คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นัดหยุดงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587-5599/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังนัดหยุดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีเหตุผลอันสมควร และไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่สั่งตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ให้ลูกจ้างของบริษัทผู้ร้องที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานให้ผู้ร้องซึ่งสั่งปิดงานให้เปิดงานและรับลูกจ้างทั้งหมดกลับเข้าทำงานและมอบให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างผู้ร้องกับลูกจ้างของผู้ร้องที่ยื่นข้อเรียกร้อง เป็นคำสั่งที่แก้ไขข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ซึ่งมีการนัดหยุดงานหรือมีการปิดงาน แล้วมอบข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นผู้ชี้ขาด คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการกระทำใดในระหว่างการนัดหยุดงานหรือการปิดงานของนายจ้างหรือลูกจ้างที่กระทำผิดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของอีกฝ่ายหรือต่อบุคคลภายนอก จึงไม่มีผลทำให้อำนาจในการดำเนินคดีของผู้ร้องที่ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 สิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมีอำนาจดำเนินคดีนี้ต่อไปได้
สหภาพแรงงาน ส. ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนสภาพการจ้างต่อบริษัทผู้ร้องมีการเจรจาต่อรองแต่ไม่สามารถตกลงกันได้เกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้วมีสมาชิกสหภาพแรงงาน ส. จำนวน 1,500 คน ร่วมนัดหยุดงาน อันเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ร้องที่จะเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน ส. ที่ร่วมนัดหยุดงานโดยชอบได้ แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เพื่อขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสาม เนื่องจากผู้คัดค้านทั้งสิบสามเป็นกรรมการลูกจ้าง ตามมาตรา 52 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างเฉพาะผู้คัดค้านทั้งสิบสามซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยอ้างว่ามีการกระทำผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิต่อผู้ร้องในระหว่างการนัดหยุดงานโดยชอบ มิใช่ขอเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสามเนื่องจากผู้คัดค้านทั้งสิบสามนัดหยุดงานจึงมิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589-1650/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานไม่ชอบด้วยกม.ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทั้งหกสิบสองนัดหยุดงานในวันที่ 6ตุลาคม 2540 เวลา 8 นาฬิกาเศษ โดยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 วรรคท้าย โจทก์ทั้งหกสิบสองก็ระบุในฟ้องอย่างชัดแจ้งว่าได้นัดหยุดงานในวันที่ 6 ตุลาคม2540 เวลา 8 นาฬิกา โดยแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม2540 เวลา 15 นาฬิกา อันเป็นการแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลาไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้ง ที่โจทก์ทั้งหกสิบสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ทั้งหกสิบสองนัดหยุดงานโดยแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งตามกฎหมายแล้ว เพราะได้ยื่นหนังสือแจ้งนัดหยุดงานต่อนางสาวสายัณห์ พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 เวลา 7 นาฬิกาเศษ ซึ่งแตกต่างจากที่ระบุในฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกสิบสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
การนัดหยุดงานเป็นเรื่องที่ลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานต่างละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติ และย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง กฎหมายจึงต้องบัญญัติไว้ว่า ลูกจ้างจะนัดหยุดงานได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อลูกจ้างนัดหยุดงานโดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 วรรคท้ายการนัดหยุดงานของลูกจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้ออ้างของลูกจ้างที่ว่าเข้าใจว่าเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบด้วยขั้นตอนตามกฎหมายและมิได้มีเจตนาจะฝ่าฝืนกฎหมายถือว่ามีเหตุสมควรตามกฎหมายที่ได้มีการนัดหยุดงานสามวันติดต่อกันจึงรับฟังมิได้
การนัดหยุดงานของลูกจ้างเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัว เมื่อโจทก์ทั้งหกสิบสองนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันจึงถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกสิบสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาท: การระงับสิทธิฟ้องคดีจากการนัดหยุดงาน
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย เมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกัน เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวน จึงย่อมมิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540 จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย รวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุให้การฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจรัฐมนตรีสั่งการกรณีปิดงาน/นัดหยุดงาน และสิทธิลูกจ้างถูกเลิกจ้าง
อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่จะสั่งการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 35 นั้น มีได้เฉพาะกรณีที่นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานอยู่เท่านั้น เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างไปก่อนมีการปิดงานหรือการนัดหยุดงาน รัฐมนตรีย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างแล้วกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายแก่ลูกจ้างได้ กรณีไม่อาจตีความการใช้อำนาจของรัฐมนตรีตามมาตรา 35 ให้รวมไปถึงลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างไปก่อนแล้วได้ แม้การเลิกจ้างนั้นจะไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 ก็ตาม เพราะหากตีความเช่นนั้น บทบัญญัติมาตรา124 ก็จะไม่มีผลบังคับ
เมื่อนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างแล้ว แม้การเลิกจ้างดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการแสดงเจตนาของนายจ้างที่มีคำสั่งเลิกจ้างมีผลให้ลูกจ้างหมดสภาพการเป็นลูกจ้างทันที หากการเลิกจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฝ่ายลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่นายจ้างได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก เพราะกฎหมายได้บัญญัติขั้นตอนให้ดำเนินการต่อไปเป็นทางแก้ไว้แล้ว กล่าวคือ ฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องกล่าวหานายจ้างว่าได้กระทำการอันไม่เป็นธรรมต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืนตามมาตรา 124แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็จะต้องดำเนินการวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันต่อไป หากฝ่ายใดไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวก็อาจนำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ แต่มิใช่ว่าการกระทำใดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานต้องดำเนินการชี้ขาดเสียเองโดยไม่ต้องให้คู่กรณีไปว่ากล่าวกันเองต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐมนตรีสั่งการกรณีแรงงานสัมพันธ์: การเลิกจ้างก่อนการปิดงาน/นัดหยุดงาน ไม่อำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน
อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่จะสั่งการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 35 นั้น มิได้เฉพาะกรณีที่นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้าง นัดหยุดงานอยู่เท่านั้น เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างไปก่อนมีการปิดงานหรือการนัดหยุดงาน รัฐมนตรีย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างแล้วกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายแก่ลูกจ้างได้ กรณีไม่อาจตีความการใช้อำนาจของรัฐมนตรีตามมาตรา 35 ให้รวมไปถึงลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างไปก่อนแล้วได้ แม้การเลิกจ้างนั้นจะไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ก็ตาม เพราะหากตีความเช่นนั้น บทบัญญัติมาตรา 124 ก็จะไม่มีผลบังคับ เมื่อนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างแล้ว แม้การเลิกจ้างดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการแสดงเจตนาของนายจ้างที่มีคำสั่งเลิกจ้างมีผลให้ลูกจ้างหมดสภาพการเป็นลูกจ้างทันที หากการเลิกจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดฝ่ายลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่นายจ้างได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก เพราะกฎหมายบัญญัติขั้นตอนให้ดำเนินการต่อไปเป็นทางแก้ไว้แล้ว กล่าวคือ ฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องกล่าวหานายจ้างว่าได้กระทำการอันไม่เป็นธรรมต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืนตามมาตรา 124 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็จะต้องดำเนินการวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันต่อไป หากฝ่ายใดไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวก็อาจนำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ แต่มิใช่ว่าการกระทำใดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานก็ต้องดำเนินการชี้ขาดเสียเองโดยไม่ต้องให้คู่กรณีไปว่ากล่าวกันเองต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610-9623/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทั้งสิบสี่และคนงานอื่นรวม190คนผละงานประท้วงเมื่อวันที่21กรกฎาคม2538เวลาประมาณ8นาฬิกาซึ่งเป็นวันทำงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือและไม่มีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงไม่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13พฤติการณ์เป็นการร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ชอบแม้ต่อมาตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างจะตกลงกันได้โดยนายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างเป็นความผิดก็ตามแต่ตามบันทึกที่ทำขึ้นมีข้อความชัดเจนว่านายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงเป็นความผิดเฉพาะลูกจ้างที่ลงชื่อขอโทษและรับว่าจะไม่ผละงานอีกเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยยอมยกเว้นไม่ถือว่าการหยุดงานเป็นความผิดต่อเมื่อลูกจ้างลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงจะถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างไม่เป็นความผิดหาใช่เป็นเรื่องบังคับให้ลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อขอโทษแต่ประการใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ลงลายมือชื่อยอมรับผิดและรับว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกจึงไม่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงและการหยุดงานของโจทก์ทั้งสิบสี่เป็นการละเมิดต่อจำเลยจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ10.4เมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่นัดหยุดงานโดยไม่ชอบและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสิบสี่กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ทั้งสิบสี่ไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)(4)โจทก์ทั้งสิบสี่จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์ทั้งสิบสี่อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ในวันที่21กรกฎาคม2538เวลา18นาฬิกาเป็นการเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่กลับบ้านไปแล้วจึงเป็นการประกาศเลิกจ้างนอกเวลาทำงานเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงาน, ปิดงาน, และสิทธิลูกจ้างทดลองงาน: การคำนวณระยะเวลาทำงานและสิทธิการเลิกจ้าง
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน การที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา ๓๑ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา ๑๓๖ และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม แต่การที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลย ทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน ๑๒๐ วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็นลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุงานเพื่อสิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีมีการนัดหยุดงานและปิดงาน
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงานการที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา 136 และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม ดังนี้ การที่ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่จึงต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวม คำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลยทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน 120 วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็น ลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานแล้วละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุกทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้ เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นัดหยุดงานปิดกั้นโรงงาน ก่อความวุ่นวายและความรุนแรง ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยกับพวกอีกประมาณ 200 คน โดยจำเลยเป็นหัวหน้าสั่งการได้ร่วมกันนัดหยุดงานปิดกั้นทางเข้าออกของโรงงาน ทำให้คนงานไม่สามารถเข้าหรือออกจากโรงงานได้ จนกระทั่งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นโดยการปะทะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานกับลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอันเนื่องจากลูกจ้างที่นัดหยุดงานไม่ยอมให้ลูกจ้างที่ทำงานออกจากโรงงาน และมีการขว้างปาวัตถุก้อนอิฐก้อนหินเข้าไปในโรงงานด้วย เหตุเกิดริมถนนสาธารณะอันเป็นที่สัญจรของบุคคลทั่วไป การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
of 5