พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุ้มครองชั่วคราวทางภารจำยอม/จำเป็น: ศาลพิจารณาจากมูลเหตุฟ้องและเหตุผลความจำเป็นก่อนพิพากษา
ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ชั่วคราวก่อนพิพากษา เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2), 255 แล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้น ทำลาย หรือห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและให้ทำทางพิพาทให้มีสภาพเดิมกว้างยาวตามคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยจะอุทธรณ์ขอให้กลับคำสั่งดังกล่าวจะต้องโต้เถียงว่าวิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ตามมาตรา 254 (2) นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม ส่วนปัญหาว่าทางพิพาทกว้างยาวเพียงใดในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทางภารจำยอม/จำเป็น: ศาลมีอำนาจสั่งคุ้มครองหากมีมูลและเหตุเพียงพอ แม้ยังต้องพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่า ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น ขอให้ห้ามจำเลยปิดกั้นหรือทำลายทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยขอให้มีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้นและทำลายทางพิพาทและให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)เมื่อศาลชั้นต้นพอใจว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ จำเลยจะต้องโต้เถียงว่า วิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม การที่จำเลยอุทธรณ์ยกเหตุโต้เถียงเพียงว่า ทางพิพาทไม่เคยมีมาก่อน หรือทางพิพาทกว้างประมาณ 3 วา และยาวประมาณ 15 วา นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270-6271/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอม-ทางจำเป็น: การใช้ที่ดินของผู้อื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเกิน 10 ปี และการเสียหายจากการถูกปิดกั้น
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะส่วนที่ดินของจำเลยอยู่ติดถนนและอยู่ด้านหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงเรียกร้องที่ดินของจำเลยให้เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่เคยยกข้อต่อสู้เรื่องทางจำเป็นในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยก็ตาม ก็หาทำให้ทางจำเป็นซึ่งเป็นผลโดยกฎหมายเสียไปไม่
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น vs. ทางภารจำยอม การกำหนดค่าทดแทนความเสียหาย และขนาดของทางผ่าน
การเรียกร้องเอาทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นกรณีที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนที่ดินกันจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ หมายความว่า ที่ดินแปลงเดิมก่อนแบ่งแยกมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะและการแบ่งแยกเป็นเหตุให้แปลงที่แบ่งแยกแปลงใดแปลงหนึ่งออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้เฉพาะที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เมื่อที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียวและตามสภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็นและที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1349 วรรคหนึ่งต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน
เมื่อที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียวและตามสภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็นและที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1349 วรรคหนึ่งต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภารจำยอม: ศาลกำหนดความกว้างได้หากคำพิพากษาไม่ได้กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้เป็นทางเดิน
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภารจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืน: กรณีทางภารจำยอม vs. ทางจำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ส. ฟ้องคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. มอบอำนาจให้ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าทดแทนให้ คำฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของช. โจทก์หาได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวไม่ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้นหมายถึง บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะ เพราะที่ดินของบุคคลนั้นมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะหรือที่เรียกว่าทางจำเป็น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349และเฉพาะกรณีที่บุคคลผู้เสียสิทธิการใช้ทางได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387ถึงมาตรา 1401 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของ ช.จะถูกเวนคืนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิ ในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่า จำเลยทั้งสองจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทาง ภารจำยอม นั้นหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมเกิดจากการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง แม้ใช้เฉพาะช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ก็ถือเป็นภารจำยอมได้
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีนั้น ย่อมทำให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเท่านั้น มิใช่ตกเป็นภารจำยอมตลอดทั้งปี เมื่อจำเลยทั้งสามทำคันดินกั้นทางพิพาทกับนำท่อนไม้มาขวางไว้ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ต้องรื้อถอนคันดินกับท่อนไม้เปิดทางพิพาทห้ามเกี่ยวข้องและต้องชดใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมได้มาจากการครอบครองโดยสงบและเปิดเผย การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภารจำยอม
การที่จะได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401นั้นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์จะต้องใช้ทางผ่านที่ดินภารยทรัพย์โดยมิได้ขออนุญาตจากเจ้าของและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะติดต่อกันมาเกิน10ปีห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ได้ดำเนินการจัดสรรแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยปลูกตึกแถวขายพร้อมที่ดินประมาณ40คูหาแก่บุคคลทั่วไปโดยเหลือที่ดินทำเป็นถนนตรงกลางคือทางพิพาทเพื่อให้บุคคลที่มาซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แสดงออกโดยชัดแจ้งต่อบุคคลที่มาซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินว่าไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในทางพิพาทโดยยอมให้บุคคลที่ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินใช้ทางพิพาทอันกระทบถึงสิทธิของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางพิพาทบิดาโจทก์ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินและได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี2505จึงมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมที่ดินและตึกแถวเป็นมรดกตกทอดได้แก่โจทก์โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทเช่นเดียวกับบิดาโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตจากใครและมิได้ใช้โดยถือวิสาสะไม่เคยมีใครมาห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและเมื่อจำเลยที่1ซื้อที่ดินโฉนดทางพิพาทจากกรมบังคับคดีเมื่อปี2527จำเลยที่1ก็ไม่เคยห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทจำเลยก็ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมเพียงแต่โต้แย้งว่าไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกลงดังนี้ถือได้ว่าบิดาโจทก์และโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อจะให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยไม่จำต้องแสดงเจตนาเป็นเจ้าของการที่จำเลยที่1เก็บค่าเช่าจากพวกพ่อค้าที่มาตั้งแผงขายสินค้าบริเวณสองข้างทางพิพาทจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทต่อบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความของโจทก์ บิดาโจทก์ใช้ทางพิพาทมาตั้งแต่ปี2505อายุความที่จะได้สิทธิจึงเริ่มนับตั้งแต่ปี2505เมื่อโจทก์รับมรดกที่ดินจากบิดาโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากอายุความนั้นด้วยและนับติดต่อกันกับช่วงที่โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากบิดานับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน10ปีทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ปากทางพิพาทนี้เดิมกว้าง6.80เมตรเมื่อจำเลยที่1สร้างอาคาร6ชั้นคร่อมปากทางเสาและผนังอาคารกินทางเข้ามาข้างละ65เซนติเมตรจึงทำให้ทางพิพาทแคบเข้า1.30เมตรคงเหลือเป็นทางอยู่5.50เมตรการกระทำของจำเลยที่1เจ้าของภารยทรัพย์เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดลงไปและเสื่อมความสะดวกเพราะเดิมทางกว้าง6.80เมตรรถยนต์วิ่งสวนกันเข้าออกได้สะดวกเมื่อทางเหลือเพียง5.50เมตรรถยนต์ย่อมวิ่งเข้าออกสวนกันไม่ได้สะดวกถึงแม้จำเลยที่1จะได้ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่รู้ว่าที่พิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และที่ดินของผู้ที่ซื้อที่ดินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ผู้จัดสรรขายแล้วก็ตามก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นสภาพไปจำเลยที่1จึงต้องรื้ออาคารที่จำเลยที่1ปลูกสร้างคร่อมทางภารจำยอมออกไปการที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปลูกสร้างอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่1จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรื้อถอนอาคารพิพาทถึงแม้คำสั่งของจำเลยที่2จะชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อาจลบล้างสิทธิการได้ทางภารจำยอมของโจทก์ได้ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่1รื้อถอนอาคารพิพาทออกจากทางภารจำยอมแล้วจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่2ที่อนุญาตให้จำเลยที่1ทำการปลูกสร้างอาคารพิพาทนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นและทางภารจำยอม: การใช้ทางผ่านที่ดินผู้อื่นเมื่อที่ดินตนถูกล้อมรอบ
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และบ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ. เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นานอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตร การใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างผนัง กั้นน้ำเค็ม ซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างผนังกั้นน้ำเค็ม แล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็ม ตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาท จึงเป็นภารจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภารจำยอมในขณะเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นและทางภารจำยอม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการกำหนดความกว้างของทางจำเป็น และการวินิจฉัยประเด็นทางภารจำยอมที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมกว้าง 1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภารจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์