คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินหวงห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินเขตหวงห้าม แม้มีเอกสารสิทธิเดิม ย่อมเป็นความผิด หากทราบว่าเป็นที่ดินหวงห้าม
เมื่อที่ดินพิพาทได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบแล้ว ทั้งต่อมากรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุด้วย ดังนั้น ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่มีเจตนาเข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ห้วงห้ามได้ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7438/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ (ต้นยูคาลิปตัส) ที่ดินหวงห้าม การครอบครองโดยไม่ชอบ
โจทก์ได้ที่ดิน 2 แปลง และปลูกบ้านกับต้นยูคาลิปตัสตามฟ้องภายหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2497 ใช้บังคับแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังนี้จึงเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ.2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆโดยไม่ต้องปลูกใหม่ เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไป ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 145วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ.2521 เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือ และให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 10 ดังนี้การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7438/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินหวงห้ามและเวนคืน: สิทธิในที่ดินและพืชผลตกเป็นของรัฐเมื่อมีการเวนคืนถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ได้ที่ดิน 2 แปลง และปลูกบ้านกับต้นยูคาลิปตัสตามฟ้องภายหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2497 ใช้บังคับแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังนี้จึงเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ. 2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆ โดยไม่ต้องปลูกใหม่เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไปต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ. 2521เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือและให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาตรา 10 ดังนี้ การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินหวงห้ามเป็นโมฆะ การคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้าง จัดทำ หรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ เช่นนี้ ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราช-กฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1305 การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น โจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ราชการทหารเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้ายประการใดๆในที่ดินเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เช่นนี้ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นโจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหารการวางมัดจำจำนวน300,000บาทของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจตามความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจการรับเงินมัดจำจำนวน300,000บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินหวงห้ามของรัฐ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแต่ยังเข้ายึดครองและปลูกสร้างอาคารจึงมีความผิด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ. 2465 และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ. 2479 ให้ประชาชนทราบแล้ว ทั้งต่อมา พ.ศ. 2528 กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้าม มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ณ. เมื่อ พ.ศ. 2530 ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ
การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร พ.ศ. 2478 มาตรา 5, 7 (3) และ ป. ที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตาม ป. ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อทราบสถานะที่ดินหลังมีกฎหมายใช้บังคับ ย่อมมีความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่ พ.ศ. 2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ.2479 ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมา พ.ศ. 2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอบ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1 ก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1 ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ. เมื่อ พ.ศ. 2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ. 2478 มาตรา 5,7(3) และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9(1),108 ทวิวรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9(1),108 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ความผิดฐานบุกรุกและปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตพื้นที่ราชการ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินพิพาทให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ.2465และต่อมาได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมากรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกถือว่าประชาชนทุกคนทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทก็ตามแต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทจำเลยซื้อที่ดินพิพาทภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้วถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นที่หวงห้ามเมื่อเข้าไปยึดถือครอบครองย่อมมีความผิดจะอ้างว่ามีแบบแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามเอกสารส.ค.1มายกเว้นความผิดโดยอ้างว่าไม่มีเจตนากระทำผิดไม่ได้ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อทราบสถานะที่ดินหลังมีกฎหมายใช้บังคับ ย่อมมีความผิด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ.2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อพ.ศ.2479ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมาพ.ศ.2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอบเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1ก็ตามแต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ. เมื่อพ.ศ.2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้ามเมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ.2478มาตรา5,7(3)และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทจึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อรู้เท่าไม่ถึงการณ์มิอาจอ้างความไม่รู้ได้ แม้มี ส.ค.1
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ.2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อพ.ศ.2479ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมาพ.ศ.2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครองเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1ก็ตามแต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ.เมื่อพ.ศ.2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้ามเมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ.2478มาตรา5,7(3)และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทจึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
of 3