พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าจ้างค้างชำระ เริ่มนับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ เมื่อทวงถามแล้วจำเลยยังไม่ชำระ
โจทก์ฟ้องว่าได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด โดยมิได้ระบุว่าการทวงถามอันเป็นเหตุให้จำเลยผิดนัดได้กระทำเมื่อใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด แต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 4 ตุลาคม 2539 จำเลยก็ยังไม่ยอมชำระให้นั้น ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้างแก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์ตั้งแต่วัน ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7971/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาผิดนัดชำระหนี้: เริ่มนับจากวันฟ้องคดี หากยังไม่ได้ทวงถามก่อนหน้านี้
จำเลยรับปากว่าจะคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์ แต่เมื่อถึงกำหนดจำเลยไม่คืนเงินให้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ในข้อหายักยอกเงินค่าหุ้นต่อศาลแขวง และศาลยกฟ้องถือไม่ได้ว่าเป็นการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ อันจะนำมาคำนวณคิดดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ เรียกให้จำเลยชำระเงินคืน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ทวงถาม ให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระ ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัด นับแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทางการเงินของจำเลยเพียงพอต่อการชำระหนี้ แม้มีหนี้สินและถูกทวงถาม จึงไม่สมควรให้ล้มละลาย
จำเลยรับราชการได้รับเงินเดือนเดือนละ8,630บาทและมีที่ดินมีโฉนดโดยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ น. แม้ที่ดินดังกล่าวจะติดจำนองธนาคารในวงเงิน1,300,000บาทแต่ไม่ได้ความว่าหนี้จำนองดังกล่าวท่วมราคาที่ดินที่ติดจำนองและไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกฉะนั้นแม้จะฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน55,000บาทและจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันอันเป็นข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วก็ตามจำเลยก็ยังอยู่ในฐานะที่สามารถขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: กำหนดอายุความ และประเด็นข้อต่อสู้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913 (3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001
จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001
จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: กำหนดอายุความเริ่มนับจากวันที่ทวงถาม ไม่ใช่จากวันที่ออกตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913(3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 161(เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน 2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001 จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันที่ทวงถาม และสะดุดหยุดเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งหนี้
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม ผู้ชำระบัญชีของผู้ล้มละลายได้มีหนังสือทวงถาม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 ถือเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายได้ยื่นหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2529 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายย่อมสะดุดหยุดอยู่ในวันนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 เดิม เมื่อนับย้อน-หลังไปจนถึงวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินแล้วไม่เกิน 3 ปี ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องการบอกกล่าวทวงถามในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้
ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ยังไม่ได้บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง นั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยกข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ และปัญหาดังกล่าวมิใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์และเงิน การคืนทรัพย์เมื่อถูกทวงถาม ความผิดฐานยักยอก
โจทก์ร่วมถูกฟ้องคดีอาญา จำเลยได้รับฝากทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ และเงินจำนวนหนึ่งไว้จากโจทก์ร่วม ต่อมาหลังจากพ้นคดีแล้วโจทก์ร่วมไปทวงทรัพย์สินที่ฝากไว้คืนจากจำเลยแต่จำเลยไม่คืนให้ กรณีเป็นเรื่องโจทก์ร่วมและจำเลยฝากทรัพย์กัน ดังนั้นเงินทั้งหมดที่โจทก์ร่วมฝากไว้จำเลยผู้รับฝากจึงมีสิทธิที่จะนำออกใช้ได้หากจำต้องคืนแก่โจทก์ร่วมให้ครบตามจำนวนเท่านั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต เพียงแต่เมื่อโจทก์ร่วมทวงถามจำเลยไม่คืนให้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมจะต้องฟ้องร้องเรียกคืนจากจำเลยในทางแพ่ง การที่จำเลยนำเงินที่รับฝากนั้นออกใช้หรือไม่คืนให้เมื่อถูกทวงถามหาเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกไม่ ส่วนการรับฝากทรัพย์สินอื่นนั้น เมื่อได้ความว่า โจทก์ร่วมทวงถามแล้วจำเลยไม่คืนให้โดยเจตนาทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการล้มละลาย: การนับอายุความเริ่มเมื่อทวงถาม หากพ้น 3 ปี ขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม เริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม เจ้าหนี้มาขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถามซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001และต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94(1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชน การชำระคืน วงเงินขั้นต่ำและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 54(7) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกเอกสารการกู้ยืมเงินที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนไม่ต่ำกว่าสามปีให้แก่ผู้ให้กู้ และต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดเวลาไว้ด้วยนั้น เป็นข้อกำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยเฉพาะ หาได้บังคับในการกู้ยืมเงินจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วยกันโดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687-2688/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าบำเหน็จถือเป็นการทวงถามเตือนแล้ว จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ย
การฟ้องศาลให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จแก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นการทวงถามเตือนให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวอยู่ในตัว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว และจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224วรรคแรก.