คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นอกฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบไม่สมกับข้อหาฟ้อง การนำสืบนอกฟ้อง ทำให้ศาลไม่สามารถวินิจฉัยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย แต่โจทก์กลับนำสืบว่า จำเลยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตลาดสดและตึกแถวและชักชวนให้โจทก์ร่วมลงทุน โจทก์จึงนำเงินไปร่วมลงทุนกับจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่คืนเงินลงทุนและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ โจทก์จึงทวงถามและต่อมาโจทก์จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไป แต่เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยเพิกเฉยไม่ชำระเงินคืนโจทก์ ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวเป็นที่เห็นว่าได้ชัดแจ้งว่าโจทก์นำสืบไม่สมสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ และเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการพิจารณาคดีนอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องหากข้อเท็จจริงเกินกว่าที่กล่าวในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหาทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงสิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวกโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวก แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตามมาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาต้องเป็นไปตามฟ้อง หากมีข้อเท็จจริงนอกฟ้อง แม้ได้ความในชั้นพิจารณา ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยบรรยายฟ้องในข้อหานี้เพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบุคมตัวเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวก เท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะเห็นว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มีมูลและสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท การพิพากษานอกฟ้อง และการพิสูจน์การยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว เนื่องจาก ป. ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นเรือนหอก่อนแล้ว จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งได้ยกให้จำเลยโดยได้จดทะเบียนถูกต้องและ ป. ยังทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยเพียงผู้เดียวคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. และไม่ได้ยกให้แก่โจทก์หรือจำเลยแล้วพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นชื่อของ ป. ตามเดิม จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4142/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากนำสืบประเด็นใหม่นอกฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกเหนือข้อพิพาทเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลยทั้งสอง โดยอ้างว่าขณะจดทะเบียนจำนองจำเลยทั้งสองทราบแล้วว่าศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ขณะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วอันเป็นการกระทำไม่สุจริตหรือไม่แม้โจทก์จะนำสืบข้อเท็จจริงว่าการจำนองระหว่างจำเลยทั้งสองมีวงเงิน ถึง 1,000,000 บาท สูงเกินไปเพราะเจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคา ที่ดินพิพาทเพียง 159,930 บาท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่สุจริต นั้น ก็เป็นการนำสืบนอกฟ้องและนอกประเด็น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 หยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยด้วย เป็นการมิชอบ ปัญหาข้อนี้จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายโมฆะแล้ว การอ้างเงินประกันเป็นสัญญาใหม่เป็นเรื่องนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้จำเลย แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยภายในกำหนดได้เนื่องจากขัดข้องเรื่องเอกสาร จึงขอขยายระยะเวลา หลังจากที่มีการขอขยายระยะเวลาแล้วโจทก์คืนมัดจำ 5,000,000 บาท แก่จำเลย โจทก์ได้เสนอให้จำเลยถือเงินสดของโจทก์ไว้ 3,000,000 บาท เป็นประกันว่าโจทก์สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ที่ดินที่ตกลงจะซื้อจะขายแก่จำเลยได้ หาไม่แล้วให้เงินดังกล่าวตกเป็นของจำเลย แต่หากโจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายแลัวเสร็จ ก็ให้จำเลยถือปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมพร้อมกับคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ แสดงว่าการที่โจทก์มอบเงินจำนวนนี้แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน เพื่อให้การบังคับตามสัญญาเกิดผลในทางปฏิบัติ มิได้มีเจตนาหรือประสงค์ให้เงินจำนวนนี้เป็นการวางมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนเพื่อให้เกิดผลบังคับเป็นสัญญาใหม่แทนสัญญาจะซื้อจะขายเดิมไม่ อีกทั้งโจทก์ผู้จะขายมอบเงินแก่จำเลยผู้จะซื้อเพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ไม่มีลักษณะเป็นการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยฉบับเดิมตกเป็นโมฆะไปแล้ว โจทก์กลับอุทธรณ์ว่าเงินจำนวนนี้เป็นการวางมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนเป็นคำเสนอสนอง สัญญาย่อมเกิดขึ้นใหม่เพื่อให้โจทก์สามารถฟ้องร้องบังคับจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้อีก จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ประกอบกิจการท่าเรือนอกเหนือจากฐานะผู้ขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยกฟ้องฐานความรับผิดนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าสุราที่โจทก์รับประกันภัยทอดสุดท้ายจากท่าเรือสิงคโปร์ถึงท่าเรือของจำเลยที่ 2 ในประเทศไทย และระหว่างที่สินค้าสุรา อยู่ที่ลานพักสินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าสินค้าสุราดังกล่าวได้รับความเสียหาย อันเป็นการ ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ขนส่งทางทะเลจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2ไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าสุราพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ ความเสียหายมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย และต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งทอดสุดท้ายเพียงแต่จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจท่าเรืออย่างเดียว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดในการที่สินค้าเสียหาย อันเนื่องมาจากการขนส่งไม่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ มีหน้าที่บำรุงรักษารวมทั้งจัดสถานที่ และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อบริการแก่ผู้ใช้ท่าเรือ ของจำเลยที่ 2 การที่น้ำท่วมลานพักสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะฝนตกหนักไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้ประกอบกิจการท่าเรือแล้วไม่ดูแลรักษาสินค้าจนทำให้สินค้าต้องเสียหายไว้แต่อย่างใด จึงเป็นการ วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างทำของและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ศาลไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้องหากเชื่อมโยงกับการว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าว่าจ้างโจทก์ทำอุปกรณ์บรรจุเทปเพลง ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาจ้างทำของ ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ทำสินค้าตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ได้นำสืบถึงความเป็นมาแห่งคดีและได้แสดงเอกสารและวัตถุพยานเกี่ยวกับการว่าจ้างรายนี้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เป็นการเข้าหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปลัดอำเภอทำการแทนนายอำเภอในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และประเด็นการนอกฟ้อง
ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่า ว. ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหรือไม่ เป็นข้อที่ โจทก์ไม่เคยกล่าวไว้ในฟ้องเลย ฉะนั้น ฎีกาโจทก์ ในข้อนี้จึงเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นแม้ศาลชั้นต้น จะได้สั่งรับฎีกาโจทก์เรื่องนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ด้วยผลของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 มาตรา 79 และมาตรา 80 ช. ปลัดอำเภอตรี ซึ่งเป็นกรมการอำเภอ หากมียศสูงกว่าผู้อื่นในขณะที่นายอำเภอทำการไม่ได้ในหน้าที่ชั่วคราวช. ก็ต้องเป็นผู้แทนของนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งของนายอำเภอที่ตนเป็นผู้แทนหรือต้องกระทำการแทนนั้นทุกอย่าง รวมทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมรายนี้ด้วย ส่วนข้อที่ว่าให้มีดวงตราประจำตำแหน่งนายอำเภอนั้น ตามมาตรา 78 บัญญัติไว้ในทำนองว่าในเวลาผู้ใดทำการแทนหรือรั้งตำแหน่งนั้นก็ให้ใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องใช้ตราดังกล่าวประทับทุกครั้งเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินกับสิทธิทำประโยชน์: ศาลพิพากษาเกินฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับ ตามข้อตกลงนั้น ก็เป็นการตกลงที่จะโอนให้ใช้ทำมาหากินคือการใช้ทำประโยชน์นั่นเอง และการที่โจทก์ขอให้จำเลยร่วมกันชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าเสียหายที่ผิดสัญญา เมื่อการตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทวัตถุแห่งหนี้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ ส่วนการตกลงให้เข้าใช้หรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้มิได้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ หากเพียงแต่ให้มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเป็นข้อตกลงหรือการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างคนละอย่างกัน เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนองซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว แม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
of 6