหมายเดิม
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 6 รายการ เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา เมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับ ร. ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับมีมาตรา 1471 บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัว และมาตรา 1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรส จึงเป็นสินสมรส อันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ 5 เดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดก เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม จึงจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1471 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่ เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายทรัพย์สินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โดยอ้างกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาททั้งแปลง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนเพียงครึ่งหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงครึ่งหนึ่งของราคาที่พิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับทรัพย์สินสมรส: ศาลอนุญาตขายทอดตลาดได้ แม้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ตรงกับลูกหนี้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและตึกแถวอ้างว่าเป็นของจำเลย แต่ปรากฏว่าโฉนดที่ดินมีชื่อ พ. และ อ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โจทก์แถลงยืนยันว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานเป็นสินสมรส ทรัพย์สินที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 วรรคท้าย และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งการยึดโดยชอบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป.