คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทางพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนสิ่งรุกล้ำทางพิพาท แม้ฟ้องผิดฐาน ศาลปรับข้อเท็จจริงได้ หากพยานหลักฐานสนับสนุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดกัน โจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์มานานกว่า 10 ปี ไม่มีบุคคลใดคัดค้านทางดังกล่าวจึงเป็นทางภาระจำยอม ต่อมาจำเลยได้รื้อเสารั้วแนวเขตเดิมแล้วนำมาปักไว้ในทางพิพาท ทำให้ทางพิพาท แคบลงเป็นเหตุให้โจทก์ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ไม่ได้ตามปกติ ขอให้จำเลยรื้อถอนเสารั้วออกไป แม้โจทก์ระบุในคำฟ้องผิดพลาดว่า เป็นทางภาระจำยอมก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้คำฟ้องเสียไป ส่วนทางพิพาทที่ถูกต้องจะเป็นทางอะไรนั้น เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเองเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าเป็นทางสาธารณะ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8727/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทางพิพาท การภารจำยอม และขอบเขตการฟ้องร้อง สิทธิการใช้ทางเข้าออก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้นำโครงเหล็กที่จำเลยวางขายสินค้าออกไปจากทางพิพาทโดยอ้างว่าทางพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การยอมรับว่าทางพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ ไม่ได้ยืนยันว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เพียงแต่ให้การว่าทางพิพาทเป็นเสมือนทางสาธารณะ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำโครงเหล็กของจำเลยออกไปจากทางพิพาทเท่านั้นมิได้ห้ามจำเลยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ จึงถือว่าจำเลยมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิเรื่องการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้โจทก์จดทะเบียนภารจำยอมพื้นที่พิพาทให้เป็นที่วางสินค้าของจำเลย จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้
ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเรียกว่าสามยทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของอาคารตึกแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่อยู่ติดทางพิพาท แต่การที่จำเลยใช้ทางพิพาทวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกิจการค้าของจำเลยเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ ดังนั้น ภารจำยอมจึงไม่อาจเกิดมีขึ้นได้ จำเลยไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8139/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ทางพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งย่อมเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องและเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและฟ้องแย้งย่อมมีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอันเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย นอกจากจำเลยจะไม่ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทแล้ว จำเลยยังมีสิทธิห้ามโจทก์เกี่ยวข้องและใช้ทางพิพาทได้ด้วย ส่วนข้ออ้างของจำเลยจะรับฟังได้หรือไม่ และจำเลยจะเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้หรือไม่ เพียงใดนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาฟ้องแย้งเช่นนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมและมิได้มีเงื่อนไขเลยว่าจะถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อจำเลยต้องแพ้คดีตามคำฟ้องเสียก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิในทางพิพาท: การพิสูจน์เจตนาใช้ทางเพื่อครอบครองเป็นภารจำยอม และขอบเขตค่าทดแทน
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าทางดังกล่าวเป็นทางสาธารณะยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิผ่านทางพิพาทโดยการครอบครองดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปีทางพิพาทก็ไม่เป็นภารจำยอมเพื่อที่ดินของโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ แต่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ปัญหาในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 400,000 บาท จำเลยพอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตทางพิพาท: แก้ไขแนวทางตามแผนที่จริงเพื่อความถูกต้องและไม่กระทบสิทธิผู้อื่น
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม แต่ก็อ้างว่าเป็นทางสาธารณะด้วย ก็เพื่อขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาท ส่วนทางพิพาทจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางสาธารณะก็สุดแล้วแต่ว่าข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าทางพิพาทเป็นทางชนิดใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50 เมตรโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงเป็นอย่างอื่น จึงรับฟังได้เป็นยุติ แต่ตามแผนที่วิวาทแสดงชัดว่าทางพิพาทหาได้มีสภาพเป็นเส้นขนานทับแนวเขตที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นโดยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กันไม่ เพราะบางตอนอาจกินเนื้อที่ของจำเลยน้อยหรือมากแตกต่างกันไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทำทางพิพาทลึกจากแนวเขตเส้นสีดำตามแผนที่วิวาทเข้าไปในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง 1.25 เมตร ตลอดแนวทางพิพาทจึงไม่ตรงกับแนวทางพิพาทตามที่ปรากฏในแผนที่วิวาท และอาจกระทบถึงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็กำหนดแนวเขตชัดเจนเกินไปจนอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแนวเขตทางพิพาทตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความมิได้โต้เถียงกันถึงความถูกต้องได้ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า ให้จำเลยทำทางพิพาทเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยให้เป็นไปตามรูปแผนที่วิวาท โดยให้ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50เมตร ตลอดแนวทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แนวเขตทางพิพาทต้องเป็นไปตามแผนที่ หากศาลชั้นต้น/อุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงตามแผนที่ สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม แต่ก็อ้างว่าเป็นทางสาธารณะด้วย ก็เพื่อขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาท ส่วนทางพิพาทจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางสาธารณะก็สุดแล้วแต่ว่าข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าทางพิพาทเป็นทางชนิดใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50 เมตร โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงเป็นอย่างอื่น จึงรับฟังได้เป็นยุติ แต่ตามแผนที่วิวาทแสดงชัดว่าทางพิพาทหาได้มีสภาพเป็นเส้นขนานทับแนวเขตที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นโดยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กันไม่ เพราะบางตอนอาจกินเนื้อที่ของจำเลยน้อยหรือมากแตกต่างกันไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทำทางพิพาทลึกจากแนวเขตเส้นสีดำตามแผนที่วิวาทเข้าไปในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง 1.25 เมตร ตลอดแนวทางพิพาทจึงไม่ตรงกับแนวทางพิพาทตามที่ปรากฏในแผนที่วิวาท และอาจกระทบถึงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็กำหนดแนวเขตชัดเจนเกินไปจนอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแนวเขตทางพิพาทตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความมิได้โต้เถียงกันถึงความถูกต้องได้ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า ให้จำเลยทำทางพิพาทเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยให้เป็นไปตามรูปแผนที่วิวาท โดยให้ทางพิพาทมีความกว้าง2.50 เมตร ตลอดแนวทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วม (ทางพิพาท) โดยถือวิสาสะ ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค. และ พ. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มี ค.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่4 หลัง รวมทั้งบ้านของ ค. บ้านของ ค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ค.ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกัน หลังจากค.ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภาระจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่สมบูรณ์หากไม่ได้จดทะเบียน & ทางสาธารณะยังคงสภาพ แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์
แม้ ท. เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณี ที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อ ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อม ไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งและคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วยเมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มี ผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท แก่โจทก์ การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะ เมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าว กีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎร ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้ คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะ อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความและสิทธิในการใช้ทางพิพาท
ที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงแรก ภริยาของโจทก์ที่ 1 ซื้อมาจากป. โดยก่อนที่จะซื้อโจทก์ที่ 1 ได้เช่าที่ดินดังกล่าวจาก ป.เพื่อทำนา และขณะที่ ป.ยังเป็นเจ้าของที่ดิน ป.ได้ขออนุญาตจากจำเลยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ดังนั้นตลอดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ใช้เส้นทางพิพาทในระหว่างที่โจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินดังกล่าวจาก ป. จึงเป็นการอาศัยสิทธิของ ป.ที่ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ใช้ได้ มิใช่ใช้ในนามของตนเอง ดังนี้โจทก์ที่ 1 จะนับระยะเวลาช่วงดังกล่าวมารวมคิดเพื่อให้ได้ซึ่งสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความไม่ได้
การใช้ทางพิพาทของผู้ใช้ทางพิพาท เมื่อไม่ได้ความว่าผู้นั้นเคยขออนุญาตจากจำเลยหรือให้ค่าทดแทนแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออก ทั้งตามพฤติการณ์ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะ จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อจำเลยผู้เป็นเจ้าของทางพิพาท เมื่อใช้มาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของผู้ที่ใช้ทางดังกล่าวนั้นโดยอายุความ
เมื่อการกระทำของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าเข้าไปกลบร่องน้ำในทางพิพาท เป็นเรื่องที่โจทก์กระทำได้เพื่อรักษาสิทธิตามปกติในการใช้ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอม เนื่องจากการขุดร่องน้ำของจำเลยดังกล่าวทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางพิพาทเสื่อมความสะดวกลง ซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1390 ดังนี้ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินไม่มีทางออก - ทางพิพาทจำเป็น - ที่ดินติดทางสาธารณประโยชน์แต่กีดขวาง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินของจำเลยทั้งสองที่มีทางพิพาทผ่าน เมื่อปรากฎว่าที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้แต่เดิมติดกับทางสาธารณประโยชน์ซึ่งประชาชนทั่วไปได้ใช้ผ่านเข้าออกอยู่แล้ว และต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินอีก 2 แปลง คือเลขที่ 807 และ 808 ที่ดินของโจทก์ทั้งสามแปลงจึงติดกับทางสาธารณประโยชน์ การที่ต่อมาโจทก์ได้ปักรั้วเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ทางด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์จนติดที่ดินของจำเลยที่ 2 ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ไม่สามารถใช้เดินได้ โจทก์จึงเข้าออกทางสาธารณประโยชน์นั้นไม่ได้อีก ดังนี้กรณีจะถือว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น และโจทก์จะมาร้องขอให้ศาลบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เปิดทางพิพาททางจำเป็นหาได้ไม่
of 7