คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทหาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพผิดในคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร และการยืนยันคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลย ให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริง ที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขต ที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิด ฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็น ภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44 มากับ คำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอ ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลย ในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงรับฟังมิได้ โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุ ที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษา แก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือ ไปจากคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมทหาร-พลเรือน ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากมีผู้กระทำผิดเป็นพลเรือน
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 14 (1)จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมระหว่างทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนยังมีอำนาจพิจารณาได้ตามเงื่อนไข
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(1) จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะ ทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นทหาร แต่มีพวกที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา
แม้จำเลยจะเพิ่งยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างในชั้นฎีกาว่า ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยจะต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร แต่เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,225
จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นนายทหารประทวนมียศสิบเอก เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(3) และโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวแม้จะมีพวกของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าอยู่นอกอำนาจศาลทหาร โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ปัญหานี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังหลบหนี โดยไม่ได้ระบุว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยไม่เคยโต้แย้งว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยอ้างในฎีกาเพียงว่า ไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่นอกอำนาจศาลทหาร หรืออีกนัยหนึ่งคือพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารซึ่งเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยปราศจากหลักฐาน รับฟังไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็จะถือว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารกับพวกของจำเลยที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน อันเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 14(1) ศาลแขวงดุสิตซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135-5136/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การรับราชการทหารและการเปลี่ยนทนายไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ แต่คำร้องของจำเลยที่ 2 อ้างเหตุเพียงว่า จำเลยที่ 2 รับราชการทหารกองประจำการประจำอยู่ที่กองพันทหารม้าที่ 2 จังหวัดสระบุรี เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งจากญาติว่าทนายความคนก่อนไม่คัดค้านการที่จำเลยที่ 2 จะแต่งตั้งทนายความคนใหม่ให้ดำเนินคดีในชั้นฎีกา จำเลยที่ 2 จึงขอลาราชการมาหาทนายความคนใหม่ แต่เป็นเวลากะทันหัน เพราะคดีเกี่ยวพันกันสามสำนวนมีพยานบุคคลหลายปาก เอกสารต่าง ๆได้รับจากทนายความคนเดิมไม่ครบ ทนายความคนใหม่ไม่อาจทำฎีกาได้ทันในเวลาที่กำหนด ดังนี้ ข้ออ้างดังกล่าวหาใช่พฤติการณ์พิเศษตามที่กฎหมายบัญญัติไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทหาร-ตำรวจไม่ใช่กฎหมาย การสอบสวนไม่เสีย แม้ผิดข้อตกลง ริบของกลางซ้ำไม่ได้
ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. 2498ข้อ 26 ทวิ มิใช่กฎหมาย แม้มีการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนทหารต้องมีฝ่ายทหารร่วมด้วย หากแก้ไขการสอบสวนให้ถูกต้องแล้ว ถือว่าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทหารประจำการที่ร่วมกระทำผิดกับพลเรือน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ หลังจากวันนั้นพันโทส.นายทหารพระธรรมนูญ ได้เข้าฟังการสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงได้สอบสวนจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมต่อหน้าพันโทส.จำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ ส่วนการสอบสวนพยานอื่นพันโทส.ได้เข้าฟังการสอบสวนพยาน โดยพนักงานสอบสวนได้สอบสวนพยานและได้อ่านสำนวนการสอบสวนทั้งหมดให้พันโทส.ฟังแล้วพันโทส.คงติดใจประเด็นการสอบสวนบางประเด็นจะได้ทำบันทึกให้พนักงานสอบสวนในภายหลัง ส่วนการสอบสวนพยานเพิ่มเติมต่อไปนั้นพันโทส.ไม่ติดใจฟังการสอบสวน จึงฟังได้ว่าการที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยไม่มีฝ่ายทหารเข้าร่วมในการสอบสวนนั้น ได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว การสอบสวนจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับทหาร การเปลี่ยนแปลงสถานะทางทหารหลังฟ้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีอาชีพรับราชการทหารกับพวกคือสิบเอก ส. ร่วมกันกระทำผิดฆ่าผู้ตาย ผู้ตายได้ใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส. ถึงแก่ความตาย ก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าตามฟ้องสิบเอก ส. เป็นนายทหารประทานประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 16(3) เพราะยศทหารมิได้ใช้เฉพาะทหารประจำการเท่านั้น และการที่ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส. อาจเป็นการป้องกันโดยชอบไม่มีความผิดก็ได้ จึงถือว่าผู้ตายกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้ต่อมาโจทก์นำสืบได้ความว่าขณะถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำผิด สิบเอก ส. รับราชการทหาร เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังจากเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 15 วรรคสอง ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ แม้โจทก์จะมิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสิบเอก ส. ขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจศาลซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดข้าราชการทหารเนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อเนื่อง แม้ได้รับโอกาสแก้ไขแล้ว การพิจารณาความผิดในอดีตประกอบได้
โจทก์เคยประพฤติตนไม่เหมาะสมมาก่อนแล้วหลายครั้งหลายหน ซึ่งการประพฤติตนดังกล่าวหาได้ถูกล้างไปตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 มาตรา 5 ไม่ จำเลยซึ่งเป็นหน่วยราชการต้นสังกัดของโจทก์จึงสามารถนำเอาความประพฤติชั่วของโจทก์ในครั้งก่อน ๆ มาพิจารณาประกอบความประพฤติที่ไม่สมควรในครั้งหลัง และถือว่าโจทก์ประพฤติไม่สมควรและประพฤติชั่วหลายครั้งหลายหน ไม่เข็ดหลาบ เป็นประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ปลดโจทก์ออกจากราชการได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งต่อศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
of 5