คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติภาวะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการหลุดจำนอง: สัญญาโอนใช้ได้หากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ หรือผู้ใช้อำนาจปกครองทำแทนโดยถูกต้อง
ในช่วงที่ ผ. ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยผู้ใช้อำนาจปกครอง และผลผูกพันต่อบุตรผู้เยาว์หลังบรรลุนิติภาวะ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3ผู้เยาว์ได้จำเลยที่ 3 เบิกความในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2และที่ 3 จะสร้างปั๊มน้ำมันจึงจำต้องจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3เพื่อหาเงินมาลงทุน เมื่อจำเลยที่ 2 นำที่ดินดังกล่าวไปประกันเงินที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 กู้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนั้นบรรลุนิติภาวะแล้วก็ยังเข้าทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเบิกเงินเกินบัญชี และทำบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นครั้งที่ 2ต่อโจทก์ เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อีก แสดงว่าจำเลยที่ 3รู้ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 และ อ.บิดามารดาของจำเลยที่ 3 ร่วมกันประกอบธุรกิจโดยตรง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 แม้ อ. มารดาจำเลยที่ 3 จะร่วมลงชื่อกับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทนจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เป็นผู้จำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตามแต่ อ. ก็เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ด้วยคนหนึ่ง ทั้งสัญญาที่อ. ร่วมลงนามก็ไม่มีการกระทำนอกเหนือไปจากคำสั่งอนุญาตของศาลการกระทำของ อ. ไม่ทำให้นิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 3 ต้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินของผู้เยาว์โดยได้รับอนุญาตจากศาล และผลผูกพันต่อผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์ค้าผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยมีจำเลยที่ 2 และนาง อ. บิดามารดาของจำเลยที่ 3เป็นหุ้นส่วนเพียงสองคน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในขณะนั้นทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3บุตรผู้เยาว์ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่กู้จากโจทก์เพื่อนำเงินไปลงทุนสร้างปั๊มน้ำมัน ถือได้ว่าเป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 โดยชอบย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 แม้ในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินดังกล่าวนาง อ. มารดาจำเลยที่ 3 จะได้ลงนามร่วมกับจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เป็นผู้จำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3 ได้ก็ตาม แต่นาง อ. ก็ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ด้วยคนหนึ่ง ทั้งสัญญาที่ นาง อ. ร่วมลงนามก็ไม่มีการกระทำนอกเหนือไปจากคำสั่งอนุญาตของศาล การกระทำของนาง อ. ดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 3 ต้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ – การจัดการทรัพย์สิน – สิทธิของผู้บรรลุนิติภาวะ – การพิสูจน์ความสามารถ
แม้ผู้คัดค้านชอบดื่มและเมาสุราก็ตาม แต่ก็คงเพียงบางเวลาเท่านั้น และไม่ถึงขนาดครองสติไม่ได้ ในเวลาที่ไม่เมาสุราก็ยังสามารถประกอบกิจการงานได้ด้วยตนเองเช่นคนปกติทั่วไป ผู้คัดค้านยืนยันว่าสามารถปกครองทรัพย์สินของตนเอง ทั้งยังได้ความว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องในข้อหายักยอกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของผู้คัดค้าน ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 34 เดิม (ปัจจุบันมาตรา 32) ผู้คัดค้านเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะจัดการทรัพย์สินของตนเองได้ตามลำพัง ไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745-4747/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องที่ไม่ระบุอายุโจทก์: ศาลพิจารณาจากข้อมูลอื่นที่แสดงถึงการบรรลุนิติภาวะ
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุอายุของตนลงในคำฟ้องแต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ว่าตนเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ซ. และเมื่ออ้างตนเองเป็นพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็เบิกความว่าตนมีอายุ 40 ปี ย่อมทราบได้ว่าโจทก์อายุ 40 ปี เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าคำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745-4747/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่ได้ระบุอายุโจทก์ แต่มีข้อมูลอื่นที่แสดงถึงการบรรลุนิติภาวะแล้ว
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุอายุของตนลงในคำฟ้องแต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ว่าตนเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทซ. และเมื่ออ้างตนเองเป็นพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็เบิกความว่าตนมีอายุ 40 ปี ย่อมทราบได้ว่าโจทก์อายุ 40 ปี เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าคำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรลุนิติภาวะของจำเลยระหว่างการพิจารณาคดี และผลต่อการเป็นคู่ความ
จำเลยที่ 2 อายุ 18 ปี ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 2 อายุครบ 20 ปี บรรลุนิติภาวะจำเลยที่ 2 จึงมีความสามารถบริบูรณ์ มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีไปได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของกระบวนการฟ้องคดีโดยผู้เยาว์ร่วมกับบิดา และผลเมื่อบุตรบรรลุนิติภาวะ
บิดากับบุตรผู้เยาว์ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายในคดีเดียวกัน ต่อมาบิดาทำหนังสือให้ความยินยอมและให้สัตยาบันการที่บุตรผู้เยาว์เป็นโจทก์ด้วยนั้น และขณะศาลฎีกาพิพากษาบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว ดังนี้ กระบวนพิจารณาทั้งหมดสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอด: สัญญาผูกพันแม้ฝ่ายหญิงบรรลุนิติภาวะแล้ว
สินสอดเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคสาม โดยไม่จำกัดว่าหญิงซึ่งยอมสมรสนั้นบรรลุนิติภาวะแล้วหรือยัง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองตกลงจะให้สินสอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของนางสาว ต. เพื่อตอบแทนในการที่นางสาว ต.ยอมสมรสกับบุตรของจำเลยทั้งสอง และต่อมานางสาว ต. กับบุตรโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แม้นางสาว ต. จะบรรลุนิติภาวะก่อนสมรส จำเลยทั้งสองก็จะต้องรับผิดชำระเงินสินสอดให้โจทก์ตามที่สัญญาไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอด: สัญญาผูกพันแม้ฝ่ายหญิงบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกได้
สินสอดเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคสาม โดยไม่จำกัดว่าหญิงซึ่งยอมสมรสนั้นบรรลุนิติภาวะแล้วหรือยังดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองตกลงจะให้สินสอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของนางสาว ต.เพื่อตอบแทนในการที่นางสาวต.ยอมสมรสกับบุตรของจำเลยทั้งสอง และต่อมานางสาว ต.กับบุตรโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แม้นางสาว ต.จะบรรลุนิติภาวะก่อนสมรส จำเลยทั้งสองก็จะต้องรับผิดชำระเงินสินสอดให้โจทก์ตามที่สัญญาไว้
of 3