พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4617/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: นายประกันอาชีพหลอกลวงศาลด้วยเอกสารเท็จเพื่อผลประโยชน์
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ซึ่งเป็นนายประกันอาชีพเห็นอยู่แล้วว่าหนังสือมอบอำนาจที่จะใช้เป็นหลักฐานในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหายังไม่มีการกรอกข้อความใด ๆ ลงไว้ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ย่อมจะทราบได้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะการที่จะมอบอำนาจให้ใครกระทำการใดแทนนั้น ย่อมต้องมีการระบุข้อความที่มอบอำนาจไว้อย่างแน่นอนและชัดเจน แต่ได้มีการนำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาให้ ส. กรอกรายการในขณะนั้น โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ยืนอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเข้าใจได้ว่าน่าจะรู้ว่าเกิดมีเรื่องไม่ชอบมาพากลขึ้น ควรที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 จะว่ากล่าวตักเตือนไม่ให้กระทำ แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 กลับส่งเสริมให้คำแนะนำแก่ผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ ให้นำเอาเอกสารที่ไม่ชอบเหล่านั้นไปยื่นต่อศาล โดยแนะนำด้วยว่าให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่คนใดจึงจะสะดวกและรวดเร็ว พร้อมกับยอมรับเป็นผู้รับส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลอีก พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ถือได้ว่าเป็นการร่วมกระทำการหลอกลวงศาลให้มีคำสั่งโดยผิดหลงว่าหลักฐานที่นำยื่นเข้ามาเป็นเอกสารที่ถูกต้อง จนมีคำสั่งอนุญาตตามความประสงค์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 กับพวก อันเป็นทางได้มาซึ่งผลประโยชน์ 10 เปอร์เซ็นต์ของหลักประกันที่ศาลตีราคา จึงถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) และมาตรา 33
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล เมื่อปรากฏต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องแจ้งข้อหาหรือส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการแต่อย่างใด เพียงแต่ศาลเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามให้ได้ความว่าเรื่องเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารที่นำเสนอจริงหรือไม่ ก็สามารถสั่งลงโทษได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล เมื่อปรากฏต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องแจ้งข้อหาหรือส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการแต่อย่างใด เพียงแต่ศาลเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามให้ได้ความว่าเรื่องเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารที่นำเสนอจริงหรือไม่ ก็สามารถสั่งลงโทษได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีนายประกัน, ความรับผิดตามสัญญาประกัน, และการลดค่าปรับตามดุลพินิจ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 136 ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวและทำสัญญาประกันขณะผู้ต้องหายังอยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนคือพนักงานสอบสวนโดยตำแหน่ง มิใช่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประกันย่อมเป็นการผิดสัญญาต่อพนักงานสอบสวนโดยตรง พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาประกันที่ทำไว้ได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ตามวันเวลาที่กำหนดไว้ทั้งสองนัด โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอผ่อนผันแต่อย่างใด ทั้งเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 2 ส่งตัวผู้ต้องหาอีก 3 ครั้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงเพิกเฉยเช่นเดิม ส่วนจำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า หลังจากทราบเรื่องแล้วได้พยายามติดตามตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นจากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้ความสนใจหรือใส่ใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาประกันแต่อย่างใด จนคดีของผู้ต้องหาขาดอายุความทำให้โจทก์ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องให้รับโทษตามกฎหมาย ทำให้โจทก์และผู้เสียหายในคดีดังกล่าวได้รับความเสียหาย ชอบที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายประกันจะต้องรับผิดชอบคือถูกปรับตามสัญญาประกัน แต่ความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่ใช่นายประกันอาชีพ จึงมีเหตุสมควรที่จะลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 2 ลงบ้าง
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ตามวันเวลาที่กำหนดไว้ทั้งสองนัด โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอผ่อนผันแต่อย่างใด ทั้งเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 2 ส่งตัวผู้ต้องหาอีก 3 ครั้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงเพิกเฉยเช่นเดิม ส่วนจำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า หลังจากทราบเรื่องแล้วได้พยายามติดตามตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นจากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้ความสนใจหรือใส่ใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาประกันแต่อย่างใด จนคดีของผู้ต้องหาขาดอายุความทำให้โจทก์ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องให้รับโทษตามกฎหมาย ทำให้โจทก์และผู้เสียหายในคดีดังกล่าวได้รับความเสียหาย ชอบที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายประกันจะต้องรับผิดชอบคือถูกปรับตามสัญญาประกัน แต่ความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่ใช่นายประกันอาชีพ จึงมีเหตุสมควรที่จะลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 2 ลงบ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงตัวเป็นนายประกันปลอมเพื่อหลอกลวงศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม
การที่ผู้ถูกกล่าวหาแสดงตัวเป็น อ. นายประกันของจำเลยและลงลายมือชื่อในคำร้องขอประกันตัวต่อซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมเป็นการหลอกลวงศาลว่ามีการประกันตัวต่อโดยชอบ ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมาตรา 33พฤติการณ์ดังกล่าวมีลักษณะร้ายแรงเป็นภัยต่อกระบวนการยุติธรรมอันเป็นช่องทางให้จำเลยหลบหนีได้ หากศาลตรวจไม่พบการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหาเสียก่อน การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการศาลเป็นอย่างมาก แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรับราชการครูและยังมีหน้าที่ต้องอุปการะผู้อื่น ก็ยังไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายประกัน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาประกัน ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินสมควรนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำกัดการเรียกหลักประกันจากนายประกัน และความรับผิดของตัวแทนในการประกันตัว
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 5 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติจำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 112 ในอันที่จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดนายประกันตามกฎหมายเช็ค, เจตนาแท้จริงของตัวแทน, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติ จำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 ในอันที่ จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อ มีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมี การผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกันซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆแก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้น จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นายประกันตามสัญญาประกันภัย การผิดสัญญา และเหตุลดค่าปรับ
ผู้ประกันไม่สามารถนำจำเลยมาส่งศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาหลังจากศาลอ่านคำพิพากษาให้จำเลยอื่นฟังแล้วผู้ประกันจึงนำตัวจำเลยมาส่งศาลแม้จะปรากฏว่าศาลฎีกาพิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์ก็ไม่เป็นเหตุที่ศาลจะสั่งงดปรับผู้ประกันแต่ศาลอาจสั่งลดค่าปรับให้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบตัวจำเลยหลังถูกจำคุกในคดีอื่น ถือเป็นการถอนประกันเดิม ศาลไม่สามารถปรับนายประกันได้
การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่า จำเลยซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันถูกศาลชั้นต้นนั้นพิพากษาให้จำคุกในอีกคดีหนึ่ง และตัวจำเลยถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ถือได้ว่าผู้ประกันได้ส่งมอบตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้นแล้ว และการที่ศาลชั้นต้นนั้นสั่งเบิกคืนหลักประกันให้ผู้ประกันในวันเดียวกันนั้นเอง ก็เป็นการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกันถอนประกันจำเลยแล้ว มิฉะนั้นศาลชั้นต้นคงไม่ยินยอมให้เบิกคืนหลักประกันที่ให้ไว้ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 กับดุลพินิจศาลในการปล่อยชั่วคราวและการปรับนายประกัน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ข้อ 1 ที่กำหนดว่าให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็คนั้นเป็นข้อกำหนดที่ใช้บังคับแก่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการในการสั่งปล่อยชั่วคราวเท่านั้น หาได้ใช้บังคับในการพิจารณาสั่งปล่อยชั่วคราวของศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งปรับนายประกันในคดีอาญา: นายประกันต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์คำสั่งศาลในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่นายประกันทราบคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198