คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายกเทศมนตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นกับการฟ้องร้องคดีอาคาร: การแยกบทบาทนายกเทศมนตรีและเทศบาล
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้...เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล...ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรีจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) หรือไม่ อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคาร: คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี) มิใช่คำสั่งของเทศบาล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่ อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1)นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรี จำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งการของนายกเทศมนตรีเรื่องการถอนการสมัครรับเลือกตั้งสภาเทศบาล ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ถ้าสั่งไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่ใช่การกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากหน้าที่ดูแล-อายุความมรดก: นายกเทศมนตรีละเลยไม่ฟ้องบังคับทายาทตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงที่ ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสด โดยมีข้อตกลงว่า ร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหา โดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ ร.เช่าอาคารพาณิชย์ 2 คูหา มีกำหนด 12 ปีค่าเช่าคูหาละ 200 บาท ต่อเดือน หาก ร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และ ร.
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ร.ด้วย จำเลยที่ 1ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่า ร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจาก ส. จำเลยที่ 1มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2ได้ไปทวงถามทายาทของ ร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคแรก บังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ร.ถึงแก่กรรม แต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความ จึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของนายกเทศมนตรีที่ไม่ฟ้องบังคับทายาทตามสัญญา ทำให้โจทก์ขาดสิทธิเรียกร้อง
บันทึกข้อตกลงที่ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสดโดยมีข้อตกลงว่าร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหาโดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จแล้วเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ร.เช่าอาคารพาณิชย์2 คูหา มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าคู่หาละ 200 บาท ต่อเดือนหากร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และร. จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และร.ด้วย จำเลยที่ 1 ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่าร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฎิบัติ ต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจากส.จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1คงปล่อยปละละเลยเรื่องมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรมและจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2 ได้ไปทวงถามทายาทของร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรกบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ร.ถึงแก่กรรมแต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความจึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเทศบาล: นายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องแทนโดยไม่ต้องขออนุมัติ
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39กำหนดให้เทศบาลตำบลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 การฟ้องคดีเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดส่วนตัวของนายกเทศมนตรีจากการสั่งการให้ก่อสร้างโดยขัดระเบียบ แม้ไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นแรก
จำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำการตามฟ้องแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 โดยกระทำในฐานะนายกเทศมนตรี จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคแรก ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 อ้างว่าจะมีผู้สร้างถนนอุทิศให้เทศบาลแล้วสั่งการให้จำเลยที่ 3 สร้างถนนทางเข้าและถนนรอบตัวอาคารโรงฆ่าสัตว์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และจำเลยที่ 3 ติดต่อสั่งซื้อวัสดุจากโจทก์และให้โจทก์ว่าจ้างรถเกรด รถไถ รถบดถนนมาใช้ในการก่อสร้างถนนโดยขัดกับระเบียบ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวติชมในที่ประชุมสภาเทศบาล ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีเป็นเจ้าพนักงานในเทศบาลผู้หนึ่งได้กล่าวอภิปรายในที่ประชุมสมาชิกสภาเทศบาลนั้น มิใช่เป็นการกระทำในหน้าที่ราชการของนายกเทศมนตรี และถ้อยคำที่จำเลยกล่าวก็เป็นการกล่าวติชมด้วยความเป็นธรรมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เสนอญัตติและเพื่อให้สมาชิกสภาเทศบาลรับทราบเรื่องที่จำเลยได้เสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและหมิ่นประมาทโจทก์ ตามรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายมีว่าคู่ความมีการเจรจาเพื่อตกลงกันโดยศาลช่วยไกล่เกลี่ยและศาลเห็นว่าคู่ความมีทางตกลงกันได้โดยโจทก์ขอเวลาไปไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจ ขอให้ศาลเลื่อนการฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งไปก่อนเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้แล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้จะมิได้นั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์โดยตลอดคงทำการพิจารณาและจดรายงานกระบวนพิจารณาครั้งสุดท้ายเพียงครั้งเดียวผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณานี้ชอบที่จะทำคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องของนายกเทศมนตรีแทนเทศบาล: การยอมความและผลต่อคดีอาญา
นายกเทศมนตรีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนเทศบาลจึงมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในคดีที่มีผู้ยักยอกเงินสถานธนานุบาลของเทศบาลไปได้ การถอนคำร้องทุกข์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดกำหนดให้นายกเทศมนตรีต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดการกิจการสถานธนานุบาลก่อนและไม่ต้องทำเป็นหนังสือราชการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการอนุมัติฎีกาเบิกจ่ายเงินบำเหน็จที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ แม้จะพ้นตำแหน่งไปแล้ว
ตามรายงานความเห็นของสมุห์บัญชีและปลัดเทศบาล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจฎีกา และผู้เสนอความเห็นในฎีกาและเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาเบิกจ่ายค่าบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าง ได้เสนอเห็นควรให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกา ได้มีคำสั่งอนุญาตในรายงานดังกล่าว ซึ่งมีความหมายว่าอนุญาตให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างได้นั่นเอง จึงเป็นการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินบำเหน็จตามฎีกาดังกล่าวได้ แต่เนื่องจากเทศบาลไม่ได้ตั้งงบประมาณประเภทเงินค่าทดแทนและประเภทเงินบำเหน็จไว้ในงบประมาณประจำปี จำเลยที่ 2 จึงทำหนังสือขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดขอยืมเงินสะสมของเทศบาลมาทดรองจ่ายไปพลางก่อน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติมา ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีไปตามวาระแล้ว อ. นายกเทศมนตรีต่อจากจำเลยที่ 2 จึงได้ลงชื่ออนุมัติในหน้าฎีกาให้เบิกเงินตามฎีกามาจ่ายได้ เป็นที่เห็นได้ว่าถ้าหากเทศบาลได้ตั้งงบประมาณประเภทเงินทดแทนและประเภทเงินบำเหน็จไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 อนุญาตในรายงานดังกล่าว ก็ย่อมตั้งฎีกาเบิกเงินมาจ่ายได้ไม่ต้องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอยืมเงินสะสมของเทศบาลมาทดรองจ่ายไปพลางก่อนแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุญาตในรายงานดังกล่าวย่อมเป็นการอนุมัติฎีกาตามความหมายในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 24 นั่นเอง
of 3