พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันหยุดราชการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 คู่ความย่อมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ระยะเวลาที่ขยายออกไปจึงเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ คือ วันที่ 6 มีนาคม 2547 โดยเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2547 แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 5 เมษายน 2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันกักขังแทนค่าปรับ: เริ่มนับจากวันออกหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา แม้ผู้ต้องโทษถูกคุมขังก่อนพิพากษา
ศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยและจำเลยถูกคุมขังอยู่ตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลมีคำพิพากษา การเริ่มนับวันกักขังตามหมายกักขังคดีถึงที่สุดดังกล่าวจึงต้องนับย้อนให้ถึงวันที่ศาลชั้นต้นออกหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกและลดโทษ: การนับวันและผลกระทบต่อโทษจำคุกที่แท้จริง
การที่ศาลล่างรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสามกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อลดโทษจำคุกแต่ละกระทงแล้วมีเศษเป็นเดือน การนับโทษจำคุกเป็นเดือนต้องนับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แต่การนับโทษจำคุกเป็นปีต้องนับตามที่ปฏิทินราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ดังนั้น หากกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนเมื่อรวมโทษจำคุกได้ 12 เดือน จำเลยย่อมได้รับโทษจำคุก 360 วัน แต่ถ้ารวมโทษเป็น 1 ปี จะได้รับโทษจำคุก 365 วันหรือ 366 วัน เห็นได้ว่า หากรวมโทษจำคุกจากเดือนเป็นปีย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องลดโทษให้จำเลยทุกกระทงก่อนแล้วรวมโทษจำคุก ในส่วนที่เป็นเดือนคงให้เป็นเดือนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันสุดท้ายของกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 บัญญัติว่า"ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับวันตามคำสั่งศาล และผลของการยื่นคำร้องหลังหมดเวลา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 3 ครั้ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2 ครั้ง รวม 35 วัน ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 8 มกราคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรก โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2538 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเป็นการยื่นคำขอขื้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย: หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเป็นรายเดือน หมายความว่าต้องจ่ายค่าทดแทนทุกเดือน เพื่อคุ้มครองมิให้ลูกจ้างต้องขาดรายได้นานเกินไปไม่ใช่ข้อกำหนดในการนับระยะเวลา ข้อความที่ว่าให้นับแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดเวลาที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้ ไม่อาจแปลความได้ว่า ให้นับระยะเวลาเป็นรายวันติดต่อกัน กรณีถือได้ว่ากฎหมายแรงงานมิได้กำหนดการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: การนับวันและผลกระทบของวันหยุดราชการ
แม้วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้คือวันที่ 29 มิถุนายน 2518 (ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการ) แต่เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 5 วันโดยมิได้ระบุว่านับแต่วันใด จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิม โดยไม่คำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นคำให้การ: ผลของการนับวันและวันหยุดราชการ
แม้วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้คือวันที่ 29 มิถุนายน 2518(ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการ) แต่เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 5 วันโดยมิได้ระบุว่านับแต่วันใดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมโดยไม่คำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาในสัญญาประกวดราคา: เริ่มนับวันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
เงื่อนไขในการประกวดราคาซึ่งกำหนดให้ราคาสินค้าที่เสนอขายยืนราคาอยู่ 45 วันนับแต่วันยื่นซองประกวดราคานั้น ถือไม่ได้ว่ามีนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาไว้เป็นประการอื่น ดังนั้น จึงไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
การประกวดราคาซื้อน้ำมันมิใช่เป็นเรื่องการทำงาน เพราะไม่มีลักษณะหรือสภาพเป็นงานที่ต้องทำต่อๆ ไปอีก เมื่อยื่นซองประกวดราคาเสร็จก็เป็นอันเสร็จกันไป ไม่มีการกระทำอะไรในการประกวดราคานั้นอีก กรณีจึงปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 ตอนท้ายมิได้
การประกวดราคาซื้อน้ำมันมิใช่เป็นเรื่องการทำงาน เพราะไม่มีลักษณะหรือสภาพเป็นงานที่ต้องทำต่อๆ ไปอีก เมื่อยื่นซองประกวดราคาเสร็จก็เป็นอันเสร็จกันไป ไม่มีการกระทำอะไรในการประกวดราคานั้นอีก กรณีจึงปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 ตอนท้ายมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาใบอนุญาตขนข้าว: เริ่มนับวันถัดจากวันอนุญาต และหมดอายุตามกำหนด
ใบอนุญาตให้ขนข้าวระบุว่ามีกำหนดอายุ 30 วันนับแต่วันอนุญาต วันอนุญาตตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม 2502 ต้องเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 9 เดือน นั้นเป็นต้นไป ครบกำหนด 30 วันในวันที่ 7 มิถุนายน 2502