คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ท่าเรือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อสินค้าสูญหายหลังส่งมอบให้ท่าเรือ: สิ้นสุดเมื่อใด?
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการออกใบตราส่งเท่านั้น แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันขนส่งสินค้าโดยมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการออกใบตราส่ง แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ตัวการร่วมขนส่งสินค้ากับจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการวินิจฉัยหรือพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ว่าคดีรับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ในคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น
จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งเป็นผู้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ได้ขนส่งตู้สินค้าที่บรรจุสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางและส่งมอบตู้สินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยชอบแล้ว หน้าที่ดูแลสินค้าของจำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าที่เกิดขึ้นในขณะที่สินค้าอยู่ในความอารักขาของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1,500,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายและดอกเบี้ยคิดคำนวณถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 4,429,810.90 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จทุนทรัพย์เฉพาะส่วนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงมีเพียง 2,886,660.22 บาท โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 72,167.50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดค่าเสียหายของท่าเรือ: ข้อบังคับต้องชอบด้วยอำนาจตามกฎหมายและเป็นข้อตกลงโดยชัดแจ้ง
ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดว่า ถ้าเจ้าของเครื่องจักรพิพาทหรือผู้ขนส่งมิได้แจ้งราคาจริงของเครื่องจักรพิพาทให้จำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความเสียหายแต่ไม่เกินจำนวน 5,000 บาท ต่อหนึ่งหีบห่อ ซึ่งข้อบังคับดังกล่าวอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. การท่าเรือแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจวางข้อบังคับและระเบียบการตามที่ระบุในมาตรา 9 (4) คือ จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือบริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น หาได้ให้อำนาจคณะกรรมการออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไม่ ทั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดข้อจำกัดความรับผิดขึ้นฝ่ายเดียว การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า การนำสินค้าเข้าเก็บในโรงพักสินค้าจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบเพื่อการจัดการบริการของจำเลยที่ 1 ก็ดี การที่ตัวแทนเจ้าของเครื่องจักรพิพาทยื่นหนังสือขออนุญาตนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าโดยมีข้อความว่า ยอมรับจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือการที่จำเลยที่ 1 ออกใบรับของให้โดยพิมพ์ข้อความไว้ว่า ความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 มีจำกัดตามเงื่อนไขในข้อบังคับว่าด้วยระเบียบความปลอดภัย การใช้ท่าเรือบริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือก็ดี ไม่ใช่ข้อตกลงโดยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดค่าเสียหายตามระเบียบดังกล่าวขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนทางทะเล: การส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คดีนี้ฟังได้ว่า การขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย คือเจ้าของสินค้านำตู้สินค้าไปบรรจุเอง รวมทั้งตรวจนับและปิดผนึก หน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งจะเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง และจะสิ้นสุดต่อเมื่อตู้สินค้าได้ถูกส่งมอบที่ท่าเรือปลายทาง และตามระเบียบของท่าเรือโยโกฮาม่า การขนส่งแบบ ซีวาย/ซีวาย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ท่าเรือดังกล่าว จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่ง ได้ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้แก่ท่าเรือปลายทาง ณ ลานพักสินค้าของท่าเรือโยโกฮาม่า อันเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบตามสัญญารับขนของทางทะเลและตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 40 (3) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2535 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายของสินค้าที่รับขนอันเนื่องมาจากการรับขนของทางทะเลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 4 ได้ส่งมอบสินค้าพิพาทโดยชอบแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ประกอบกิจการท่าเรือนอกเหนือจากฐานะผู้ขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยกฟ้องฐานความรับผิดนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าสุราที่โจทก์รับประกันภัยทอดสุดท้ายจากท่าเรือสิงคโปร์ถึงท่าเรือของจำเลยที่ 2 ในประเทศไทย และระหว่างที่สินค้าสุรา อยู่ที่ลานพักสินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าสินค้าสุราดังกล่าวได้รับความเสียหาย อันเป็นการ ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ขนส่งทางทะเลจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2ไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าสุราพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ ความเสียหายมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย และต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งทอดสุดท้ายเพียงแต่จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจท่าเรืออย่างเดียว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดในการที่สินค้าเสียหาย อันเนื่องมาจากการขนส่งไม่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ มีหน้าที่บำรุงรักษารวมทั้งจัดสถานที่ และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อบริการแก่ผู้ใช้ท่าเรือ ของจำเลยที่ 2 การที่น้ำท่วมลานพักสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะฝนตกหนักไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้ประกอบกิจการท่าเรือแล้วไม่ดูแลรักษาสินค้าจนทำให้สินค้าต้องเสียหายไว้แต่อย่างใด จึงเป็นการ วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ดูแลสินค้าเมื่อสินค้าสูญหายจากการโจรกรรมในท่าเรือ
การขนส่งสินค้าพิพาทเป็นการขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย (CY/CY)ซึ่งผู้ส่งรับตู้สินค้าไปบรรจุ ตรวจนับสินค้าเข้าตู้ ผนึกดวงตราที่บานประตูตู้สินค้าและส่งมอบตู้สินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ ลานวางตู้สินค้าโดยผู้ขนส่งมิได้เกี่ยวข้องกับการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า คงมีหน้าที่ขนส่งตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าโดยผู้ส่งมายังจุดหมายปลายทางคือท่าเรือกรุงเทพตามที่ตกลงกันดังระบุไว้ในใบตราส่ง และส่งมอบตู้สินค้าที่ขนส่งให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ณ ลานพักสินค้าของจำเลยที่ 3เพื่อให้โจทก์ผู้นำเข้าทำพิธีการทางศุลกากรและดำเนินพิธีการออกสินค้าต่อไป ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่มีหน้าที่ที่จะต้องนำสินค้าที่ขนส่งไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้รับตราส่งที่จะต้องมารับสินค้า ดำเนินพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการดูแลสินค้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือของจำเลยที่ 1 และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้นำตู้สินค้าพิพาทไปเก็บไว้ที่ลานพักสินค้าหน้าโรงพักสินค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้มอบตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตัวแทนเรือจะมิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 3 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งมอบและรับมอบตู้สินค้าที่ขนถ่ายจากเรือเดินทะเลต่างประเทศโดยมิได้มอบตู้สินค้าให้แผนกโรงพักสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้ใส่กุญแจให้มั่นคงแข็งแรงก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์ที่เป็นจริงและที่ปฏิบัติต่อกันถือว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้มอบตู้สินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้รับตู้สินค้าพิพาทไว้ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งโจทก์ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำสินค้าบุหรี่ออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต่อไป ดังนี้ตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าจึงไม่ใช่ยังอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทำไว้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งกับผู้ส่ง ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งครบถ้วนแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง แม้ต่อมาสินค้าจะสูญหายไป จำเลยที่ 1ผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และมิใช่กรณีที่จะนำ ป.พ.พ.มาตรา 623 มาปรับใช้ให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพราะมาตรา 623เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งเสียก่อน และเมื่อโจทก์ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปโดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของผู้ขนส่งที่เกิดขึ้นแล้วจึงสิ้นสุดลง
สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือและโจทก์ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
การที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งนำตู้สินค้าขนถ่ายลงจากเรือแล้วนำมาเก็บไว้ที่ลานโรงพักสินค้าภายในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 เป็นวิธีการที่ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของจำเลยที่ 3 และของเจ้าพนักงานศุลกากร และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าดังกล่าวซึ่งรวมถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นด้วย จนกว่าจะมีการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกไปจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 และการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกจากอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ท่าเรือของจำเลยที่ 3 ก่อน รวมทั้งจำเลยที่ 3 เรียกเก็บค่าภาระซึ่งหมายถึงค่าฝากสินค้าจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และโจทก์ต้องชำระก่อนนำตู้สินค้าหรือสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ซึ่งในกรณีคดีนี้จำเลยที่ 3 ก็ได้เรียกเก็บค่าภาระ จากโจทก์ และโจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ไปแล้ว ต้องถือว่าตู้สินค้าที่เก็บไว้ที่ลานพักสินค้าในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 อยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ตู้สินค้า รวมทั้งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าซึ่งนำมาเก็บรักษาไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3
ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยก็เป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่จะหามาตรการที่เหมาะสมมาดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นเอง ดังนั้นเมื่อสินค้าบุหรี่พิพาทที่บรรจุในตู้สินค้าที่จำเลยที่ 3 รับควบคุมดูแลรักษาสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรมและจำนวนสินค้าบุหรี่ที่สูญหายไปมีจำนวนมาก ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์จะถูกโจรกรรมไปเป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าละเลยต่อหน้าที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลรักษา อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้าและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมไปถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้านั้นด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์สูญหายไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 ที่จำเลยที่ 3นำสืบว่ามีพนักงานของจำเลยที่ 2 ช่วยดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าด้วย ก็มิอาจปัดความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้รับสินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าให้พ้นไปได้ ดังนี้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438
สำหรับค่าขาดกำไรที่โจทก์เรียกร้อง โดยคำนวณจากราคาสินค้าที่ขายหักด้วยจำนวนต้นทุนสินค้า ได้ความว่าโจทก์ขาดกำไรไปตามจำนวนที่ฟ้องและนำสืบจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องราคาสินค้าที่สูญหายไปซึ่งเป็นราคาของสินค้าในขณะที่มาถึงท่าเรือกรุงเทพ แต่โจทก์เรียกกำไรที่ได้จากการขายสินค้าดังกล่าวดังนั้นจึงต้องนำค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้ามาพิจารณาประกอบด้วย และเมื่อคู่ความมิได้มีการนำสืบถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในข้อนี้ให้รับฟังได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดตามที่เห็นสมควร
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและในมาตรา 224 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในหนี้เงินในระหว่างผิดนัดไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารอันเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าบุหรี่ที่โจทก์ซื้ออยู่แล้ว ดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียแก่ธนาคารในเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารที่ได้ชำระราคาสินค้าบุหรี่ไป จึงมิใช่เหตุโดยตรงจากการกระทำละเมิดที่โจทก์จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการติดต่อท่าเรือและศุลกากรไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่ง
เมื่อเรือเทียบท่าแล้วบริษัท ส. เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าโดยบริษัท ฟ. เป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้า ส่วนใบสั่งปล่อยสินค้านั้นเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ส่งใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขอนำเรือเทียบท่าและติดต่อกรมศุลกากรเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัท ฟ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ติดต่อท่าเรือไม่ใช่ผู้ขนส่ง - ไม่ต้องรับผิดชอบสินค้าสูญหาย
จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและขนถ่ายสินค้าจากเรือเข้าโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยรายงานเรื่องเรือเข้าออกต่อกรมเจ้าท่าและกรมศุลกากรติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจคนที่มากับเรือแจ้งให้บริษัทอ.ผู้รับสินค้าทราบถึงการมาถึงของสินค้าและให้ผู้รับสินค้าไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าเป็นการกระทำแทนบริษัทผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้นไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับบริษัทดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616และมาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทและเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับเรื่องรับขนของทางทะเลเพราะในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการนั้นและไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งร่วมในการขนส่งสินค้าพิพาทจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปในระหว่างการขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการใช้ท่าเรือ: ผลผูกพันและเงินชดเชยเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง จำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์ หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียด ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าว และกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม2531 บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เช่นเดียวกัน กับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการ แสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกัน จึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าว บันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึก หาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้ว จำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้น แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตาม สัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อ ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าท่าเรือ: การบังคับใช้สัญญา, สิทธิเรียกค่าชดเชย, และระยะเวลาของสัญญา
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่งจำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียดที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าวและกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่14ตุลาคม2531บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่14ตุลาคม2531เช่นเดียวกันกับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการแสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกันจึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าวบันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึกหาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกันเมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้วจำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้นแม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตามสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้วเพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้วหาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366ไม่ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลยแต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่วข้อ4.1ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ144,000ทีอียูจำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์โดยคิดเมื่อครบรอบ1ปีหรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ4.3ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่าให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า3วันและหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ส่วนระยะเวลา1ปีที่ระบุไว้ในข้อ4.1เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ1ปีแล้วเท่านั้นหาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าใช้ท่าเรือและความรับผิดในความเสียหาย: การยอมรับข้อบังคับและความสมัครใจ
จำเลยยื่นคำร้องต่อโจทก์ขอนำเรือเข้าท่าภายในอาณาบริเวณเขตการท่าเรือของโจทก์ โดยรับจะปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือบริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือซึ่งได้ออกโดยโจทก์และยอมรับผิดในผลแห่งการละเมิดซึ่งเรือที่นำเข้าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ถือได้ว่าจำเลยได้ทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันกันระหว่างคู่สัญญา เมื่อปรากฏว่า เรือที่จำเลยนำเข้าเทียบท่าของโจทก์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด
of 3