พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและแจ้งเจ้าของรวม มิฉะนั้นไม่เกิดสิทธิ
จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. แบ่งที่ดินมรดกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ม. โดยให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ไร่ 3 งาน5 ตารางวา และของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา คิดเป็นเงินรวม313,833.32 บาท แม้จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แยกกันเพราะเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งห้าตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมีราคา 313,833.32 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องแย้งจึงมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ละส่วนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นในที่ดินร่วม: สิทธิผ่านทาง, ขนาดทาง, อำนาจฟ้องเจ้าของรวม
ทางซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไปออกสู่ถนน เป็นทางที่โจทก์และประชาชนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ ทั้งไม่ใช่ทางสาธารณะ เพราะเป็นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดมีที่ดินของบุคคลอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงถนนสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินของจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349วรรคแรก
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วมกัน และการยื่นบัญชีระบุพยานที่ไม่ทันกำหนด
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีเวนคืนที่ดินร่วม: คำนวณจากทุนทรัพย์ข้อโต้แย้ง ไม่ใช่รายบุคคล
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ทั้งสี่เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของแต่ละคนเพิ่มภายใน 10 วัน แม้โจทก์ทั้งสี่เห็นว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน ในการจ่ายค่าทดแทนของจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ร่วมกัน ในการคำนวณทุนทรัพย์เสียค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่เป็นข้อโต้แย้งของการจ่ายค่าทดแทนในที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืน มิใช่เสียค่าขึ้นศาลในแต่ละคนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ตาม โจทก์ทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก่อน หากโจทก์ทั้งสี่ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งในภายหลังได้ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้มีชื่อร่วม การซื้อขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม และผลของการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ และโจทก์มิได้เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยกับให้จำเลยได้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 750 บาท นับแต่วันจำเลยทำละเมิดบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ และโจทก์ฎีกา ดังนี้ เมื่อคดีมีจำนวนค่าเสียหายอันเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท และเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ที่ดินพิพาทมี บ.เป็นเจ้าของรวมกับโจทก์ โดย บ.เป็นผู้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทในส่วนของตน และครอบครองที่ดินพิพาทแทนในส่วนของโจทก์ การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก บ.ทั้งแปลงโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อ บ.ไม่มีสิทธินำสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์เป็นเจ้าของร่วมที่ บ.ครอบครองแทนมอบให้แก่จำเลยครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งเจ็ดได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1361 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทมี บ.เป็นเจ้าของรวมกับโจทก์ โดย บ.เป็นผู้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทในส่วนของตน และครอบครองที่ดินพิพาทแทนในส่วนของโจทก์ การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก บ.ทั้งแปลงโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อ บ.ไม่มีสิทธินำสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์เป็นเจ้าของร่วมที่ บ.ครอบครองแทนมอบให้แก่จำเลยครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งเจ็ดได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1361 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3 ที่ดินร่วม การเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินโจทก์ ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกเพิกถอนโดยตรง
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายออกให้แก่จำเลยที่1โดยไม่ชอบเพราะที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสามกับ พ. และ อ.ซึ่งได้แบ่งการครอบครองและทำประโยชน์เป็นส่วนสัดแล้วและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะส่วนซึ่งโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั้นบังคับคดีให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหมดตามรูปแผนที่ของโจทก์ทั้งสามหาก อ. จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนก็ต้องว่ากล่าวเป็นคดีใหม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนครั้งนี้จำเลยที่1จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จัดการแก้ไขให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางออกของที่ดินร่วม: เจ้าของที่ดินติดกันย่อมใช้ทางออกของที่ดินร่วมได้
โจทก์เป็นเจ้าของรวมที่ดินโฉนดที่ 1924 มีสิทธิใช้ที่ดินแปลงนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เมื่อที่ดินโฉนดที่ 1924 มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 28447 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดที่ 1924 ย่อมใช้ที่ดินโฉนดที่ 1924 ที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยออกสู่ทางสาธารณะได้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา1349 หรือมาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วม ศาลพิพากษาได้โดยไม่ต้องฟ้องแย้ง หากจำเลยเพียงแต่ต่อสู้กรรมสิทธิ์ร่วม
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนร้านค้าที่ปลูกอยู่ออกไป จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพราะจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ศาลจึงพิพากษาว่าที่ดินในเนื้อที่ 44 ตารางวา ในส่วนของจำเลยถือว่าได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดแล้ว จำเลยคงละเมิดสิทธิของโจทก์แต่ในส่วนที่เกิน 44 ตารางวาได้โดยที่จำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งและไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้องและข้อต่อสู้ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วม: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงจากการสืบพยานก่อนตัดสิน
ฟ้องโจทก์อ้างว่า ที่ดินพิพาท ส.บิดาโจทก์ จำเลย และบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินไว้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ต้องการโฉนดที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินให้แก่ทายาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ส.ได้ยกที่ดินส่วนของตนให้จำเลย จำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ และคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้ว ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยก่อนจึงมีว่าที่ดินส่วนของ ส.ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่ หากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังจำเลยให้การต่อสู้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยจึงยังไม่พอวินิจฉัยคดีได้ สมควรที่ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: เจตนาการยกให้ต้องชัดเจนและระยะเวลาการยึดถือต้องครบตามกฎหมาย
แม้เดิมที่พิพาทจะเป็นของ ป. แต่ผู้เดียว แต่เมื่อออกโฉนดแล้ว ที่ดินพิพาทกลับมีชื่อ ช.ด. และผู้คัดค้าน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย แสดงให้เห็นเจตนาของ ป.ว่า ต้องการให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อในโฉนดทุกคน การที่ ป.ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ช. แต่ผู้เดียว โดยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นมิได้แสดงเจตนายกให้โดยชัดแจ้ง ช. จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่น โดยเฉพาะในส่วนของผู้คัดค้าน การที่ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงถือว่า ครอบครองแทนผู้คัดค้านและเจ้าของรวมคนอื่น ผู้ร้องสืบสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทต่อจาก ช.ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า ช. ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้ร้องว่าเมื่อปลายปี 2532 ผู้คัดค้านได้มาพบเพื่อขอแบ่งที่ดินพิพาท แต่ผู้ร้องปฏิเสธอ้างว่า ที่ดินเป็นของผู้ร้อง เท่ากับผู้ร้องเพิ่งเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 นับแต่วันดังกล่าวถึงวันยื่นคำร้อง ยังไม่ครบ 10 ปีตามมาตรา 1382 ผู้ร้องจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท