คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคารปฏิเสธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้เช็คไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยไม่มีความผิด
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วย แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6305/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์จากการแก้ไขข้อความ ทำให้ธนาคารปฏิเสธการจ่าย ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังไม่ต้องรับผิด
เช็คพิพาทมีข้อความตามแบบพิมพ์ว่า "จ่าย..........หรือผู้ถือ" แต่มีการขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกและเขียนคำว่า "สด" ลงในช่องว่างหลังคำว่า "จ่าย" ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่มีชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 988 (4) บัญญัติไว้ และการขีดฆ่าดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีตามมาตรา 899 ซึ่งเป็นเรื่องการเขียนข้อความที่มิได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะตั๋วเงิน ข้อความที่เขียนลงไปจึงไม่มีผลแก่ตั๋วเงิน การที่เช็คพิพาทขาดรายการซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมี ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตามมาตรา 987 และมาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แม้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทก็ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ข้อสำคัญคือการออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
การพิจารณาคดีตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ต้องให้ได้ความว่า จำเลยกระทำการครบถ้วนตามองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายบัญญัติ กล่าวคือได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนปัญหาว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินแล้วมีการชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ศาล จะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยในคดีเรื่องนั้นกระทำความผิดหรือไม่ เว้นแต่เป็นการเบิกความว่า ได้ใช้เงินตามเช็ค ให้แก่ผู้ทรงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือทวงถามว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ซึ่งทำให้คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 ดังนี้ การที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีที่โจทก์ถูกฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คไม่เคยชำระเงินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คเลย จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเบิกความ ต่อศาลดังกล่าวก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จ ตาม ป.อ. มาตรา 177 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีเช็ค: ข้อสำคัญคือการออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่การชำระหลังปฏิเสธ
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534ขึ้นอยู่กับการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แล้วธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ส่วนปัญหาว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมีการชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คมากน้อยเพียงใด มิใช่ข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ศาลจะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นการเบิกความว่า ได้ใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือทวงถามว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นซึ่งทำให้คดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้ออกเช็คไม่เคยชำระเงินให้แก่จำเลยจึงมิใช่ข้อสำคัญในคดี แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำการตามฟ้องก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท-สัญญากู้-ยินยอมชำระหนี้: เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้กู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ถือเป็นความผิดตามฟ้องเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วม โดยปรากฏว่าวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน แสดงว่าขณะเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นมูลหนี้ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้กู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตาม เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระเงินค่าเช็คหลังธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินทำให้คดีเลิกกันได้ แม้ไม่แจ้งให้ผู้รับทราบ
ที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 5 วรรคท้าย บัญญัติว่า ถ้าผู้กระทำผิดตามมาตรา 3 ได้นำเงินตามเช็คไปชำระแก่ผู้ทรงเช็ค หรือแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ทรงเช็คได้บอกกล่าวให้ผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้นไม่ปรากฏข้อความบังคับว่าผู้ออกเช็คหรือจำเลยจะต้องแจ้งให้ผู้ทรงเช็คหรือโจทก์ทราบ หรือขอให้ธนาคารแจ้งให้ผู้ทรงเช็คทราบแทนผู้ออกเช็คหรือต้องแจ้งให้ธนาคารทราบว่า เงินที่ผู้ออกเช็คนำเข้าบัญชีนั้นเป็นการนำเข้าเพื่อจ่ายตามเช็คนั้นโดยเฉพาะเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1นำเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คนั้นโดยมีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าเป็นเงินที่ผู้ออกเช็คนำไปชำระแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องแล้ว คดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คหลายฉบับเพื่อชำระหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินพร้อมกัน ก็ถือเป็นความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
แม้เช็คพิพาททั้งหกฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์จะลงวันออกเช็ควันเดียวกัน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทุกฉบับในวันเดียวกันก็ตาม การออกเช็คพิพาทดังกล่าวจำเลยอาจมีเงินจ่ายตามเช็คหรือมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แยกออกจากกันได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5116/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็ค: วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินคือวันที่ความผิดสำเร็จ โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยไม่มีเงินในบัญชี ณ วันออกเช็ค
สาระสำคัญของความผิดฐานออกเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1)(2) นั้น ถือว่าวันที่ออกเช็คเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำผิดและความผิดสำเร็จครบองค์ประกอบความผิดในวันที่ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค
โจทก์นำสืบแต่เพียงวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้นซึ่งเป็นวันหลังออกเช็คหลายเดือน โดยธนาคารให้เหตุผลว่ายังไม่มีการตกลงกับธนาคาร เนื่องจากขณะนั้นจำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่เต็มวงเงินเบิกเกินบัญชี มิได้นำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอจะใช้เงินได้ตามเช็ค และหรือหากผู้เสียหายนำเช็คตามฟ้องไปเบิกเงินธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอำพราง: เช็คไม่มีมูลหนี้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์จำเลยตกลงจะซื้อขายที่ดินกันในราคา 22,000,000 บาทจำเลยวางเงินมัดจำให้โจทก์ 1,000,000 บาท โดยจ่ายเป็นเช็ค ทั้งยังตกลงกันว่าโจทก์จะเป็นผู้เสนอขายที่ดินตามสัญญาให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในนามของโจทก์แทนจำเลย และหากจำเลยปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา โจทก์จะจ่ายค่านายหน้าให้แก่จำเลย 1,100,000บาททันที ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า เจตนาของคู่กรณีไม่ใช่เรื่องซื้อขายที่ดินกันจริง ๆ แต่เป็นเรื่องที่คู่กรณีตกลงที่จะนำที่ดินของโจทก์ไปขายให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจำเลยมีภาระผูกพันที่จะต้องดำเนินการวิ่งเต้นขายที่ดินดังกล่าว การที่สัญญาระบุไว้ว่า ถ้า ผู้จะซื้อไม่ชำระราคาที่ดินให้ครบถ้วนภายในกำหนดให้ถือว่าผิดสัญญาและผู้จะขายริบเงินมัดจำได้นั้น ต้องถือว่าเป็นข้อความอำพรางหาใช่เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาไม่ การที่จำเลยจ่ายเงินมัดจำเป็นเช็คลงวันที่วันเดียวกับวันครบกำหนดในสัญญาก็เพื่อให้สมกับเรื่องที่อำพรางว่ามีการวางเงินมัดจำตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อผูกมัดจำเลยไม่ให้ดำเนินการขายที่ดินของบุคคลอื่นให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ไว้ ต้องถือว่าเช็คฉบับนั้นหามีมูลหนี้ต่อกันไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้ไม่มีตราบริษัท หากธนาคารปฏิเสธการจ่าย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 เองมอบให้ ม. นำไปเป็นประกันการชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ส่วนตราที่ประทับไว้ในช่องผู้สั่งจ่ายในเช็คมิใช่ตราของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินในเช็คพร้อมดอกเบี้ย นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ร่วมกันรับผิดใช้เงินตามเช็ค โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายด้วย มิใช่ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่สถานเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าตราที่ประทับในช่องผู้สั่งจ่ายเป็นตราของจำเลยที่ 1ก็บังคับให้ จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ในฐานะผู้สั่งจ่ายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
of 3