คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทหารกองเกิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีทหารกองเกินหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ต้องระบุหมายนัดและการขัดขืนอย่างชัดเจน
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ด้วยและหากโจทก์ฟ้องด้วยวาจามีข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ศาลก็จะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป
การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมายนัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัด จำเลยรับหมายนัดแล้วและมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540 แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายเรียกทหารกองเกินและการฟ้องคดีอาญา การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการออกหมายเรียกและรับทราบ
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร ฯ มาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายเรียกทหารกองเกิน: อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการเขตและความครบถ้วนของฟ้อง
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน ไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯมาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ เขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้ การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหาร และกระบวนการตรวจเลือกตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 23ที่บัญญัติว่า การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2498) กำหนดว่า ทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา 23 คือ (2) ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า 21 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง (ก) ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 28 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่าหน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2518) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2518) กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือก วัดขนาด ตรวจร่างกาย ถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือก โจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 และกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหารซ้ำได้ หากกระบวนการตรวจเลือกเดิมไม่สมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองและมาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 23 ที่บัญญัติว่า การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 9(พ.ศ. 2498) กำหนดว่า ทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา 23 คือ (2) ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า 21 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง (ก) ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 28 ทวิ วรรคสองบัญญัติว่า หน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 37(พ.ศ. 2518) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 พ.ศ. 2518 กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือก วัดขนาดตรวจร่างกาย ถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือก โจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหารกองเกิน แม้เคยเข้ารับการตรวจเลือกแล้ว แต่กระบวนการไม่ครบถ้วน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคสองและมาตรา104ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา23ที่บัญญัติว่าการที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใดอายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่9(พ.ศ.2498)กำหนดว่าทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา23คือ(2)ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า21ปีบริบูรณ์ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง(ก)ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา28ทวิวรรคสองบัญญัติว่าหน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่37(พ.ศ.2518)แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่47พ.ศ.2518กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือกวัดขนาดตรวจร่างกายถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลากเมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือกโจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497และกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9306/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตเรียกรับเงินจากทหารกองเกินเพื่อช่วยเหลือหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานเขตภายใต้บังคับบัญชาของหัวหน้าเขตเมื่อหัวหน้าเขตเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.รับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 28 จัตวา (2) หัวหน้าเขตย่อมมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินภายในท้องที่เขตส่งเข้าเป็นทหารกองประจำการได้ และถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.ที่จะต้องปฎิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 นอกเหนือจากการปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสมียนสัสดีเขต ซึ่งเป็นหน้าที่ตามปกติอีกหน้าที่หนึ่งดังนั้น การที่จำเลยเรียกและรับเงินจากบรรดาทหารกองเกินผู้ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยรับจะทำการช่วยเหลือมิให้บรรดาทหารกองเกินเหล่านั้นต้องเข้ารับการตรวจเลือกและไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ จำเลยย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตาม ป.อ.มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9306/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตเรียกรับเงินจากทหารกองเกินเพื่อช่วยเหลือให้หลีกเลี่ยงการตรวจเลือกเข้ากองประจำการ
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานเขตภายใต้บังคับบัญชาของหัวหน้าเขตซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยนัยแห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 28 จัตวา(2)หัวหน้าเขตย่อมมีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 1ให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินภายในเขตท้องที่และถือว่าจำเลยที่ 1เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสมียนสัสดี เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจากบรรดาทหารกองเกินผู้ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการเป็นการตอบแทนที่ช่วยเหลือมิให้ต้องเข้ารับการตรวจเลือกและไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเข้ากองประจำการสำหรับครูทหารกองเกินที่ยังไม่ได้รับการยกเว้นโดยใบสำคัญ
จำเลยรับราชการเป็นครู และเป็นทหารกองเกิน ได้ยื่นเรื่องราวขอยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดยังมิได้ออกใบสำคัญให้จำเลยไว้ ดังนี้ จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะบุคคลที่ได้รับการยกเว้นเรียกเข้ากองประจำการ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา14 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรับราชการทหาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 3
จำเลยได้รับหมายเรียกของนายอำเภอ ซึ่งกำหนดให้จำเลยไปรับการตรวจเลือกเข้ารับราชการกองประจำการ ถึงวันนัดจำเลยไม่ไปรับการตรวจเลือก แม้จำเลยจะคิดว่าจำเลยได้รับการผ่อนผันเพราะยื่นเรื่องราวไปแล้ว จึงไม่ไปรับการตรวจเลือกก็ตาม ก็มิใช่อยู่ในข่ายข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27 ต้องถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากองประจำการตามหมายเรียก ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับราชการทหาร: นายอำเภอต้องประกาศให้ทหารกองเกินไปรับหมายเรียกก่อน จึงจะมีความผิด
ตาม พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา25 นายอำเภอต้องประกาศให้ไปรับหมายเรียกที่อำเภอ ถ้าฟ้องไม่บรรยายความข้อนี้จำเลยรับสารภาพ ก็ลงโทษไม่ได้
of 2