คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมโมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญ + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ แม้ราคาทรัพย์สินไม่ใช่สาระสำคัญโดยตรง
การที่โจทก์ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ในราคา 4,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาทในราคา 52,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ก็ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีราคาท้องตลาดมากกว่า 36,000,000 บาท เป็นการทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดเพราะถูกนายหน้าขายที่ดินพิพาทหลอกลวง ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 กับพวกรู้ถึงการหลอกลวง การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเช่นนี้ แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เช่นเดียวกัน เมื่อนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมรายนี้เป็นโมฆะเพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในราคาทรัพย์สิน + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ
โจทก์ตกลงขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในราคาที่ดินเพราะถูกนายหน้าหลอกลวงซึ่งจำเลยที่ 1 รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการหลอกลวงดังกล่าว การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกัน แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156
เมื่อนิติกรรมซื้อขายที่ดินเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากกลฉ้อฉลในขณะเดียวกัน แต่ผลทางกฎหมายต่างกันกล่าวคือ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมเป็นโมฆะ เพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738-5739/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ แม้จะมีการโอนสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องทั้งสองสำนวนโดยตั้งประเด็นใหม่ว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นโมฆะซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องของโจทก์นั้นแล้ว และจำเลยทั้งห้าก็ได้ขอแก้ไขคำให้การทั้งสองสำนวนแล้วว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไม่เป็นโมฆะ แต่ศาลชั้นต้นยังคงชี้สองสถานโดยตั้งประเด็นในเรื่องนี้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ อันเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องและคำให้การที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าแก้ไขซึ่งเป็นการผิดพลาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 ศาลสูงไม่จำต้องถือตามและมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยให้โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาต่อมา
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 รับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากจำเลยที่ 1 โดยทราบจากเจ้าพนักงานที่ดินแล้วว่าโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยังคงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้ตามคำขอ การกระทำของจำเลยทั้งห้าเช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งห้ามีเจตนาโอนและรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดตามที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไว้แล้ว นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิในเรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตาม มาตรา 237
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหรือทำลายนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 12 กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 และขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันแก้ไขทางทะเบียนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพื่อจดทะเบียนให้แก่โจทก์โดยให้จำเลยทั้งห้าเสียค่าใช้จ่ายร่วมกัน หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อกลับมีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) สำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยอัตโนมัติ ไม่จำต้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามคำขอของโจทก์ดังกล่าว และคำขอดังกล่าวโจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เพราะเพียงแต่ขอให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิมเท่านั้น มิได้เรียกร้องเอาที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738-5739/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อขัดขวางการชำระหนี้ เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กับพวก โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งห้าทราบเรื่องดีแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยังรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้ามีเจตนาโอนและรับโอนที่ดินพิพาทเพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดตามที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ไว้แล้ว นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิในเรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันแก้ไขทางทะเบียนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพื่อจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมีชื่อเป็นเจ้าของใน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาทโดยอัตโนมัติ ไม่จำต้องบังคับจำเลยทั้งห้าให้ร่วมกันแก้ไขทางทะเบียนเปลี่ยนกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวอีก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แปลงหนึ่ง และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อีกแปลงหนึ่งโดยมิได้เรียกร้องเอาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นของโจทก์ เพียงแต่ขอให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลสำนวนละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6532/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ และการครอบครองไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
บทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 31 มีเจตนาจะปกป้องราษฎรผู้ได้สิทธิในที่ดินให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการยังควบคุมที่ดินนั้นอยู่ มิได้ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองหรือทำนิติกรรมสัญญาประการใดอันมีผลหรือมีลักษณะไปในทางที่สละหรือโอนหรืออาจต้องถูกบังคับให้มีการโอนสิทธิครอบครองดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาห้ามโอน แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะกำหนดรับโอนสิทธิครอบครองกันในวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ส่วนสัญญาจำนองเป็นประกันเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยจำนองเป็นประกันในวงเงินเท่ากับราคาที่ซื้อขายกัน ส่วนสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินก็ทำในวันเดียวกับสัญญาจะซื้อจะขาย เห็นได้ว่าสัญญาจำนองเป็นประกันและสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันในเรื่องจำนองและสิทธิเหนือพื้นดิน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155
โจทก์ไม่มีสิทธิสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาห้ามโอนรวมถึงการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงเวลานี้ก็ทำไม่ได้ดังนั้น การยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองไว้แทนโจทก์ ไม่ถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ กรณีไม่ใช่ฟ้องร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันและสัญญาก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และมาตรา 155 โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยกข้อสัญญาที่เป็นโมฆะขึ้นกล่าวอ้างได้การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นโมฆะจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินหลังบริษัทร้าง: นิติกรรมเป็นโมฆะ, จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่าย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(5)ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งหก เป็นการโอนตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทที่มีภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบจำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีความมุ่งหมายให้จำเลยทั้งหกโอนที่ดินพิพาทคืนแก่บริษัท อ. เป็นประการแรก ส่วนที่จะให้จำเลยทั้งหกชดใช้ราคาที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เพราะเหตุพ้นวิสัยเท่านั้น ประกอบกับการกำหนดราคาที่ดินพิพาทในขณะจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินเกิดจากการตกลงระหว่างทายาทเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จึงมิใช่ราคาที่ดินพิพาทที่แท้จริง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาที่ดินพิพาทตามราคาประเมินต่ำสุดในขณะยื่นฟ้องจึงถูกต้องเหมาะสมแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินพิพาทคืนนั้น ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง แสดงว่าจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ดังนั้น จำเลยทั้งหกจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก โมฆะตามกฎหมาย และต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทที่ทำกันไว้สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่งส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้โดยสัญญาขายก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสอง และมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะ โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยโจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9333/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโอนที่ดินในนิคมสร้างตนเองช่วงระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจะโอนหลังพ้นกำหนด
เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 และ 12 ต้องการปกป้องราษฎรที่เป็นสมาชิกของนิคมสร้างตนเองให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะจำหน่ายจ่ายโอน ด้วยประการใด ๆ ก่อนครบกำหนดไม่ได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดก ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของนิคมผู้ได้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตกลงโอนที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งให้แก่ น. ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกนิคม โดยให้ น. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทในทันที แม้จำเลยและ น. มีเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายหลังจากที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทและพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกตกเป็นสมบัติของวัด: นิติกรรมโอนขายที่ดินธรณีสงฆ์เป็นโมฆะ
พระภิกษุ ส. ได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ถึงแก่มรณภาพตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่วัดจำเลยร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส. จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดกให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย
แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วม แม้จะ โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 ก็เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมย่อมเสียเปล่ามาแต่แรก โดยศาลไม่จำเป็นต้องเพิกถอน และโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีอำนาจทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ให้แก่โจทก์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมยกที่ดินเป็นทางสาธารณะจากความผิดพลาด เจ้าของมีสิทธิเรียกคืนได้ ศาลสั่งให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
++ เรื่อง ที่ดิน เพิกถอนนิติกรรม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว คงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่า ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อปี 2523 โจทก์ซื้อบ้านเลขที่ 52/6 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 10265 ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบ้านและที่ดินจัดสรรในโครงการหมู่บ้านสยามวิลล่าของบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด ต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2524 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 18 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่1265 และอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 ในราคาตารางวาละ3,500 บาท เป็นเงิน 63,000 บาท จากจำเลยที่ 1 โจทก์วางเงินมัดจำเป็นเงิน 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำหนังสือวางมัดจำ โจทก์จึงขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากสำนักงานเขตบางเขน แล้วปลูกสร้างอาคารบนที่ดินพิพาทจากนั้นขอเลขหมายประจำบ้านจากสำนักงานเขตบางเขนและได้เลขหมายประจำบ้าน 52/60
++ ครั้นวันที่ 15 เมษายน2528 โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งโดยโจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทที่ค้างอีก 53,000 บาท ให้จำเลยที่ 1และมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งขณะนั้นจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์
++ แต่เมื่อวันที่ 5 กันยายน2533 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265ให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยมิได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดิน 1265 ให้โจทก์ตามข้อตกลง
++
++ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 นั้น
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำพิพากษาดังเช่นที่จำเลยที่ 2 ฎีกา หากแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 โดยมิได้บังคับจำเลยทั้งสองให้ไปจดทะเบียนเพิกถอนแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
++
++ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการแรกว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำหนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที การโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 เพื่อโอนให้โจทก์จึงเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมาย
++
++ ในข้อนี้ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องการโอนขายที่ดินโครงการที่ 2 ให้แก่บริษัทเซ็นจูรี่พาร์คคอนโดมิเนียม จำกัด เพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้รับจำนองและในการโอนขายที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะต้องยินยอมให้ถนนในที่ดินโฉนดเลขที่1264 และ 1265 ซึ่งอยู่ในโครงการที่ 1 เป็นทางสาธารณประโยชน์ก่อน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ1265 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้น จำเลยที่ 1 มีเจตนายกให้เฉพาะที่ดินส่วนที่เป็นถนนอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ตกลงขายให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว
++ ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อนหากแต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 สัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์และจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์มาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 และเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2แล้ว คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการที่สองมีว่า มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และมีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า กรณีพิพาทเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในการกระทำหรือในความสำคัญผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ควรต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติให้ความรับผิดชั้นสุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ทั้งนี้ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย
++ ตามคำขอยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าเพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดเลขที่ 1265 จำเลยที่ 1 สัญญาจะขายให้โจทก์ และโจทก์ปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นการข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย ทั้งก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การและต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
++ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ10,000 บาท และที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายมีว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมายถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีในศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาท และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจึงชอบแล้ว
of 5