พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินและการทำเหมืองแร่: สิทธิแยกต่างหาก โอนสิทธิได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครองครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้พื้นที่ประทานบัตรทำเหมืองแร่เพื่อเกษตรกรรม แม้เป็นการค้า ศาลยกคำสั่งระงับ
จำเลยรับโอนประทานบัตรจากบริษัทซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมทรัพยากรธรณีให้ทำเหมืองแร่ดีบุกโดยวิธีเหมืองเรือขุดบริเวณป่าชายเลนที่เกิดเหตุเนื้อที่ 591 ไร่เศษ แต่ต่อมาราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกตกต่ำทำให้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จำเลยจึงขออนุญาตหยุดการทำเหมืองแร่เป็นรายปี ระหว่างการหยุดทำเหมืองจำเลยทำบ่อเลี้ยงกุ้งในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรรวม 11 บ่อ เนื้อที่100 ไร่เศษ การที่ทรัพยากรธรณีจังหวัดที่เกิดเหตุมีคำสั่งให้จำเลยระงับการใช้พื้นที่ประทานบัตรเพื่อเลี้ยงกุ้ง และให้ถมหรือทำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองแร่ให้เป็นไปในสภาพเดิมภายใน 10 วัน และจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม แต่พื้นที่ที่จำเลยใช้เลี้ยงกุ้งในเขตประทานบัตรดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดการทำเหมืองได้จริง และการเลี้ยงกุ้งหรือทำนากุ้งของจำเลยในพื้นที่ประทานบัตรที่เกิดเหตุเป็นการกระทำเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 73 (3)แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้กระทำในเชิงพาณิชย์ไว้ ทั้งมิได้กำหนดไว้ว่าพื้นที่ดังกล่าวให้ทำเพื่อเกษตรกรรมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่จำเลยจะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการเกษตรกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม คำสั่งของทรัพยากรธรณีจังหวัดที่ให้จำเลยระงับใช้พื้นที่ประทานบัตรทำนากุ้ง และให้ทำที่ดินให้เหมือนสภาพเดิมภายใน 90 วัน จึงเป็นการมิชอบ แม้จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินและสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก การสิ้นสุดประทานบัตรไม่ทำให้สิทธิครอบครองเดิมสิ้นสุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย โดยโจทก์ซื้อสิทธิในกิจการเหมืองแร่และสิทธิในการครอบครองที่ดินจากบริษัท ซ. และโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนเองมาโดยตลอด ตามคำฟ้องโจทก์นอกจากจะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการทำเหมืองแร่โดยรับโอนสิทธิตามประทานบัตรแล้ว ยังได้กล่าวอ้างมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อหรือรับโอนมาจากเจ้าของที่ดินเดิมอีกด้วย สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่แต่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย โจทก์จึงสามารถมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตประทานบัตรการทำเหมืองแร่ได้
โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำเหมืองแร่และปลูกต้นไม้ในที่ดินที่พิพาทมาโดยตลอดแม้เจ้าของที่ดินเดิมได้แจ้งแก่นายอำเภอให้ทราบว่า เจ้าของที่ดินเดิมแต่ละคนที่ยื่นแบบแจ้งการครอบครองไว้แล้ว ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ละรายให้แก่ผู้อื่นไป ซึ่งหากจะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นการสละสิทธิครอบครองก็เป็นการสละสิทธิครอบครอง เพราะได้โอนสิทธิครอบครองของตนไปให้บุคคลอื่นโดยผู้โอนมิได้ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอีกต่อไป หาใช่ว่าเป็นการสละสิทธิครอบครองอันจะมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับกลายสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่าแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่เจ้าของที่ดินเหล่านี้สละสิทธิครอบครองในที่ดินของตนก็เพื่อโอนให้บริษัท อ.เพื่อนำไปขอประทานบัตร ที่ดินพิพาทและบริเวณที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากบริษัท ซ. ผู้รับโอนมาจากบริษัท อ. อีกต่อหนึ่ง จึงมิใช่ที่ว่างเปล่าตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ ซึ่งรับโอนมาทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์จะหมดอายุไปแล้ว ก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำเหมืองแร่และปลูกต้นไม้ในที่ดินที่พิพาทมาโดยตลอดแม้เจ้าของที่ดินเดิมได้แจ้งแก่นายอำเภอให้ทราบว่า เจ้าของที่ดินเดิมแต่ละคนที่ยื่นแบบแจ้งการครอบครองไว้แล้ว ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ละรายให้แก่ผู้อื่นไป ซึ่งหากจะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นการสละสิทธิครอบครองก็เป็นการสละสิทธิครอบครอง เพราะได้โอนสิทธิครอบครองของตนไปให้บุคคลอื่นโดยผู้โอนมิได้ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอีกต่อไป หาใช่ว่าเป็นการสละสิทธิครอบครองอันจะมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับกลายสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่าแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่เจ้าของที่ดินเหล่านี้สละสิทธิครอบครองในที่ดินของตนก็เพื่อโอนให้บริษัท อ.เพื่อนำไปขอประทานบัตร ที่ดินพิพาทและบริเวณที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากบริษัท ซ. ผู้รับโอนมาจากบริษัท อ. อีกต่อหนึ่ง จึงมิใช่ที่ว่างเปล่าตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ ซึ่งรับโอนมาทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์จะหมดอายุไปแล้ว ก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเจตนาใช้ประโยชน์ทำเหมืองแร่ หากทำเหมืองแร่เสร็จต้องคืนที่ดิน สิทธิไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยเด็ดขาด ส่วนหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินข้อ 6 เป็นเพียงคำมั่นจะให้โดยเสน่หา เมื่อคำมั่นนั้นไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะทั้งจำเลยได้เข้าประกอบกิจการเหมืองแร่แล้วและยังประกอบกิจการ เหมืองแร่อยู่จึงไม่ต้องคืนที่ดินให้โจทก์ทั้งเจ็ด และจำเลย ได้การครอบครองและได้กรรมสิทธิ์มาโดยเปิดเผยและ ชอบด้วยกฎหมายเกินกว่า 10 ปี คำให้การจำเลยนี้เมื่อรวมความแล้ว หมายถึงจำเลยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขาย ที่ดิน ข้อ 6 นั่นเองคำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกัน แต่อย่างใด และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ก่อนที่จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทบิดาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 1ถึงที่ 6 ไว้ก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2513 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.9 และ ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทข้อ 1 ระบุไว้ โดยแจ้งชัดว่าให้ถือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.9เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังนี้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็ตามแต่ในข้อ 2 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ขายทั้งหมดจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดินต่อไปแสดงว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เสร็จเด็ดขาดตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทเท่านั้นแต่จะต้องมีการจดทะเบียนกันก่อนจึงจะสมบูรณ์ และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยก็ได้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้และปฏิบัติตามสัญญาบางส่วนของสัญญาไปแล้วเช่นนี้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมมีผลบังคับใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และข้อตกลงจะคืนที่ดินพิพาทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ สัญญาข้อ 6 ในหนังสือสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า "ผู้ซื้อขอให้คำมั่นไว้ต่อผู้ขายว่า การซื้อที่ดินตามหนังสือสัญญานี้ ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนดสิบปี เมื่อผู้ซื้อมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่แล้วผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงไม่ใช่คำมั่นจะให้โดยเสน่หาแม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อคู่สัญญา เพราะเป็นเงื่อนไขจะซื้อจะขายที่ดิน และเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ได้โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วน ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบถึงเหตุที่มาของการมีเงื่อนไขตามสัญญาในสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินฉบับพิพาทจึงกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร สัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้นและภายในกำหนด 10 ปี เมื่อจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่แล้วจำเลยในฐานะผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆทั้งสิ้น ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อกิจการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่มีเจตนาจะใช้เพื่อกิจการอื่นทั้งจำเลยก็ได้เข้าทำเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายหลังทำสัญญาแล้ว พฤติการณ์จึงเป็นการสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาเข้าผูกพันตามสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อความในข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยในฐานะผู้ซื้อจะต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดในสองกรณีด้วยกันคือ ภายในกำหนด 10 ปี หากจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งคือจำเลย ได้เข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่ เสร็จแล้ว ข้อความในข้อ 6 หาได้ระบุแต่เฉพาะว่าเมื่อจำเลยไม่ได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายในกำหนด 10 ปีต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งเจ็ดเพียงประการเดียวไม่ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทแล้วจำเลยจึงไม่ต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ดในกรณีที่หนึ่งแต่จำเลยยังมีภาระต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดในกรณีที่สองคือภายหลังจากจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์ทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้วกรณีจึงเข้าเงื่อนไขตามคำมั่นที่จำเลยให้ไว้ในข้อ 6 จำเลย จึงต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญาแม้โจทก์ทั้งเจ็ดเคยมอบที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยเข้าครอบครองตั้งแต่ปี 2513 ก็ตาม แต่จำเลยเข้าทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทกับโจทก์ทั้งเจ็ดอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งเจ็ดยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยการจดทะเบียนโอนขาย โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 และจำเลยเพิ่งทำเหมืองแร่เสร็จเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 เมื่อปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญา ข้อ 6 เกิดเมื่อจำเลยใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จในวันที่ 6 ธันวาคม 2529โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535คดีของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เดิม และดำเนินการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ได้และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ก่อนที่จำเลยจะนำสืบพยานของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมืองแร่ vs. การครอบครองก่อนประทานบัตร: การขัดขวางสิทธิทำเหมืองแร่
จำเลยอยู่ในที่พิพาทมาแต่ปี 2517 ก่อนโจทก์ขอออกประทานบัตรจำเลยไม่เคยให้หลักฐานแสดงความยินยอมให้โจทก์ไปแสดงให้เป็นที่พอใจของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าโจทก์มีสิทธิทำเหมืองแร่ในเขตที่พิพาทตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 50 โจทก์จึงไม่อาจนำประทานบัตรที่ได้รับมาอ้างว่าที่พิพาทอยู่เขตประทานบัตร จำเลยโต้แย้งขัดขวางสิทธิในการทำเหมืองแร่ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการทำเหมืองแร่: การครอบครองไม่สมบูรณ์แม้ทำประโยชน์ต่อเนื่อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เดิมเป็นที่ดินของ ข.และ บ. เป็นผู้ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่ดินพิพาท โจทก์เป็นผู้ซื้อประทานบัตรเหมืองแร่จาก บ. แม้โจทก์จะเป็นผู้ทำเหมืองแร่และครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่ตามสัญญาซื้อขายประทานบัตรก็ระบุให้โจทก์ได้สิทธิผิวดินตามประทานบัตรเหมืองแร่ คือสิทธิที่จะทำเหมืองแร่ในที่ดินพิพาทเท่านั้น บ. ไม่ได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่ประการใด ดังนั้นสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ บ. เจ้าของเดิมหรือทายาทผู้สืบสิทธิทางมรดกสืบต่อกันมา ส่วนการที่จำเลยไปสอบเขตที่ดินพิพาท และโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตลอดมาก็ตาม แต่คัดค้านของโจทก์ก็อ้างสิทธิที่โจทก์พึงมีอยู่ตามประทานบัตรเหมืองแร่เท่านั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างสิทธิอื่นใดนอกเหนือไปจากสิทธิตามประทานบัตรเหมืองแร่ดังนั้น จะถือว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยแจ้งไปยัง บ. หรือทายาทผู้ครอบครองว่าไม่เจตนายึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ยื่นคำขอประทานบัตรและการฟ้องร้องกรณีบุกรุกพื้นที่ทำเหมืองแร่
โจทก์เป็นเพียงผู้ยื่นคำขอประทานบัตรเท่านั้น ซึ่งอธิบดีมีอำนาจสั่งยกคำขอประทานบัตรเสียได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเข้าไปกระทำการใด ๆ แก่พื้นที่และไม่มีสิทธิครอบครอง แร่ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตามคำขอยังเป็นสมบัติของรัฐอยู่ ถ้ามีผู้มาขุดแร่ต้องถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน - ประทานบัตรทำเหมืองแร่ - ห้ามเข้าทำประโยชน์ก่อนมีคำพิพากษา
โจทก์จำเลยพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทเมื่อคดียังไม่มีคำชี้ขาดของศาลว่าที่พิพาทอยู่ในสิทธิครอบครองของฝ่ายใดแล้ว การที่จะให้ฝ่ายจำเลยเข้าทำประโยชน์เหมืองแร่ในที่พิพาทตามที่อ้างว่าได้รับประทานบัตรมา ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้ฝ่ายจำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทไปก่อนคดีจะถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมืองแร่ vs. สิทธิครอบครองที่ดิน: ประทานบัตรไม่สร้างสิทธิในที่ดิน การครอบครองโดยชอบธรรมมีน้ำหนักกว่า
ประทานบัตรที่โจทก์มีอยู่เดิมนั้นออกโดยพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 ซึ่งมาตรา 51 บัญญัติว่า ประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่ได้ให้อำนาจแก่ผู้ถือประทานบัตรหวงห้าม หรือถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินในเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่นั้นเลย คงเพียงให้ขุดล้างแร่ได้เท่านั้น แม้โจทก์จะเคยได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในเขตที่ดินอันรวมถึงที่พิพาทด้วย แต่โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเกินกำหนดตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรณีจึงสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ และแนะนำให้โจทก์ยื่นขอประทานบัตรใหม่ การขอประทานบัตรใหม่โดยยังมิได้รับประทานบัตรนั้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท เท่ากับโจทก์ยื่นเรื่องราวขออนุญาตทำเหมืองแร่ใหม่เหมือนบุคคลทั่ว ๆ ไป เมื่อได้ความว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยได้มาโดยการจับจองเมื่อ พ.ศ.2492 ได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2493 จำเลยได้แจ้งการครอบครองและทางการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยแล้ว จำเลยได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาทุกปี ปลูกข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา กรีดน้ำยางได้มา 10 ปีเศษแล้ว ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ และย่อมมีสิทธิคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่ว่าประทานบัตรที่โจทก์ขอใหม่นั้นทับที่ของจำเลยซึ่งครอบครองและมี น.ส.3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยและขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านนั้น
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1889/2514 และที่ 1890/2514)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1889/2514 และที่ 1890/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่และการละเมิด: การคัดค้านขัดขวางการดำเนินการขอประทานบัตร
การดำเนินการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เป็นสิทธิอย่างหนึ่งเมื่อโจทก์ใช้สิทธินั้นแล้ว หากผู้ใดเข้ามาคัดค้านขัดขวางทำให้การดำเนินการไปตามสิทธินั้นต้องหยุดชะงักลงย่อมอาจเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ได้ ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่ว่าการคัดค้านขัดขวางนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ใช้สิทธิขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่ดิน โจทก์ยังไม่มีสิทธิอะไรในที่ดินที่ขอประทานบัตร แม้จำเลยจะบุกรุกเข้ามาในที่ดิน โจทก์ก็ยังไม่มีเหตุอะไรที่ได้รับการโต้แย้งจากจำเลยในกรณีที่เกี่ยวข้องกับตัวที่ดินนั้นโดยตรง โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินนั้น
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 หมายถึงการฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น ส่วนการฟ้องขอให้ห้ามขัดขวางการขอประทานบัตร เป็นการฟ้องขอให้ระงับหรือเพิกถอนการทำละเมิดที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าเสียหายจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความตามมาตราดังกล่าว
ฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับอยู่ 2 คำขอ ศาลล่างสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องทั้งหมด เมื่อศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยเพียงคำขอเดียวส่วนอีกคำขอหนึ่งเห็นว่าต้องทำการพิจารณาต่อไป ย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเพียงบางส่วน ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาฟ้องของโจทก์ต่อไปในประเด็นข้อนั้น แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความส่วนคำขอตามฟ้องนอกจากนั้นคงเป็นอันให้ยกฟ้องดังที่ศาลล่างพิพากษามาแล้ว
การที่โจทก์ใช้สิทธิขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่ดิน โจทก์ยังไม่มีสิทธิอะไรในที่ดินที่ขอประทานบัตร แม้จำเลยจะบุกรุกเข้ามาในที่ดิน โจทก์ก็ยังไม่มีเหตุอะไรที่ได้รับการโต้แย้งจากจำเลยในกรณีที่เกี่ยวข้องกับตัวที่ดินนั้นโดยตรง โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินนั้น
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 หมายถึงการฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น ส่วนการฟ้องขอให้ห้ามขัดขวางการขอประทานบัตร เป็นการฟ้องขอให้ระงับหรือเพิกถอนการทำละเมิดที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าเสียหายจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความตามมาตราดังกล่าว
ฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับอยู่ 2 คำขอ ศาลล่างสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องทั้งหมด เมื่อศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยเพียงคำขอเดียวส่วนอีกคำขอหนึ่งเห็นว่าต้องทำการพิจารณาต่อไป ย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเพียงบางส่วน ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาฟ้องของโจทก์ต่อไปในประเด็นข้อนั้น แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความส่วนคำขอตามฟ้องนอกจากนั้นคงเป็นอันให้ยกฟ้องดังที่ศาลล่างพิพากษามาแล้ว