คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินรวม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งแยกที่ดินรวม แม้เคยมีข้อพิพาทก่อนหน้า ศาลต้องพิจารณาตามส่วนที่ครอบครองจริง
คดีก่อนสำนวนแรก จำเลยที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย และคดีก่อนสำนวนหลังจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยที่ 3ในคดีนี้เป็นจำเลย และทั้งสองสำนวนคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยสำนวนแรก โจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 3 มีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนในที่ดินพิพาท 12 ไร่ทางด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินของโจทก์ และในสำนวนหลัง โจทก์และจำเลยที่ 3เป็นจำเลยที่ 1 ตกลงยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 จำนวน 6 งานจำเลยที่ 3 จำนวน 4 ไร่ คดีทั้งสองจำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเนื้อที่เท่าใด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองเป็นส่วนสัดแน่นอน จำเลยทั้งหกไม่ยอมไปยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งหกในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นส่วนสัดของโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกไปยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดให้โจทก์ตามที่ฟ้องหรือไม่ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและจำเลยที่ 2 สืบสิทธิจากจำเลยที่ 3 ทั้งที่ดินพิพาทจะเป็นแปลงเดียวกัน แต่โจทก์ในแต่ละคดีต่างฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วนที่ตนครอบครองเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ในแต่ละคดีจะได้ส่วนแบ่งส่วนใด เนื้อที่เท่าใดนั้นจะต้องพิจารณาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แต่ละคดีเป็นส่วน ๆแยกกันไป หาใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำขอในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดมานานแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครองเป็นส่วนสัด และโจทก์ขอแบ่งแยกเกินส่วนที่โจทก์มีสิทธิตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 4 ที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การ การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ฎีกาว่า การครอบครองมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัด ที่ดินพิพาทมีผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่8 คน และได้บรรยายส่วนไว้แล้ว หากจะถือตามที่ครอบครองก็ยากแก่การรังวัดเพราะการครอบครองตามข้อเท็จจริงไม่ตรงกัน ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมต้องยินยอมในการขายที่ดินรวมทั้งหมด มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะและมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
โจทก์ซี่งเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทมิได้ให้ความยินยอมด้วยในการที่ ว.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งทำสัญญาจะขายที่พิพาทกับจำเลย จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทโดยทำสัญญาดังกล่าวเป็นการเข้าครอบครองตัวทรัพย์ทั้งหมดหรือที่พิพาททั้งแปลง มิใช่ครอบครองเฉพาะส่วนของ ว. เช่นนี้ ว.จะกระทำได้ก็แต่โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน สัญญาจะขายที่พิพาทจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: ห้ามตั้งประเด็นใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้องในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1ชอบที่จะไปดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก
การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้นโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องของตนต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินรวม: จำเลยไม่อาจยกประเด็นใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนำเงินที่ได้มาแบ่งปันกันตามส่วนคดีถึงที่สุดแล้วแต่จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามคำพิพากษา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 มาร้อง ในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ จำเลยที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินส่วนนั้นมาจนที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1จึงขอให้ศาลไต่สวนคำฟ้องเพื่อมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 นั้นย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับจำเลยที่ 5 และมีผลเท่ากับขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลแต่ละคดีก็จะไม่เป็นที่ยุติลงได้ กรณีเช่นนี้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้อย่างไร หรือจำเลยที่ 1ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไป ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีใหม่ต่างหาก การที่โจทก์ขอหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทขายทอดตลาดคดีนี้ เป็นการกำหนดวิธีแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดี หาใช่เป็น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันและกันไม่กรณีจึงไม่ใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จำเลยที่ 1จึงไม่อาจอ้างว่าคำร้องขอตนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้ เพราะการร้องขอตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องงดขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินรวมและการถือครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การฟ้องขอส่งมอบหนังสือรับรองฯ จะทำได้ต่อเมื่อสิทธิในที่ดินไม่ถูกโต้แย้ง
จำเลยเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวม โดยชอบตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะมีสิทธิในที่ดิน เมื่อยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับการถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำ-ประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินรวมก่อนแบ่งแยก การเริ่มนับระยะเวลาปรปักษ์
ที่ดินกรรมสิทธิ์รวมที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วนนั้น เจ้าของรวมคนหนึ่งครอบครองที่ดินส่วนใด ย่อมถือว่าครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่นด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒เมื่อต่อมาได้ มีการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่เจ้าของรวมแต่ละคนเป็นสัดส่วนแล้ว ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์จึงจะเริ่มนับตั้งแต่ มีการแบ่งแยกกันนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการแบ่งที่ดินรวม: ผลผูกพันและการบังคับตามสัญญา
โจทก์กับจำเลยทั้งสามได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินออกจากกัน จำนวน 3 แปลง แบ่งที่ดินทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก แปลงที่ 1 เป็นของจำเลยที่ 2 แปลงที่ 2 ถัดจากแปลงที่ 1 มาทางทิศใต้ เป็นของโจทก์ แปลงที่ 3 เป็นของจำเลยที่ 1 แปลงคงเหลือเป็นของจำเลยที่ 3 ส่วนเนื้อที่จะแจ้งในวันไปรังวัดและยังมีเอกสารซึ่งเป็นรูปจำลองแผนที่ มีรอยขีดเส้นแบ่งที่ดินออกเป็น4 ส่วน เขียนชื่อโจทก์ในบริเวณที่ดินด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อจำเลยที่ 3 ในบริเวณที่ดินด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามลงชื่อรับรองเอกสารและรูปแผนที่ดังกล่าวไว้ด้วย เมื่อโจทก์กับจำเลยทั้งสามมีกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินพิพาทการกำหนดลงไปในเอกสารทั้งสองฉบับว่า ผู้ใดได้ที่ดินส่วนใดย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปเพราะเป็นการตกลงเพื่อให้เป็นที่แน่นอนไม่โต้เถียงแย่งกันเอาที่ดินส่วนนั้นส่วนนี้ ทั้งตามข้อตกลงก็ระบุว่าจะนำช่างรังวัดทำการปักหลักเขตแสดงว่ามีการตกลงกันแน่นอนแล้วมิฉะนั้นก็ย่อมจะนำช่างรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกมิได้และหลังจากรังวัดแล้วจึงจะรู้เนื้อที่ของแต่ละคนเป็นที่แน่นอนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
ฟ้องแย้งเป็นเรื่องจำเลยขอให้บังคับโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยด้วยกันมิได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 178.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินรวมของผู้เยาว์: สิทธิจำหน่ายส่วนของตนและข้อยกเว้นความยินยอม
ผู้ร้องสอดเป็นผู้เยาว์และเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ 200 ตารางวา ซึ่งไม่เกินส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก และเนื่องจากจำเลยไม่ได้นำเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องสอดมาขายให้โจทก์จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและศาลเสียก่อน เพราะมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยนำที่ดินของผู้เยาว์ไปทำนิติกรรมขายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมและการจัดการทรัพย์สินของบุตรโดยผู้ปกครอง การรื้อถอนโรงเรือนที่ปลูกบนที่ดินรวม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากโรงเรือนของโจทก์และปลูกโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์แม้จะปรากฏว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องรวมกับบุคคลอื่นแต่ไม่ระบุในฟ้องจำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี จึงได้ให้การว่าโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1571 การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุตรถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของบุตรทั้งยังได้ปลูกในส่วนที่เป็นของบุตรจึงไม่เป็นการขัดต่อสิทธิแห่งโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวมโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์ซื้อขายที่ดิน: ตัวแทนจำเลย vs. ผู้รับซื้อจริง, ขอบเขตการขายที่ดินรวม และอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์โดยผู้มีชื่อเป็นตัวแทนจำเลย แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่ตัวแทนจำเลย หากแต่เป็นผู้รับซื้อที่ดินจากจำเลยแล้วมาโอนให้โจทก์ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจึงต่างกับข้อหาตามฟ้อง ทั้งเมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ได้
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันไว้ว่าจะชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน เมื่อโฉนดพ้นจากการอายัด สิทธิเรียกร้องในการบังคับตามสัญญาซื้อขายย่อมเริ่มนับแต่เมื่อมีการเพิกถอนการอายัดเป็นต้นไป หากนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีย่อมไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
จำเลยตกลงจะขายที่ดินของจำเลยตามตราจองซึ่งแบ่งแยกจากตราจองฉบับเดิมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมหลายเจ้าของ เมื่อตราจองของจำเลยถูกเพิกถอนกลับคืนเป็นตราจองฉบับเดิม ก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยตามตราจองฉบับเดิมนั้น ซึ่งจำเลยมีสิทธิขายได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน
of 2