คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: การโอนที่ดินโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่เข้าข่ายการเพิกถอน
พฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่า การโอนขายที่ดินพิพาทเกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสามน่าเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 1รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้จำเลยที่ 2 จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายประมาณ 2 เดือนก็ตามผู้ร้องหาอาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้โดยชอบ แม้การโอนจะได้กระทำขึ้นภายหลังมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินมรดก: อายุความและลำดับชั้นศาล
ตามฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินของ บ.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ.สามารถฟ้องเพื่อติดตามทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้กลับมาเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 และกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืนไว้ จึงนำอายุความมรดก 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ชั้นอุทธรณ์คดียังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ว.รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการโอนหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีในประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อดังกล่าว และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไว้ ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ไว้แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ในชั้นฎีกาแม้ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นกระแสความแล้วก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาหลักของคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่คดีภาษีโดยตรง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง ได้จัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่งซึ่งเปิดทำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 มีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งต่อมาเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2529 ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดตราจองกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. เจ้ามรดกที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่เป็นคดีภาษีอากรโดยตรง
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดสงขลา ได้มีการจัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่ง ซึ่งมีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง แต่คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. ที่ค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวศาลจังหวัดสงขลารับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริตและขาดความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: คดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 ลูกหนี้โจทก์ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3ที่ 4 อันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตามฟ้องของโจทก์มิได้เรียกร้องเอาที่ดินมาเป็นของโจทก์เพียงแต่ขอให้ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2ลูกหนี้ตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ศาลไม่อาจพิพากษาตามคำขอคืนที่ดินได้
การที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจัดการโอนที่ดินพิพาทซึ่งอ้างว่าเป็นของโจทก์ คืนให้แก่โจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาจากบุคคลภายนอก คำขอท้ายฟ้องย่อมมีผลให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทดังกล่าวระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก อันเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจมีข้อโต้แย้งเป็นอย่างอื่น ศาลจึงพิพากษาคดีให้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่ขัดแย้งกับพินัยกรรมและการได้มาซึ่งที่ดินของมัสยิดต้องได้รับอนุญาต
ผ. ยกที่พิพาทให้มัสยิดโจทก์ โจทก์ครอบครองเก็บค่าเช่าตลอดมาผ. ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้จดทะเบียนยกให้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเรื่องครอบครองปรปักษ์กรรมการโจทก์จึงประชุมให้จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ผ. เสียก่อน แล้วให้จำเลยทั้งสองโอนให้โจทก์ จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ดังนี้จำเลยที่ 1 มีชื่อในโฉนดก็เพื่อความสะดวกในการที่จะโอนให้โจทก์ต่อไป ไม่มีสิทธิใดๆ ในที่พิพาทโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการรับโอนของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้วกรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินจากการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน และการสละสิทธิจากการตกลง
บิดาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีความว่า บิดาจำเลยได้ขายฝากที่ดินพิพาทอันมี ส.ค.1 ให้โจทก์ทำผลประโยชน์ในที่ดินแทนดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วถ้าไม่นำเงินมาชำระ จะยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์เป็นจำนวนเงินหกหมื่นบาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์ในวันถัดจากวันครบกำหนด บิดาจำเลยได้รับราคาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ไม่ใช่สัญญาขายฝากที่พิพาท แต่เป็นเรื่องกู้เงินโดยมอบที่พิพาทให้ทำนาต่างดอกเบี้ย ครั้นบิดาจำเลยตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2รับสภาพหนี้โดยให้โจทก์ทำนาต่อมา เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์ขอชำระหนี้ด้วยที่พิพาทโดยขอเงินเพิ่มจากโจทก์อีก โจทก์ตกลงและจ่ายเงินให้บางส่วนแล้ว ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้ในวันโอน เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การที่โจทก์ได้รับมอบให้ครอบครองที่พิพาทต่อมานับแต่ตกลงกันนั้น หนี้ของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ที่พิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ การที่จำเลยจะไปโอนให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงพิธีการ โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยโอนให้ และรับเงินที่ยังค้างอยู่ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เจ้าหนี้อีกรายหนึ่งไป โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน, ค่าเสียหายจากการบุกรุก, และการใช้สิทธิในที่ดินแม้แบ่งให้ผู้อื่น
การที่โจทก์แบ่งนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและบุตรอื่นทำกิน มิได้ทำให้โจทก์หมดสิทธิหรือขาดประโยชน์ในที่พิพาท เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำนาพิพาท โจทก์ห้ามแต่จำเลยที่ 2 ไม่ฟัง เป็นการทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้ทำนาแล้ว แม้โจทก์อายุมาก ทำนาเองไม่ได้ ก็ไม่เป็นเหตุให้อ้างได้ว่าโจทก์ไม่เสียหาย
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้อง ขอให้สั่งเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่นาระหว่างนายคอมกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงได้ความว่านายคอยเป็นผู้ทำนิติกรรมการโอนกับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลชื่อนายคอยในสำนวน แสดงว่าเป็นคำขอที่พิมพ์คลาดเคลื่อน ศาลสั่งเพิกถอนนิติกรรมโอนระหว่างนายคอยและจำเลยที่ 1 เสียได้
of 2