คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทำซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์แจ้งความและขอบเขตความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การทำซ้ำ vs. การเผยแพร่
เจตนารมณ์ของกฎหมายในการร้องทุกข์ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและประสงค์จะให้มีการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ร. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และต่อมาได้นำเจ้าพนักงานตำรวจค้นร้านที่เกิดเหตุและจับจำเลยส่งพนักงานสอบสวน จากนั้น ร. จึงได้ร้องทุกข์อีกครั้ง โดยการร้องทุกข์ครั้งหลังมีข้อความระบุถึงตัวผู้กระทำผิดและลักษณะของความผิดชัดเจนถือได้ว่าคดีนี้มีการร้องทุกข์โดยชอบและทำให้การสอบสวนในเวลาต่อมาชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายโดยนำเอางานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามฟ้องไปบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูล แล้วแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาภาพและเสียง แพร่ภาพ เนื้อร้อง และทำนองทางจอมอนิเตอร์ และแพร่เสียงทางลำโพงสำหรับลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 29 และ 69 แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่งงานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำผิดเกี่ยวกับการแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2) และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผยแพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (3) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง รวมถึงสิทธิในการทำซ้ำในรูปแบบต่างๆ แม้จะยังไม่มีเทคโนโลยีในขณะทำสัญญา
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 ให้ความคุ้มครองงานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียงเป็นเวลา 50 ปี เช่นเดียวกับอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมและโสตทัศนวัสดุตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ทั้งนี้ตามมาตรา 19 วรรคท้าย และ 21 โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขาย ลงวันที่ 1 เมษายน 2518 ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเพลงและเทปต้นแบบที่บันทึกเพลงตามคำฟ้องของโจทก์เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2542 โจทก์จึงยังคงมีลิขสิทธิ์ในงานเพลงและเทปต้นแบบนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิต่าง ๆ แต่ผู้เดียวในงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 รวมถึงสิทธิในการทำซ้ำ เทปต้นแบบดังกล่าวโดยการบันทึกเสียงลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ หรือในรูปแบบใดที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีกซึ่งรวมทั้งการบันทึกเสียงในรูปเทปคาสเซตด้วย
ตามสัญญาซื้อขายงานเพลงระหว่างโจทก์ และ ป. สามีจำเลยที่ 3 ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ ในงานเพลงทั้งหมดและในเทปต้นแบบที่บันทึกงานเพลงพิพาท มิใช่เป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์เฉพาะสิทธิให้นำงานเพลงตามคำฟ้องไปผลิตหรือบันทึกในรูปแบบแผ่นเสียงเท่านั้น นอกจากนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 มาตรา 9 (1) และ 17 ยังบัญญัติให้ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำดนตรีกรรมนั้นเพื่อให้ใช้ได้ด้วยเครื่องกลอันทำให้เกิดเสียงดนตรีนั้นขึ้นอีก และมีลิขสิทธิ์ในสิ่งซึ่งทำโดยวิธีอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดเสียงซ้ำได้ด้วยเครื่องกลซึ่งหมายถึงสิ่งบันทึกเสียงในรูปแบบอื่น ๆ ที่จะมีในอนาคตด้วย ดังนี้แม้ในขณะทำสัญญาดังกล่าวในปี 2518 จะยังไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกเสียงเพลงในรูปของเทปคาสเซตก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ได้มาจากการประมูลตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวย่อมรวมถึงสิทธิที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลงดนตรีกรรม แผ่นเสียง และเทปต้นแบบที่บันทึกเสียงเพลงตามคำฟ้อง โดยการบันทึกเสียงเพลงนั้นลงในวัสดุใดหรือทำออกมาในรูปแบบใดที่จะมีในอนาคตซึ่งรวมทั้งเทปคาสเซตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์: การทำซ้ำ ดัดแปลง และจำหน่ายหนังสือโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ก็ไม่เข้าข้อยกเว้น
ขณะที่โจทก์เขียนหนังสือ "คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" และหนังสือ "คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานก.พ. มีหน้าที่โดยตรงในการประเมินผลการฝึกอบรม แต่ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดทำเอกสารหรือเขียนตำราทางวิชาการเพื่อใช้ในการฝึกอบรม การที่โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวขึ้นจึงไม่ถือว่าเป็นงานที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ในกรอบงานของโจทก์ และสำนักงานก.พ. ซึ่งโจทก์สังกัดก็มิได้มีคำสั่งให้โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวหรือมีการจ่ายค่าตอบแทนให้ โจทก์เขียนหนังสือทั้งสองเล่มนอกเวลาราชการ โจทก์ได้กำหนดเค้าโครงการเขียนและสารบัญรวมทั้งได้เขียนอธิบายเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ละประเด็นโดยใช้ถ้อยคำและคำอธิบายของโจทก์ใหม่ทั้งหมดตามความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ทำขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมในหนังสือดังกล่าวจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มิใช่สำนักงาน ก.พ. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 14
แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง บุคคลสามารถที่จะนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น หากจำเลยที่ 1 นำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมของบุคคลอื่นรวมทั้งของโจทก์ไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน จำเลยที่ 1 จะต้องสร้างงานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 15(1) ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27(1)
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 มีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ "คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" และ "คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" ของโจทก์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า ข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำบางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อย และบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดพิมพ์หนังสือขึ้นโดยมิได้แสวงหากำไรทางการค้า แต่จำเลยที่ 1 กลับอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการของมหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ จึงเป็นอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
มหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 เผยแพร่ตำราและสิ่งตีพิมพ์ตั้งราคาจำหน่ายหนังสือใกล้เคียงกับต้นทุน ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สังกัดจำเลยที่ 2 ได้รับค่าตอบแทนจากงานเขียน แสดงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว แม้จะไม่ได้หากำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ การจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งหนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32 วรรคสอง และมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร แม้จำเลยที่ 1 เขียนหนังสือ"กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนและเป็นผลงานทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 ใช้ประกอบการพิจารณาขอรับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อันอาจถือได้ว่าเป็นการวิจัยงานหรือทำซ้ำและดัดแปลงโดยผู้สอนเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา โดยไม่ได้หากำไรซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคสอง (1) และ (7) แต่จำเลยที่ 1 ได้กระทำการถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนงานเขียนดังกล่าว แม้จะได้รับในอัตราต่ำสุดก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
การคัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันอาจจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะต้องเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์บางตอนตามสมควรและมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะคัด ลอกหรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอนแต่การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์มาบางตอนดังกล่าวล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญและมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 เป็นหนังสือคำอธิบายเกี่ยวกับการฝึกอบรมขนาด 8 หน้ายก ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 1 นำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลยที่ 1 ดังที่จำเลยที่ 1ได้กระทำแล้วในส่วนอื่น ๆ ของหนังสือดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างอิงถึงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนรวม 26 รายการ ไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงที่ท้ายเล่มผู้อ่านย่อมไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 คัดลอกมา จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 33
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" มีการจัดพิมพ์จำหน่ายรวม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1จำนวน 500 เล่ม และครั้งที่ 2 จำนวน 1,000 เล่ม มีวางจำหน่ายที่ร้านขายหนังสือในราคาเล่มละ 165 บาท โดยจำเลยที่ 1 ได้ทำซ้ำและดัดแปลงข้อความและสาระสำคัญต่าง ๆ จากหนังสือของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า เมื่อจำเลยที่ 1 จัดทำหนังสือซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นออกจำหน่าย จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 32 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการค้าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกัน
การทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบแม่พิมพ์ (แสตมป์เปอร์) 21 แผ่น เพื่อเป็นต้นแบบของการผลิตแผ่นซีดีเกมส์เพลย์สเตชั่น 94 , 404 แผ่น ออกจำหน่ายเพื่อประสงค์ในทางการค้า ซึ่งการทำซ้ำทั้งสองครั้งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันจึงมีเจตนาเดียวกัน การทำซ้ำทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการกระทำไม่ต่างกัน ถือเป็นความผิดกรรมเดียวกันและผิดต่อกฎหมายบทเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบและแผ่นซีดีเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวกัน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยทำซ้ำทั้งสองครั้งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันและทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบแม่พิมพ์ 21 แผ่น ก็เพื่อเป็นต้นแบบของการผลิตซีดีเกมส์เพลย์สเตชั่น 94,404 แผ่น ออกจำหน่ายเพื่อประสงค์ในทางการค้าเช่นเดียวกัน จึงมีเจตนาเดียวกัน การทำซ้ำทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการกระทำไม่ต่างกัน ถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 30(1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์จากการทำซ้ำและจำหน่ายเอกสาร: การพิสูจน์ข้อยกเว้นและผลการริบของกลาง
จำเลยนำเครื่องถ่ายเอกสารทำสำเนาจากต้นฉบับหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามเป็นเล่ม จำนวน 71 เล่ม หนังสือยังไม่เข้าเล่มจำนวน 290 ชุด และเอกสารเป็นแผ่นจำนวน 158 ชุด (6,162 แผ่น)ของกลาง อันเป็นความผิดฐานทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ที่จำเลยกล่าวอ้างข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายว่า จำเลยซึ่งมีอาชีพรับจ้างถ่ายสำเนาเอกสารได้ถ่ายสำเนาเอกสารของกลางตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างคือนักศึกษาที่นำไปใช้เพื่อการศึกษาหรือวิจัย ได้รับการยกเว้นมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นตามข้อกล่าวอ้างของตน
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสาม และนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำซ้ำหรือดัดแปลงสิ่งมีลิขสิทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่าม้วนเทปของกลางเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ และคดีไม่ได้ความว่าม้วนเทปของกลางได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลง แม้จำเลยจะมีม้วนเทปของกลางไว้ให้เช่า เสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์: การให้เช่า/โฆษณางานละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องพิสูจน์ว่ามีการทำซ้ำหรือดัดแปลง
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 27 จะต้องได้ความว่างานที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ให้เช่าเสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณานั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำ หรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์แต่ม้วนเทปของกลางมิได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลงดังนั้น แม้จำเลยจะมีม้วนเทปของกลางไว้ให้เช่าเสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์: การให้เช่า/โฆษณาต้องเป็นงานที่ทำซ้ำ/ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่าม้วนเทปของกลางเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ และคดีไม่ได้ความว่าม้วนเทปของกลางได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลง แม้จำเลยจะมีม้วนเทปของกลางไว้ให้เช่า เสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้เช่าวีดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องพิสูจน์การทำซ้ำหรือดัดแปลง หากไม่มีหลักฐานการกระทำดังกล่าว การให้เช่าจึงไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 13,24,25,26,43 และมาตรา 27,44 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 27,44 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ ความผิดตามมาตรา 13,24,25,26,43 เป็นอันยุติคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเฉพาะมาตรา 27,44 ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27คดีจะต้องได้ความว่างานที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ให้เช่า เสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณานั้น จะต้องเป็นงานที่ถูกทำซ้ำ หรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่คดีนี้ไม่ได้ความว่าม้วนเทปของกลางได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือไม่ทั้งฎีกาโจทก์ก็มิได้ยืนยันความดังกล่าว กลับกล่าวอ้างว่าม้วนเทปของกลางเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยนำให้เช่า เสนอให้เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น คดีจึงต้องฟังว่าม้วนเทปของกลางมิได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27
of 2