พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นสิ้นสุดเมื่อมีทางภาระจำยอมอื่น แม้มีการแบ่งขายที่ดินภายหลังก็ไม่อาจฟ้องเรียกทางจำเป็นเดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ใช้ออกสู่ทางสาธารณะ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งที่ดินของโจทก์จะต้องไม่มีทางออกถึงสาธารณะโดยทางอื่นได้ เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมที่จะผ่านทางในที่ดินข้างเคียงแปลงอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามกฎหมาย อำนาจฟ้องเอาทางจำเป็นของโจทก์ตามมาตรา 1349 ย่อมหมดสิ้นไป ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าขณะฟ้องโจทก์ไม่มีทางอื่นนอกจากทางพิพาทสู่ทางสาธารณะหรือไม่
โจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไปในเวลาต่อมา แม้จะเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ แต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างจากเหตุที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องอันเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิตามกฎหมายในกรณีดังกล่าวอย่างไรต้องว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ขอให้ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ประสงค์ให้เปิดทางพิพาทในฐานะเป็นทางจำเป็นแต่ประการเดียว มิได้อ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมด้วย การที่โจทก์ฎีกาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จึงเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7
โจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไปในเวลาต่อมา แม้จะเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ แต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างจากเหตุที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องอันเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิตามกฎหมายในกรณีดังกล่าวอย่างไรต้องว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ขอให้ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ประสงค์ให้เปิดทางพิพาทในฐานะเป็นทางจำเป็นแต่ประการเดียว มิได้อ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมด้วย การที่โจทก์ฎีกาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จึงเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมจากการจัดสรรที่ดิน: สิทธิการใช้ทาง และข้อจำกัดสิทธิเจ้าของที่ดิน
ล. ก่อสร้างตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ลงบนที่ดินแปลงย่อยซึ่งแบ่งจากที่ดินแปลงใหญ่รวม 121 คูหา เรียงติดต่อกัน การที่ อ. จัดจำหน่ายที่ดินพร้อมตึกแถวตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป โดยมีทางเท้าและถนนผ่านหน้าตึก โครงการ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะจึงถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ดังนั้น ทางเท้าที่ดินพิพาทของโจทก์ ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ปัญหานี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะ มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9248/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและทางภาระจำยอมเมื่อที่ดินถูกล้อม - การบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย
โจทก์ตั้งรูปคดีโดยบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่และขอผ่านที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์เพื่อเป็นทางจำเป็นออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอม ซึ่งจำเลยต้องยอมรับภาระบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ ตามคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางจำเป็น แต่ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิใช้ได้ ก็ขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านให้แก่จำเลยแม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และต่อสู้คดีว่าจำเลยควรได้รับค่าทดแทนเพื่อความเสียหายในการใช้ทางเพียงครั้งเดียวไม่เกิน 20,000 บาท ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องเพื่อเพิ่มเติมให้มีประเด็นในเรื่องทางภาระจำยอม คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทแต่เฉพาะเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นเท่านั้น ปํญหาที่ว่าที่ดินของจำเลยตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งมีแนวเขตติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 และสามารถใช้ถนนคอนกรีตในที่ดินโฉนดดังกล่าวเป็นทางจำเป็นผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยจึงทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกล้อมอยู่จนไม่มีทางออก กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์ก็ชอบที่จะใช้ที่ดินซึ่งแบ่งแยกออกมาและกันไว้เป็นทางไปยังถนนคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 เพื่อออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนได้อยู่แล้ว โจทก์จะเลือกใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นของจำเลยไม่ได้
โจทก์มีสิทธิใช้ถนนบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย แม้มีการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยไปเป็นของผู้อื่น โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดให้จำเลย
จดทะเบียนสิทธิทางจำเป็นแก่โจทก์
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งมีแนวเขตติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 และสามารถใช้ถนนคอนกรีตในที่ดินโฉนดดังกล่าวเป็นทางจำเป็นผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยจึงทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกล้อมอยู่จนไม่มีทางออก กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์ก็ชอบที่จะใช้ที่ดินซึ่งแบ่งแยกออกมาและกันไว้เป็นทางไปยังถนนคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 เพื่อออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนได้อยู่แล้ว โจทก์จะเลือกใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นของจำเลยไม่ได้
โจทก์มีสิทธิใช้ถนนบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย แม้มีการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยไปเป็นของผู้อื่น โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดให้จำเลย
จดทะเบียนสิทธิทางจำเป็นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอมโดยอายุความและการกำหนดค่าทนายความเกินอัตรา
จำเลยที่ 1 กับ ย. เข้าหุ้นกันซื้อที่ดินแล้วนำมาจัดสรรขาย ในการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวได้เว้นที่ดินพิพาทเป็นถนนซอยสำหรับให้ที่ดินที่อยู่ด้านหลังเป็นทางเข้าออก เพื่อให้เห็นว่าที่ดินที่อยู่ด้านหน้า 9 แปลง กับที่ดินที่อยู่ด้านหลัง 3 แปลง ไม่ติดต่อกันโดยมีที่ดินพิพาทของบุคคลอื่นคั่นอยู่ และให้ ย. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตจัดสรรที่ดินขายต่อทางราชการในที่ดินเกินกว่า 10 แปลงขึ้นไป การตกลงแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ย. จึงหาใช่เจตนาอันแท้จริงของบุคคลทั้งสอง แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาเว้นที่ดินพิพาทไว้เพื่อเป็นทางเข้าสู่ถนนสาธารณะสำหรับที่ดินพิพาทที่อยู่ด้านหลังมาตั้งแต่แรก แม้ พ. ผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เพียงแต่ใช้รถยนต์ผ่านที่ดินพิพาทเข้าไป ก็ถือได้ว่าใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกแล้ว และนับแต่ พ. ซื้อที่ดินดังกล่าวถึงวันที่ขายให้แก่โจทก์เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 แม้ พ. จะไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิภาระจำยอมก็ตาม
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าทนายความโจทก์เกินไปกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงที่ตาราง 6 กำหนด และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมาโดยไม่แก้ไขเป็นการไม่ถูกต้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าทนายความโจทก์เกินไปกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงที่ตาราง 6 กำหนด และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมาโดยไม่แก้ไขเป็นการไม่ถูกต้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำทางภาระจำยอม แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา และสิทธิสามารถตกทอดไปยังทายาทได้
ที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ก.และที่ดินของจำเลยไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ช.มารดาของโจทก์ ก.จำเลย และ ฉ.จึงได้ตกลงทำทางพิพาทเพื่อให้ครอบครัวของ ช.จำเลย และ ก.ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนร่วมกัน โดย ช.เป็นผู้ออกเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้แก่ ฉ. การที่ ช.ได้จ่ายเงินให้แก่ ฉ.เช่นนี้ทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยด้วย เพราะหากจำเลยไม่ยินยอมให้ทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยแล้วก็ไม่มีเหตุผลใดที่ ช.จะยินยอมจ่ายค่าตอบแทนการผ่านที่ดินให้แก่ ฉ.เนื่องจากข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยได้ตกลงยินยอมให้ ช.มารดาของโจทก์ทำและใช้ทางพิพาทในส่วนที่ผ่านที่ดินของจำเลย สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวของ ช.โดยแท้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมสิทธินี้จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของ ช.ย่อมอาศัยข้อตกลงดังกล่าวฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกในฐานะที่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมีสิทธิปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยหรือไม่ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางเข้าออกของโจทก์ตามข้อตกลงระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกินไปกว่าคำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ทางภาระจำยอม-เจตนาบุกรุก: การรื้อรั้วตามคำพิพากษาศาลแพ่ง ไม่ถือเป็นการบุกรุกหากเชื่อสุจริต
ศาลพิพากษาให้ที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมของที่ดินจำเลยที่ 1 โดยให้รื้อรั้วที่ปิดกั้นทางเข้าออกหลังตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ออก และให้โจทก์ไปจดทะเบียนภารจำยอม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางเข้าออกสู่สาธารณะได้ แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและขอทุเลาการบังคับคดีก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ตามคำพิพากษาแต่ประการใด จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์ได้
การที่ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาจนมีการจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเหตุผลให้จำเลยทั้งสองเชื่อโดยสุจริตว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางภารจำยอมเข้าออกสู่ที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมีเหตุผลให้เข้าใจไปได้ว่า การที่โจทก์ยังคงขัดขืนเพิกเฉยไม่ยอมรื้อรั้วเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล การที่จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เพื่อรื้อรั้วออกจึงเป็นการเข้าไปโดยเชื่อว่าตนเองมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางเข้าออกตามคำพิพากษา หาใช่เป็นการเข้าไปโดยลุแก่อำนาจโดยมีเจตนารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยปกติสุขไม่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาบุกรุกที่ดินของโจทก์
การที่ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาจนมีการจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเหตุผลให้จำเลยทั้งสองเชื่อโดยสุจริตว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางภารจำยอมเข้าออกสู่ที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมีเหตุผลให้เข้าใจไปได้ว่า การที่โจทก์ยังคงขัดขืนเพิกเฉยไม่ยอมรื้อรั้วเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล การที่จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เพื่อรื้อรั้วออกจึงเป็นการเข้าไปโดยเชื่อว่าตนเองมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางเข้าออกตามคำพิพากษา หาใช่เป็นการเข้าไปโดยลุแก่อำนาจโดยมีเจตนารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยปกติสุขไม่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาบุกรุกที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภาระจำยอม: ศาลมีอำนาจกำหนดความกว้างของทางเดินภาระจำยอมตามความจำเป็น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปได้
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภาระจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยทางจำเป็นได้ แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นทางภาระจำยอม และต้องระบุความกว้างของทางจำเป็นให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมกว้าง1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภาระจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภาระจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินโดยปริยาย ทางภาระจำยอม และสิทธิการใช้ทางของผู้ซื้อ
แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัท ก.เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 และที่ดินโฉนดเลขที่ 31569 ส่วนที่เป็นทางพิพาทนั้นเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกระทำของบริษัท ก.ที่แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 90 แปลง เพื่อขายนั้น เป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่าบริษัท ก.จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาท อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30
การที่บริษัท ก.จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของบริษัท ก.ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ดังนั้นทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินที่จัดสรรและที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ก.จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อจากบริษัท ก.ย่อมอยู่ในบังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 ที่จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้
โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวในที่ดินจัดสรรดังกล่าว ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ การที่มีการก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อที่ดินแปลงที่ทางภาระจำยอมตั้งอยู่โอนมาเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางภาระจำยอมได้
การที่บริษัท ก.จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของบริษัท ก.ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ดังนั้นทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินที่จัดสรรและที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ก.จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อจากบริษัท ก.ย่อมอยู่ในบังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 ที่จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้
โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวในที่ดินจัดสรรดังกล่าว ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ การที่มีการก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อที่ดินแปลงที่ทางภาระจำยอมตั้งอยู่โอนมาเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น ทางภาระจำยอม การใช้ทางสัญจร และขอบเขตความรับผิดทางละเมิด
คลองแคมีกว้างประมาณ6เมตรแม้จะมีน้ำตลอดปีแต่ก็มีสภาพเน่าเสียร่องน้ำตรงกลางกว้างประมาณ1เมตรริมคลองมีต้นกก บางส่วนของคลองตื้นเขินปัจจุบันไม่ค่อยมีเรือผ่านเนื่องจากมีถนนสาธารณะเลียบริมคลองชาวบ้านใช้รถยนต์ไม่ใช้เรือดังนั้นคลองแคจึงไม่อยู่ในสภาพที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมาตามปกติไม่ใช่ทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349เมื่อที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จึงต้องออกทางพิพาทไปสู่ถนนสาธารณะประโยชน์ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามสภาพสามารถใช้รถยนต์แล่นผ่านได้โจทก์จึงนำรถยนต์บรรทุกแล่นผ่านทางพิพาทได้เพราะเป็นการใช้ทางพิพาทสัญจรตามปกติโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลย การที่จำเลยใช้ไม้ปิดกั้นมิให้โจทก์นำรถยนต์บรรทุกเข้าไปถมดินในที่ดินของโจทก์นั้นเนื่องจากรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักมากอาจเกิดความเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยได้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีอำนาจที่จะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยมิได้มีเจตนาจะแกล้งให้โจทก์ต้องได้รับความเสียหายและมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์